Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/556
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | จันทร์ทอง, เมธี | - |
dc.contributor.author | chanthong, maytee | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:05:02Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:05:02Z | - |
dc.date.issued | 2559-07-14 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/556 | - |
dc.description | 55262312 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- เมธี จันทร์ทอง | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสังคม: สิทธิมนุษยชน และความขัดแย้งในสังคมไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ 2. ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ และ 3. ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 38 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก (Sample Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสังคม: สิทธิมนุษยชน และความขัดแย้งในสังคมไทย 3. แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ตามองค์ประกอบของ Sandeep Gautam และ 4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t – test for dependent) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปัญหาสังคม: สิทธิมนุษย์ชน และความขัดแย้งในสังคมไทย ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี 3. ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก The purposes of this research were to: 1. compare the development of learning achievement of Matthayomsuksa 3 students on the social problem: human rights and the conflict in Thailand before and after their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities, 2. study the creative thinking of Matthayomsuksa 3 students from their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities, and 3. study the opinion of Matthayomsuksa 3 students regarding their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities. The sample of this research consisted 38 Matthayomsuksa 3/1 students studying in the first semester during the academic year 2015 in Saint Francis Xavier Convent School under the Office of Private Education Commission, Bangkok. They were selected by random sampling technique. The instruments employed to collect data were: 1. lesson plans, 2. a learning achievement test, 3. a creative thinking test based on the component of Sandeep Gautam, and 4. a questionnaire on the opinion of the students regarding their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities. The collected data were analyzed by mean (X̅), standard deviation (S.D.), t – test for dependent and content analysis. The findings were as follows: 1. The learning achievement of Matthayomsuksa 3 students on the social problem: human rights and the conflict in Thailand gained after the participation in the learning management using seminar and creative thinking activities was higher than the learning achievement gained before the participation learning at the level of .05 significance. 2. The creative thinking of Matthayomsuksa 3 students after their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities was at good level. 3. The positive opinions of Matthayomsuksa 3 students towards their participation in the learning management using seminar and creative thinking activities were high level. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ความคิดสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ | en_US |
dc.subject | CREATIVE THINKING | en_US |
dc.subject | SEMINAR AND CREATIVE THINKING ACTIVITIES | en_US |
dc.title | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยการสัมมนาร่วมกับกิจกรรมการคิดสร้างสรรค์ | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT AND CREATIVE THINKING OF MATTHAYOMSUKSA 3 STUDENTS USING SEMINAR AND CREATIVE THINKING ACTIVITIES | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
55262312 ; เมธี จันทร์ทอง .pdf | 55262312 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- เมธี จันทร์ทอง | 12.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.