Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5217
Title: DEVELOPMENT OF A SUSTAINABLE BUSINESS MANAGEMENT STRATEGY MODEL FOR THE COMMUNITY ENTERPRISE GROUP OF HANG RICE PRODUCT IN THE NORTHEASTERN REGION
การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Authors: Peeraya SUPSARN
พีรยา ทรัพยสาร
Pitak Siriwong
พิทักษ์ ศิริวงศ์
Silpakorn University
Pitak Siriwong
พิทักษ์ ศิริวงศ์
innjun@yahoo.com
innjun@yahoo.com
Keywords: กลยุทธ์การจัดการธุรกิจ
การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืน
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง
นวัตกรรม
ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์
Business management strategy
Sustainable business management
Hang rice community product enterprise
Innovation
Antecedents and Consequences
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims to study the development of a strategic model for sustainable business management of the Hang rice product community enterprise in the Northeastern region. It employs Research and Development (R&D) methodology, gathering data through Qualitative Research and Quantitative Research methods, along with the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique by 1) The study investigates the business operations of the Hang rice product community enterprise to develop a strategic management model. This is achieved through document analysis, non-participant observation, and in-depth interviews with experts in the field, including community enterprise leaders awarded with the OTOP 5-Star accolade and relevant government officials totaling 21 people. A purposive sampling technique is employed, focusing on OTOP award-winning community enterprises for two consecutive years, Interviewing 19 people and government officials involved in supporting Hang rice product community enterprises, Interviewing 2 people. 2) To analyze the causal relationship structure of the sustainable strategic management model, the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique is used in Round 1. This involves in-depth interviews with experts, including award-winning OTOP community enterprise leaders, Interviewing 19 people and government officials , Interviewing 2 people. totaling 21 people. The data from Round 1 is used to create a questionnaire, which is then administered again to the same participants in Round 2 to understand the components of the sustainable strategic management model. The collected data is then analyzed using Structural Equation Modeling (SEM) with 400 members of the community enterprises. 3) The study synthesizes a sustainable strategic management model for community enterprises producing Hang rice products in the Northeastern region using SWOT Analysis and TOWS Matrix. The research results found that Development of a strategic model for sustainable business management of the Hang rice product community enterprise in the Northeastern region. The strategic management model comprises six core components under the concept named "GIN-SME" consisting of  G - Green  Environmental conservation , I - Innovation, innovation capabilities, N - Network, a network of community enterprises, S- Sustainable performance of enterprises Community / Standard and Safety organic farming standards, M - Management in green management and E - Entrepreneurial orientation in focusing on entrepreneurship. This research contributes to the government, private sector, communities, academics, and stakeholders involved in Hang rice product community enterprises by applying the sustainable strategic management model to achieve long-term success and sustainability
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้การวิจัยรูปแบบการวิจัยและพัฒนา(Research and Development: R & D) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ร่วมกับเทคนิคการวิจัยเชิงอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) โดย 1) ศึกษาสภาพการณ์ของการดำเนินธุรกิจวิสาหกิจชุมชนเพื่อพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรางวัล OTOP 5 ดาวและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชมผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง จำนวน 21 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีเกณฑ์การพิจารณาการคัดเลือกจากการประกวด OTOP โดยวิสาหกิจชุมชนได้รับรางวัลระดับ 5 ดาวต่อเนื่อง 2 ปี จำนวน 19 คนและเจ้าหน้าที่ภาครัฐที่ดูแลและรับผิดชอบสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง จำนวน 2 คน 2) เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแบบกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบอนาคต EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) ในรอบที่ 1 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง คือ ประธานวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรางวัล OTOP 5 ดาวจำนวน 19 คนและเจ้าหน้าที่จากภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชมผลิตภัณฑ์ข้าวฮางจำนวน 2 คน รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 21 คนและนำข้อมูลจากรอบที่ 1 นั้นไปสร้างแบบสอบถามโดยนำกลับไปถามยังผู้ให้ข้อมูลหลักอีกครั้งในรอบที่ 2 เพื่อให้ทราบแนวโน้มองค์ประกอบของตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วนำมาวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model: SEM) เก็บข้อมูลจากสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวฮาง จำนวน 400 คน   3) เพื่อสังเคราะห์ตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย SWOT Analysis และ TOWS Matrix ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบหลัก ภายใต้แนวคิดชื่อว่า “GIN-SME” ประกอบไปด้วย G – Green เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม, I - Innovation ความสามารถทางนวัตกรรม, N – Network เครือข่ายของวิสาหกิจชุมชน , S-Sustainable management performance ผลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน/Standard and Safety มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ , M – Management ด้านการจัดการสีเขียวในกระบวนการดำเนินงานของธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ E – Entrepreneurial orientation ด้านการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบ ซึ่งงานวิจัยนี้ช่วยให้ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์ข้าวฮางได้นำตัวแบบเชิงกลยุทธ์การจัดการธุรกิจอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ข้าวฮางในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5217
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61604908.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.