Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorแก้วนา, พระมหาปราโมทย์-
dc.contributor.authorKAEWNA, PHRAMAHAPRAMOTE-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:13:15Z-
dc.date.available2017-08-31T02:13:15Z-
dc.date.issued2559-07-28-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/595-
dc.description53105901 ; สาขาวิชาภาษาสันสกฤต -- พระมหาปราโมทย์ แก้วนาen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลและวิเคราะห์ข้อความจารึกแม่บุญตะวันออก (K.528) จากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยในเชิงวรรณคดีศึกษาและคุณค่าในเชิงวรรณศิลป์ รวมทั้งภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมที่ปรากฏในจารึก เบื้องต้นผู้วิจัยได้ศึกษาศิลปะและสถาปัตยกรรมปราสาทแม่บุญตะวันออกโดยสังเขป พบว่ามีความสอดคล้องกับข้อความในจารึก ทั้งสถานที่ตั้ง สิ่งก่อสร้างและลักษณะทางศิลปะของสถาปัตยกรรมที่สามารถกำหนดได้เป็นศิลปะแบบแปรรูป อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ผลการศึกษาจารึกแม่บุญตะวันออกพบว่า เนื้อหาของจารึกสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นบทสดุดีเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ส่วนที่สองกล่าวถึงราชประวัติทางสายสกุลของพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ส่วนที่สามเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในรัชสมัยของพระเจ้าราเชนทร- วรมันที่ 2 ส่วนท้ายของจารึกกล่าวถึงการถวายสิ่งของเครื่องใช้สอยและการประดิษฐานศรีราเชนทเรศวรลึงค์ รวมถึงแนวทางที่พระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ชี้นำให้แก่เหล่าพระราชาในราชอาณาจักรได้ประพฤติตาม ด้านการเมืองการปกครอง พบว่าพระเจ้าราเชนทรวรมันที่ 2 ว่ามีเชื้อสายเหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ โดยพระองค์มีเชื้อสายทางพระราชมารดาเกี่ยวเนื่องกับอดีตกษัตริย์กัมพูชาสมัยเมืองพระนคร ถึงแม้ว่าพระราชบิดาของพระองค์จะมาจากเมืองภวปุระซึ่งก่อนหน้านี้เป็นดินแดนอิสระ ในขณะที่พระองค์ปกครองแผ่นดิน กวีกล่าวถึงพระองค์ว่า เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่อยู่เหนือพระราชาองค์อื่น พระองค์ปกครองอาณาจักรทำให้แผ่นดินมีความรุ่งเรือง การขยายอาณาจักรเกิดจากความสามารถด้านการรบของพระองค์ หลักที่ใช้ในการปกครองส่วนใหญ่ได้ยึดตามแนวอรรถศาสตร์ของเกาฏิลยะเป็นสำคัญ ด้านศาสนา ปรากฏหลักความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์เรื่องพระตรีมูรติ รวมถึงความเชื่อเรื่องศักติ โดยมีไศวนิกายเป็นแกนหลัก ปรัชญาของลัทธิพราหมณ์ทั้ง 6 สำนัก ทั้งมีการอ้างถึงคัมภีร์ต่างๆ ทางศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนเรื่องราวในมหากาพย์มหาภารตะ รามายณะ และเทพปกรณัม ด้านประเพณีและวัฒนธรรมสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับราชสำนักเป็นหลัก ราชพิธีที่สำคัญคือการประดิษฐานรูปเคารพยังศาสนสถานต่างๆ และพิธีเบิกพระเนตรเทวรูป รวมทั้งการบำเพ็ญบุญและพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ ทั้งนี้ยังพบว่ามีการใช้กระจกเงาในราชสำนักด้วย จารึกแม่บุญตะวันออกสะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพของกวีผู้แต่งว่ามีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาสันสกฤตเป็นอย่างดี เนื้อหาและถ้อยคำที่กวีใช้แต่งจารึกมีคุณค่าในเชิงวรรณคดีอย่างชัดเจน กวีใช้ภาษาและรูปแบบการประพันธ์ตามลักษณะของการแต่งบทกวีนิพนธ์ สร้างอลังการอย่างหลากหลาย มีการเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ ปรากฏทั้งศัพทาลังการ คือ อลังการด้านเสียงได้แก่ ยมกและอนุปราสะ ทั้งอรรถาลังการซึ่งมีหลากหลาย โดยพบอลังการประเภทอุตเปรกษามากที่สุด รองลงมาก็เป็นอุปมาและรูปกะตามลำดับ โดยกวีผู้แต่งเลือกใช้ฉันท์ถึง 7 ชนิด สลับช่วงจังหวะลีลาการประพันธ์อย่างเหมาะสมและงดงามตามแบบวรรณศิลป์ The aims of this thesis are to translate the East Mebon Inscription (K.528) from Sanskrit into Thai Language and to analyze the literary