Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5203
Title: DEVELOPMENT OF A LEARNING MANAGEMENT MODEL BY USING DESIGN THINKING WITH COMMUNITY-BASED LEARNING TO ENHANCE LOCAL VISUAL ART DESIGNING FOLLOWING CREATIVE ECONOMY CONCEPT OF HIGH SCHOOL STUDENTS
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการออกแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Authors: Saran SUWAN
สรัล สุวรรณ
Chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
Silpakorn University
Chanasith Sithsungnoen
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน
sithchon@hotmail.com
sithchon@hotmail.com
Keywords: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้
การคิดเชิงออกแบบ
การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
การออกแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่น
เศรษฐกิจสร้างสรรค์
Learning Model Development
Design Thinking
Community-based Learning
Local Visual Art Designing
Creative Economy
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to: 1) develop and evaluate the quality a learning management model using design thinking with community-based learning to enhance local visual art design following creative economy concept of high school students. 2) evaluate the effectiveness of a learning management model as follows: 2.1) study local visual art projects that followed the creative economy concept, 2.2) study visual art designing process skill, and 2.3) study the opinions towards learning management model. 3) evaluate and endorse a learning management model. The purposive sampling was conducted for this research consisting of 16 high school students from Koh Kret Creative Art club at Satit Panyapiwat Institute of Management School in academic year 2023.The research instruments composed of a learning management model, a manual, lesson plans, local visual art projects that followed the creative economy concept assessment form, visual art designing process skill assessment form, and questionnaires for student opinions towards learning management and the value of art towards the community. Data were analyzed using mean (M), standard deviation (SD), and content analysis. The results were as follows: 1. The learning management model consisted of 5 components: 1) principles 2) objectives 3) 4P4C Model learning process consisting of 4 stages as follows: 1) Perceive (P) including 1.1 Community Planning Survey (CPS), 1.2 Community Learning (CL), and 1.3 Community Reflection (CR). 2) Producing Ideas (P) including 2.1 Prioritization 2.2 Evaluation of Ideas, 3) Prototype (P) including 3.1 Prototype Design 3.2 Prototype Improvement, and 4) Proof (P) including 4.1 Community Reflection (CR) 4.2 Community Evaluation (CE). 4) measurement and evaluation, and 5) success conditions. The learning management model was evaluated by experts and found that the appropriateness was at highest level (M = 4.69, SD = 0.45). 2. the effectiveness of the learning management model were as follows: 2.1) students have local visual art projects that followed the creative economy concept reflected the very good level. (M = 2.55, SD = 0.39), 2.2) students have visual art designing process skill reflected the very good level. (M = 2.61, SD = 0.48) , and 2.3) students have opinions towards learning management model at highest level (M = 4.66, SD = 0.56). 3. the endorsement of a learning management model using design thinking with community-based learning assessed by experts and found that the appropriateness was at highest level (M = 4.51, SD = 0.48).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการออกแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ 2.1) ศึกษาผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียน 2.2) ศึกษาทักษะกระบวนการออกแบบงานทัศนศิลป์ของนักเรียน 2.3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 3) ประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชุมนุมศิลป์สร้างสรรค์เกาะเกร็ด ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน โดยใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้รูปแบบจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบบประเมินทักษะกระบวนการออกแบบงานทัศนศิลป์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้และการเห็นคุณค่าของศิลปะกับชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้ 4P4C Model ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความเข้าใจ (Perceive: P) ประกอบด้วย 1.1 ขั้นวางแผนสำรวจชุมชน (Community Planning Survey: CPS) 1.2 ขั้นเรียนรู้ชุมชน (Community Learning: CL) 1.3 ขั้นสะท้อนคิดเรียนรู้ชุมชน (Community Reflection: CR) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างความคิด (Producing Ideas: P) ประกอบด้วย 2.1 เรียงลําดับจัดความสัมพันธ์ (Prioritization) 2.2 ประเมินความคิด (Evaluation of Ideas) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype: P) ประกอบด้วย 3.1 ออกแบบต้นแบบ (Prototype Design) 3.2 ปรับแต่งต้นแบบ (Prototype Improvement) ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบ (Proof: P) ประกอบด้วย 4.1 ขั้นสะท้อนคิดเรียนรู้ชุมชน (Community Reflection: CR) 4.2 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ชุมชน (Community Evaluation: CE) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  (M= 4.69 , SD = 0.45) 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า 2.1) ผลงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียน อยู่ในระดับดีมาก (M = 2.55 , SD = 0.39) 2.2) ทักษะกระบวนการออกแบบงานทัศนศิลป์ของนักเรียน อยู่ในระดัดีมาก (M  = 2.61 , SD = 0.48) 2.3) ความคิดเห็นของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.66 , SD = 0.56) 3. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงออกแบบร่วมกับชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมการออกแบบงานทัศนศิลป์ท้องถิ่นตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งรับรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (M= 4.51 , SD = 0.48)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5203
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640630056.pdf13.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.