Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5240
Title: GUIDELINES FOR DEVELOPING A GEOGRAPHICALLY REGISTERED ORGANIC BUSINESS OF CHINNAWONG FARM ENTREPRENEUR, NAKHON SI THAMMARAT PROVINCE
แนวทางในการพัฒนาธุรกิจออแกนิกส์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทางภูมิศาสตร์ของ ผู้ประกอบการชิณวงศ์ฟาร์ม จังหวัดนครศรีธรรมราช
Authors: Sitapak PHUANGTHONG
สิตาภัค พวงทอง
Parinya Roonpho
ปริญญา หรุ่นโพธิ์
Silpakorn University
Parinya Roonpho
ปริญญา หรุ่นโพธิ์
parinya.r@ms.su.ac.th
parinya.r@ms.su.ac.th
Keywords: แนวทางการพัฒนา
ธุรกิจเกษตรอินทรีย์
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
การวัดผลความสำเร็จ
ทฤษฎีแรงกระทบทั้ง 5
Development guidelines
Agriculture organic business
Geographical Indications
Balance Scorecard
Five Forces Model
Issue Date:  28
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study focuses on developing guidelines for establishing a geographically registered organic business at Chinnawong Farm, located in Nakhon Si Thammarat province. The primary objective is to success of the organic business operation, utilizing the Balance Scorecard concept. Additionally, the study aims to explore guidelines for business development, employing the Five Forces Model concept. The sample size and population in this study involves operators who are key contributors to business operations and 20 customers. It is a qualitative research study, specifically a descriptive case study and Phenomenology. Research tools utilized include in-depth interviews, non-participant observation, and a review of various articles and theoretical concepts related to the research topic. Analysis of the collected data reveals that Tubtim Siam pomelo is a fruit uniquely grown in the Pak Phanang district. With an increasing number of local individuals turning to pomelo cultivation, competition in the market has intensified. Therefore, Chinnawong Farm operators need to emphasize the unique features of their business and produce. Efforts include employing organic agriculture, maintaining standard fruit size and quality, and offering accessible marketing through multiple channels, prompt transportation, and sincere after-sales services to customers. Furthermore, based on identified problems and customer complaints, Chinnawong Farm has implemented specific production technologies to reduce costs and maintain consistent product quality. Additionally, establishing a transportation monopoly not only controls costs but also fosters good relationships with customers and suppliers. During seasons when pomelo is unavailable, other fruit types from within Nakhon Si Thammarat province are sold instead, reducing potential risks while maintaining a strong customer base
การศึกษาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจออแกนิกส์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทางภูมิศาสตร์ของผู้ประกอบการชิณวงศ์ฟาร์ม จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจออแกนิกส์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทางภูมิศาสตร์ของ ผู้ประกอบการชิณวงศ์ฟาร์ม จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยแนวคิดและทฤษฎีการวัดผลความสำเร็จ และเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาของธุรกิจออแกนิกส์ที่ได้ขึ้นทะเบียนทางภูมิศาสตร์ของผู้ประกอบการชิณวงศ์ฟาร์ม จังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยแนวคิดและทฤษฎีแรงกระทบทั้ง 5 ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักในการประกอบธุรกิจ และลูกค้าเป็นผู้ให้ข้อมูลในมุมมองของผู้บริโภค จำนวน 20 คน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แนวทางวิธีปรากฎการณ์วิทยาวิธีการวิจัยแบบกรณีศึกษาเชิงพรรณนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รวมถึงการรวบรวมบทความและแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงตามประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามเป็นผลไม้ที่มีอัตลักษณ์ของอำแภอปากพนัง เพราะพื้นที่อื่นไม่สามารถปลูกได้ ในระยะหลังมีการหันมาปลูกกันมากขึ้น จึงมีการแข่งขันทางการตลาดชนิดเดียวกันที่สูง ผู้ประกอบการชิณวงศ์ฟาร์มจึงต้องสร้างความแตกต่างทางธุรกิจ โดยเฉพาะจุดเด่นของตัวสินค้า ได้แก่ วิธีการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ขนาดและคุณภาพที่ได้มาตรฐาน การตลาดที่เข้าถึงได้หลายช่องทาง การขนส่งที่รวดเร็ว และการบริการหลังการขายที่มีความซื่อตรงต่อลูกค้า รวมไปถึงการนำใช้เทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการผลิต เพื่อประหยัดต้นทุนและสามารถช่วยกำหนดคุณภาพของสินค้าให้มีมาตรฐานคงที่ และยังมีการผูกขาดกับขนส่ง เพื่อควบคุมต้นทุน อีกทั้งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ โดยการรับฟังปัญหาและนำข้อมูลที่ลูกค้าร้องเรียนมาพัฒนา ในช่วงฤดูกาลที่ไม่สามารถนำสินค้ามาจำหน่ายได้ จึงแก้ปัญหาโดยการนำผลไม้ชนิดอื่น ๆ ภายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมาจำหน่ายแทน เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบและรักษาฐานของลูกค้าให้ยังคงเหนียวแน่นอยู่เช่นเดิม
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/5240
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
651220004.pdf2.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.