Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5043
Title: "Khon Ming Lung Phai," the soul-calling manuscripts of the Tai Ahom
คำเรียกขวัญไทอาหม "ขอนมิงลุงไผ"
Authors: Kanokwan JAYADAT
กนกวรรณ ชัยทัต
U-Tain Wongsathit
อุเทน วงศ์สถิตย์
Silpakorn University
U-Tain Wongsathit
อุเทน วงศ์สถิตย์
tainzgree@gmail.com
tainzgree@gmail.com
Keywords: ไทอาหม
คำเรียกขวัญ
คำเรียกขวัญไทอาหม
ขอนมิงลุงไผ
ขวัญ
มิ่ง
ขวัญเมือง
มิ่งเมือง
Tai Ahom
Soul-calling manuscript
Tai Ahom soul-calling manuscript
Khon Ming Lung Phai
Khwan
Ming
Khwan Muang
Ming Muang
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This dissertation aims to analyze the physical attributes, special orthography, unique lexical terms, and content of the sacred manuscript Khon Ming Lung Phai, examine the notion of "Khwan Muang," and comprehend ancient Tai society and culture as manifested in the three editions of Khon Ming Lung Phai, which include a principal version and two comparative editions. "Khon Ming Lung Phai" holds a special place in Tai Ahom rituals as it calls upon the spirits of Khwan and Ming Luang, representing the essence of the nation and the royal King's spirits. It reflects the unwavering belief in "Khwan" within Tai culture and upholds ancient Tai beliefs without influence from Buddhism, using exclusively Tai terminology. The primary version of Khon Ming Lung Phai features a distinctive orthography that suggests an older writing style compared to later editions. This special orthography includes information from the manuscript owner's family tree, helping to determine the period of composition. It can also be used to date the age of other Tai Ahom manuscripts in future research. The soul-calling text, "Khon Ming Lung Phai", follows the ancient-style structure of the "Tai Mo" rhyme form and consists of four parts. The first part invokes the celestial light, praising the prosperity of the community, the stability of the city, and the dominance of the ruler over other cities. The second part explores the nurturing of a rooster, along with the rooster's way of life and fortune-telling. The third part calls for the return of the King's wandering soul. The final part invokes the soul of the country and seeks its protection and well-being through the "Khwan Muang" and the spirits. Overall, "Khon Ming Lung Phai" conveys the concepts of "Khwan Muang" and "Ming Muang," shedding light on the belief system that influences the collective consciousness and physical and mental well-being of the Tai Ahom people. Lastly, it emphasizes the significance of the "rooster" as a sacred animal symbolizing divination and future prediction, thereby enriching understanding of ancient Tai culture.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ ศึกษาอักขรวิธีพิเศษ คำศัพท์ รวมถึงสารัตถะของคำเรียกขวัญ ขอนมิงลุงไผ  เพื่อวิเคราะห์แนวคิด เรื่อง “ขวัญเมือง” ที่ปรากฏอยู่ในคำเรียกขวัญขอนมิงลุงไผ และเพื่อทำความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรมไทโบราณ ศึกษาจากคำเรียกขวัญ ขอนมิงลุงไผ ทั้ง 3 ฉบับ โดยมีฉบับหลัก 1 ฉบับ และฉบับเทียบ 2 ฉบับ ผลการศึกษาพบว่า คำเรียกขวัญไทอาหม “ขอนมิงลุงไผ” หมายถึง การกวักเรียกขวัญมิ่งหลวง เรียกขวัญเมืองขวัญเจ้าฟ้า และมิ่งเมือง  เป็นเอกสารโบราณที่มีความสำคัญมาก เนื้อหาแสดงถึงความเชื่อเรื่อง “ขวัญ” ซึ่งเป็นมรดกความเชื่อเก่าแก่ที่สุดที่มีร่วมกันในสังคมของคนไทโบราณ ลักษณะสำคัญของคำเรียกขวัญไทอาหม คือ บันทึกข้อมูลเป็นคำภาษาไททั้งหมด ไม่พบคำยืมที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต แสดงให้เห็นถึงการบันทึกความเชื่อโบราณของไทที่ไม่ได้รับอิทธิพลพุทธศาสนา  อักขรวิธีพิเศษของคำเรียกขวัญขอนมิงลุงไผ ฉบับหลัก แสดงให้เห็นว่า มีรูปแบบการเขียนที่เก่ากว่า ฉบับเทียบ 1 และ 2  อักขรวิธีพิเศษในฉบับหลัก ก็พบมากและหลากหลายกว่า รูปแบบการสะกดคำ และการใช้รูปคำ อักษรมีความสม่ำเสมอมากกว่าฉบับเทียบ การค้นพบที่สำคัญ คือ เป็นครั้งแรกที่เราสามารถกำหนดอายุเอกสารได้ เพราะข้อมูลผังสายตระกูลแสดงการมีตัวตนอยู่จริงของชื่อเจ้าของผู้จารคัมภีร์ และรูปแบบอักขรวิธีพิเศษที่พบสามารถช่วยในการระบุอายุเอกสารได้ คำเรียกขวัญ “ขอนมิงลุงไผ” มีลักษณะการประพันธ์แบบร่ายโบราณ  คำนึงถึงคำสัมผัส และคล้องจอง ในรูปแบบท่วงทำนองเรียกว่า “ไต๊หมอ” มีเนื้อหา  4 ส่วนหลัก คือ ส่วนขึ้นต้น : ไตหมอกู่เชิญแสงฟ้า เป็นคำร้องกล่าวขวัญ ถึงความรุ่งเรืองของหมู่ชน ภาพรวมความมั่นคงของเมือง การเรืองอำนาจของเจ้าฟ้าเหนือเมืองอื่นๆ ส่วนที่สอง : ไก่ศักดิ์สิทธิ์คู่ที่ใช้ประกอบพิธีเรียกขวัญ กล่าวถึง การเลือกไก่ การเลี้ยงไก่ และวิถีชีวิตของไก่ และการทำนายอนาคตเสี่ยงทายด้วยไก่ ส่วนที่สาม : เรียกขวัญของเจ้าเสือขุนเมือง เป็นคำร้องเรียกขวัญของกษัตริย์ที่หนีไปอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ให้กลับมา และส่วนที่สี่ : เรียกขวัญเมือง และคำเชิญมิ่งเมืองมาปกปักรักษา ให้ “ขวัญเมือง” พา “มิ่งเมือง” เข้ามา พร้อมด้วยพา มิ่งขุนมิ่งนาง มิ่งวัวควาย เพื่อปกปักรักษาความมั่นคงให้แก่เมือง  แนวคิดเรื่อง ขวัญเมือง และมิ่งเมืองที่ปรากฏใน คำเรียกขวัญ ขอนมิงลุงไผ ให้ภาพความเข้าใจระบบความเชื่อเรื่อง ขวัญเมือง และมิ่งเมือง ซึ่งส่งอิทธิพลต่อจิตสำนึกร่วมและความมั่นคงทางกายภาพและทางจิตใจของชาวไทอาหมมากขึ้น และสุดท้ายความสำคัญของ “ไก่” สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ และมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการทำนาย และการเสี่ยงทายบอกอนาคต ทั้งหมดนี้ ช่วยให้ภาพความรู้ความเข้าใจสังคมวัฒนธรรมไทโบราณอย่างมีนัยสำคัญ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5043
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60114802.pdf12.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.