Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/574
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิวรรธมงคล, พัสสกรณ์ | - |
dc.contributor.author | PHATSAKON, WIWANTHAMONGKHON | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:09:07Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:09:07Z | - |
dc.date.issued | 2559-06-09 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/574 | - |
dc.description | 54262201 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น ครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Stratified Random Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 276 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา/รองผู้บริหารสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 8 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามประเมินความต้องการจำเป็นและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของครูผู้สอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวม พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น มีค่าเท่ากับ .18 เมื่อพิจารณารายประเด็น พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงที่สุดเป็นลำดับแรก (.19) รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน (.17) 2. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา พบว่า มีแนวทางในด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน คือ จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่เน้นอาเซียนให้มีความหลากหลาย รวมถึงส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมอาเซียนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ อีกทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อการเรียนรู้ประชาคมอาเซียน นอกจากนี้ควรจัดกิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้อาเซียนภายในประเทศและในกลุ่มประเทศอาเซียน และจัดกิจกรรมเสริมในด้านการศึกษาเรียนรู้ภาษาอาเซียนและภาษาต่างประเทศ โดยให้นักเรียนได้มีโอกาสพบปะและสื่อสารกับชาวต่างชาติในอาเซียนมากขึ้น รวมถึงจัดวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียนมาให้ความรู้กับครูและนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ และเชื่อมโยงกับเครือข่ายกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมซึ่งกันและกัน อีกทั้งส่งเสริมและวางนโยบายการใช้ภาษาต่างประเทศของนักเรียนและบุคลากรอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม ส่วนแนวทางในด้านการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนนั้น คือ พัฒนาแผนผังความคิดหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นในเรื่องของการบูรณาการอาเซียนกับสาระวิชาสังคมศึกษา รวมถึงพัฒนาหน่วยการเรียนรู้เพิ่มเติมและเนื้อหาสาระเกี่ยวกับอาเซียนในเรื่องของการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ควรจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับอาเซียน และพัฒนาคู่มือการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับเรื่องอาเซียนสำหรับครู The purpose of this survey research were to: 1) assess the needs in the curriculum development and learning management of social studies, religion and culture to ASEAN community in the ASEAN prototype schools on secondary schools 2) study the guidelines for the curriculum development and learning management of social studies, religion and culture to ASEAN community in the ASEAN prototype schools on secondary schools. The sample of this research was selected from social studies, religion and culture teachers in the ASEAN prototype schools on secondary schools by using Multi – Stage Stratified Random Sampling, has a sample of 276 people and the providers important information on In-depth interview include school administrators/ academic secondary school administrators/ social studies, religion and culture teachers in the ASEAN prototype schools on secondary school by using Purposive Sampling, has a sample of 8 people. The instruments employed to collect data were questionnaire and In-depth interview. The collected data was analyzed by percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.), modified priority needs index (PNI) and content analysis. The findings were as follows: 1. The needs assessment of teachers on social studies, religion and culture in the curriculum development and learning management of social studies, religion and culture to ASEAN community in the ASEAN prototype schools on secondary schools. Overall, the modified priority needs index was equal .18. Considering the issues found the learning management to ASEAN community has highest modified priority needs index (.19) , followed by the curriculum development that focuses on ASEAN (.17). 2. The results of the study guidelines for the curriculum development and learning management of social studies, religion and culture to ASEAN community in the ASEAN prototype schools on secondary schools found guidelines for the curriculum development that focuses on ASEAN that learner development activities to focuses on ASEAN should be diverse. To encourage students to join ASEAN activity at the national and international. The development of a network to cooperation of the ASEAN countries to ASEAN community learning. Also the education activities the ASEAN learning resources within countries and the ASEAN countries and learning activities ASEAN languages and foreign languages by giving students the opportunity to meet and communicate with foreigners in the ASEAN even more. Including expert with regard to foreign languages and ASEAN languages to educate teachers and students regularly. Linked to the network with ASEAN and other countries to exchange cultures. The policies and promote the use of foreign language for students and staff that be concrete and clearly. The guidelines for learning management to ASEAN community that is developing mind mapping unit that focuses on the integration of ASEAN to the subject of social studies. Including the development of unit learning and contents about ASEAN in terms of politics and security, economy, culture and society. Also workshops about backward design learning by experts with regard to ASEAN and develop backward design learning guide about ASEAN for teachers. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | แนวทางการพัฒนาหลักสูตร | en_US |
dc.subject | การจัดการเรียนรู้ | en_US |
dc.subject | ประชาคมอาเซียน | en_US |
dc.subject | GUIDELINES FOR THE CURRICULUM DEVELOPMENT | en_US |
dc.subject | LEARNING MANAGEMENT | en_US |
dc.subject | ASEAN COMMUNITY | en_US |
dc.title | แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรม สู่ประชาคมอาเซียนในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน ระดับมัธยมศึกษา | en_US |
dc.title.alternative | GUIDELINES FOR THE CURRICULUM DEVELOPMENT AND LEARNING MANAGEMENT OF SOCIAL STUDIES, RELIGION AND CULTURE TO ASEAN COMMUNITY IN THE ASEAN PROTOTYPE SCHOOLS ON SECONDARY SCHOOLS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54262201 ; พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล .pdf | 54262201 ; สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา -- พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.