Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/589
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorรุ่งอภิญญา, อิศรา-
dc.contributor.authorRungapinya, Issara-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:12:04Z-
dc.date.available2017-08-31T02:12:04Z-
dc.date.issued2559-08-04-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/589-
dc.description55255327 ; สาขาวิชาการสอนภาษาไทย -- อิศรา รุ่งอภิญญาen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี จ านวน 26 คน ใช้เวลา 10 คาบ คาบละ 55 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เรื่องชนิดของประโยค 2) แบบฝึกเรื่องชนิดของประโยค 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องชนิดของประโยค และ4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent samples t – test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก โดยมีค่าเฉลี่ย (X) เท่ากับ 4.29 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.73 The purposes of this research were 1) to compare the matthayomsueksa 2 students’ learning achievement using STAD technique cooperative learning with exercises, and 2) to study students’ opinions towards STAD technique cooperative learning with exercises. The sample were matthayomsueksa 2 students of Benjamarachutit school Ratchaburi province. The 26 students of experimental group were taught by STAD cooperative learning method for 10 periods 55 minute each, covering 4 weeks, during the first semester within the academic year 2015 The instruments used to collect data were 1) lesson plans 2) sentences exercises 3) an achievement test, and 4) a questionnaire regarding students’ opinions towards STAD technique cooperative learning with exercises. The collected data were analyzed by mean ( X ), standard deviation (S.D.), dependent samples t – test and content analysis The results of this research were: 1. The students’ learning achievement on kind of sentences of matthayomsueksa 2 students after using STAD technique cooperative learning with exercises was significantly higher than before using STAD technique cooperative learning with exercises at the level of 0.05 2. The students’ opinions towards STAD technique cooperative learning with exercises were positive.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกen_US
dc.subjectชนิดของประโยคen_US
dc.subjectSTAD TECHNIQUE COOPERATIVE LEARNING WITH EXERCISESen_US
dc.subjectKIND OF SENTENCESen_US
dc.titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF LEARNING ACHIEVEMENT ON KIND OF SENTENCES OF MATTHAYOMSUEKSA 2 STUDENTS USING STAD TECHNIQUE COOPERATIVE LEARNING WITH EXERCISESen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55255327 อิศรา รุ่งอภิญญา.pdf55255327 ; สาขาวิชาการสอนภาษาไทย -- อิศรา รุ่งอภิญญา5.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.