excellence and the social, economic and religious reflections depicted in the inscription. At the first step, the style of art and the architecture of the East Mebon Sanctuary are superficially studied and it is evident that the locations and buildings of the sanctuary were specified in the East Mebon inscription itself. Its style of art was Pre Rup style dated approximately in 10th century A.D. The findings of the study are as follows; the contents of the East Mebon inscription can be divided into four parts. The first part is paying homage to Gods and Goddesses of aiva sect in Hinduism whereas the second deals with the lineage of King RaÆjendravarmman II. The third is history of his reign and the last part denotes the gifts and suitable things given by the king to the sanctuary and the erection of the ‘§rí RaÆjendraliṅga including the practical way of life for his subjects. In the term of Politics, it is obvious that King RaÆjendravarman II had right for the throne of Khmer kingdom, since his mother was an Angkor predecessor king’s relative, although his father was from independent region called Bhavapura. It is said in the inscription that King RaÆjendravarman II was the king of kings, expanded his kingdom with his army and brought the kingdom to glory and prosperity with the help of Kautáilya’s political science (ArthaßaÆstra). In the aspect of religions, it is noteworthy that there were several Brahmanical faiths and beliefs such as TrimuÆrti, §akti and §iva worship, the philosophy of six Hindu principal schools including the stories from the great Hindu literary works, i.e. MahaÆbhaÆrata, RaÆmaÆyanáa and different treatises on Gods and Goddesses (Devaprakaranáa). Regarding to the culture and traditions, there were a lot of significant traditions practiced by the royal court such as the erection of the mark of §iva (§ivaliṅga) and images of Gods and Goddesses in the different shrines and places and the opening of the Gods and Goddesses’ eyes including the merit-making for Hindu. Besides, the use of the mirror in the royal court was also mentioned in the inscription. Regarding to the literary aesthetics, the language and the literary style of the East Mebon inscription shows the poets’ excellence in Sanskrit poetry. In order to attract the readers the poets wisely used different figures of speech, i.e. rhetoric decorations (AlamákaÆra). In the inscription the most illustrious rhetoric decorations were both the decoration of sounds (§abdaÆlamákaÆra) and that of senses (ArthaÆlamákaÆra). In the inscription the most important decoration of sounds were the paronomasia (Yamaka) and alliteration (AnupraÆsa) but the most frequently used decoration of senses were imaginative comparison (UtpreksáaÆ), simile (UpamaÆ) and metaphor (RuÆpaka) respectively. Moreover, seven elegant metres of Sanskrit poetry were alternatively and appropriately utilized all over the inscription.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectจารึกen_US
dc.subjectแม่บุญตะวันออกen_US
dc.subjectราเชนทรวรมันที่ 2en_US
dc.subjectINSCRIPTIONen_US
dc.subjectEAST MEBONen_US
dc.subjectRĀJENDRAVARMAN 2en_US
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์จารึกแม่บุญตะวันออกen_US
dc.title.alternativeAN ANALYTICAL STUDY OF THE EAST MEBON INSCRIPTIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53105901 ; พระมหาปราโมทย์ แก้วนา .pdf53105901 ; สาขาวิชาภาษาสันสกฤต -- พระมหาปราโมทย์ แก้วนา8.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.