Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5170
Title: The Development of Gastronomy Tourism Routes and Local Food Set Menus in The Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns
การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารและสำรับอาหารพื้นถิ่นในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
Authors: Rapeepong INTASUEB
รพีพงศ์ อินต๊ะสืบ
Wannawee Boonkoum
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
Silpakorn University
Wannawee Boonkoum
วรรณวีร์ บุญคุ้ม
BOONKOUM_W@SU.AC.TH
BOONKOUM_W@SU.AC.TH
Keywords: การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
สำรับอาหารพื้นถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์
สุโขทัยและเมืองบริวาร
Development of gastronomy tourism routes
Local food set menus
Historical attractions
Historic town of Sukhothai and associated historic towns
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This participatory action research aimed to 1) study the potential of gastronomy tourism in the communities of historic town of Sukhothai and associated historic towns; 2) create gastromy tourism activities with the local food identity of the community in historic town of Sukhothai and associated historic towns; 3) develop gastronomy tourism routes with the local food identity of communities in the area of Sukhothai and associated historic towns; and 4) develop local food recipes to serve as food menus set for gastronomy tourism in the area of Sukhothai and associated historic towns. The study areas were Muang Khoa community, Muang District, Nong-O community, Si Satchanalai District, Sukhothai Province and Nakornchum community, Muang District, Kamphaneg Phet Province. Key informants of the study were food scholars, representatives of Department of Provincial Culture, representatives of the Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization), representatives of tourism operators and representatives of each community, totally 114 people. The data were collected by in-depth interview, SWOT analysis and focus group discussion and then analyzed by mean, standard deviation, and content analysis. The results of the study were as follows: 1. Communities in the areas of historic town of Sukhothai and associated historic towns had the potential to develop gastronomic tourism: the location of the community was close to important tourist attractions and was well known to tourists; the communities were ready to accommodate tourists, they also received promotion from organizations in related areas. This can be developed as a guideline for developing the area into a food tourism destination. 2. Gastronomy tourism activities in communities of Sukhothai Historic Towns and Associated Historic Towns were: (1) Demonstration for local food cooking (2) Cooking Class (3) Food Tour (4) Food Festival and (5) Home stay. 3. Four gastronomy tourism routes in communities of Sukhothai Historic Towns and Associated Historic Towns can be developed as follows: (1) Sukhothai Historical park – Muang Khao Community; (2) Nong-O Subdistrict Administrative Organization – Thai Krung minority learning center; (3) Nakhornchum Temple - Sufficiency Economy Learning Centers; and (4) Muangkhao Sukhothai-Nong-O Si Satchanalai-Muang Nakorn Phrachum. 4. The developed local food recipes to serve as food menus set for gastronomy tourism in the area of Sukhothai and associated historic towns was “Samrab model” which composed of  6 elements: (1) S = Sukhothai and Associated; (2) A = Authentic; (3) M = Menus; (4) R = Remembering;  (5) A = Attendance; and (6) B = Benefits. Moreover, the communities of Sukhothai Historic Towns and Associated Historic towns proposed three food menus set such as Samrab - Muangkhoa Lou Mueng Phra Ruang of Mueangkhao communitiy, Samrab Nong-O Khorma Eik khrang of Nong-O community, and Samrab Aharn Phun Thin Muang Nakorn Phra Chum of Nakornchum community, results of the overall food menus set suitability assessment by the experts had the highest level.
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร 2) พัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร 3) พัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร และ 4) พัฒนาตำรับอาหารพื้นถิ่นสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร พื้นที่ในการศึกษาคือ ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้แก่ ชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ชุมชนหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษา ได้แก่ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ประกอบด้วย ตัวแทนองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน (องค์การมหาชน) ตัวแทนผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว นักวิชาการด้านอาหาร ตัวแทนวัฒนธรรมจังหวัด ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชนด้านอาหารและวัฒนธรรม รวมจำนวนทั้งสิ้น 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้วย SWOT Analysis และสนทนากลุ่มร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพการท่องเที่ยวของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร มีศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่น ประกอบด้วยจุดแข็งด้านพื้นที่ โดยที่ตั้งของชุมชนอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงได้รับการส่งเสริมจากองค์กรในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารได้ 2) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารด้วยอัตลักษณ์อาหารพื้นถิ่นของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมสาธิตการประกอบอาหารถิ่น (2) กิจกรรมสอนทำอาหาร (3) กิจกรรมท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญและการทดลองชิมอาหารประจำถิ่น (4) กิจกรรมท่องเที่ยวในเทศกาลอาหาร และ (5) การท่องเที่ยวแบบพักอาศัยกับคนในพื้นที่ 3) เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร สามารถพัฒนาเป็นเส้นทางเชื่อมโยงเมืองเท่องเที่ยวด้านอาหารถิ่นชุมชนเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้  4 เส้นทาง ประกอบด้วย (1) เส้นทางโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ชุมชนเมืองเก่า (2) เส้นทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ - ศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตไทยครั่ง (3) เส้นทางวัดพระบรมธาตุนครชุม - ศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกเศรษฐกิจพอเพียง และ (4) เส้นทางเมืองเก่าสุโขทัย-หนองอ้อ ศรีสัชนาลัย-เมืองนครพระชุม และ 4) การพัฒนาตำรับอาหารพื้นถิ่นสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวารที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น คือ Samrab Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ (1) S หมายถึง Sukhothai and Associated Towns (สุโขทัยและเมืองบริวาร) (2) A หมายถึง Authentic (ต้นตำรับ) (3) M หมายถึง Menus (รายการอาหาร) (4) R หมายถึง Remembering (ความทรงจำ) (5) A หมายถึง Attendance (การเข้าร่วม)  และ (6) B หมายถึง Benefits (ประโยชน์) โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ผลจากการนำ Samrab Model ไปใช้ สามารถพัฒนาตำรับอาหารพื้นถิ่นสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้ จำนวน 3 สำรับ ได้แก่ สำรับเมืองเก่าเล่าเมืองพระร่วง ของชุมชนเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย สำรับหนองอ้อขอมาอีกครั้ง ของชุมชนหนองอ้อ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และสำรับอาหารถิ่นบ้านนครพระชุม ของชุมชนนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีผลการประเมินระดับความเหมาะสมของสำรับอาหารพื้นถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5170
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630630056.pdf14.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.