Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/600
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศิริพันธุ์, จารุณี-
dc.contributor.authorSiriphan, Jarunee-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:14:22Z-
dc.date.available2017-08-31T02:14:22Z-
dc.date.issued2559-08-02-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/600-
dc.description54112314 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- จารุณี ศิริพันธุ์en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและพัฒนาการของวาทกรรม การปฏิบัติการของ วาทกรรม ตัวบท และภาคปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมของวาทกรรมเกี่ยวกับสารเสพติดในสังคมไทย ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร การทำ focus group และการสัมภาษณ์ เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1. กระบวนการประกอบสร้างหรือการผลิตวาทกรรม เป็นผลมาจากประวัติศาสตร์ของสารเสพติด และการสื่อสารเกี่ยวกับสารเสพติดผ่านมุมมองทางสังคมในเชิงลบต่อ สารเสพติดว่าเป็นสิ่งไม่ดี ผู้ใช้สารเสพติดเป็นคนไม่ดีและเป็นอาชญากรที่ต้องถูกลงโทษ 2. การวิเคราะห์ตัวบทพบว่า มีการผลิตตัวบทด้วยภาษาเชิงลบ เปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ใช้สารเสพติดในทางลบ และสร้างวาทกรรมที่สื่อความหมายแบบมีนัยยะทางลบ และ 3. ภาคปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมของวาทกรรม พบปฏิบัติการต่อการกำหนดความเชื่อและมุมมอง 3 ด้าน คือ ในมุมมองของสังคม มุมมองของผู้เสพ และมุมมองด้านนโยบายและกฎหมายของประเทศ ซึ่งมีมุมมองที่สอดคล้องกัน คือ สารเสพติด เป็นสิ่งไม่ดี คนใช้สารเสพติดเป็นคนไม่ดี ไม่มีอนาคต จึงต้องหาทางบำบัดให้เลิกใช้ สำหรับผลกระทบ ของปฏิบัติการของวาทกรรมคือสิ่งที่สังคมปฏิบัติต่อผู้ใช้สารเสพติดในทางลบ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ใช้สารเสพติด นำไปสู่การมองตนเองในด้านลบ การจัดการวาทกรรม ยาเสพติด จึงควรเริ่มจากการประกอบสร้างความคิดความเชื่อ และบรรทัดฐานทางสังคมในเรื่อง การเคารพคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่รีบตัดสินและเหมารวมพฤติกรรมบางอย่างหรือคนบางกลุ่ม อันจะนำมาสู่การผลิตวาทกรรมเชิงบวกและการปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปของวาทกรรมสารเสพติด The objective of this research is to study the history and development of the discoursed, discourse practices, texts, and socio-cultural practices on drugs in Thai society. Qualitative research methods of documentary research, focus group, and in-depth interviews were used. The research findings are 1. The construction of drug discourses is the result of drug history and communications of the negative perception of drug and drug users as bad; 2. Text analysis of drug discourse reveals negative connotations and comparison of users’ behaviors; and 3. Socio-cultural practices of drug discourse influences three aspects of beliefs and outlooks: social perspective, drug users’ perspective and national policy and legal perspectives. All three perspectives are congruent in perceiving drug as a bad substance, drug users as bad persons who need to be punished. Analysis of drug discourse socio-cultural practices detects negative impacts on drug users’ feeling, ideas and behaviors, leading to negative self-perception and self-blame. Management of drug discourse should start from the construction of positive discourse in terms of beliefs, ideology and social norms that respect human dignity. Stigmatization and stereotyping of drug users should be avoided to create more positive discourses that will alter the socio-cultural practices of drug discourses.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectวาทกรรมสารเสพติดen_US
dc.subjectปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมen_US
dc.subjectDISCOURSE ON DRUGSen_US
dc.subjectSOCIO – CULTURAL PRACTICESen_US
dc.titleวาทกรรมเกี่ยวกับสารเสพติด : ปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมen_US
dc.title.alternativeDISCOURSE ON DRUGS: SOCIO – CULTURAL PRACTICESen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54112314 จารุณี ศิริพันธุ์.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.