Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/601
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทิมบรรเจิด, พิมพ์ชนก-
dc.contributor.authorTimbunjerd, Pimchanok-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:14:35Z-
dc.date.available2017-08-31T02:14:35Z-
dc.date.issued2559-08-01-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/601-
dc.description54107211 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- พิมพ์ชนก ทิมบรรเจิดen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักฐานที่มา รูปแบบศิลปกรรม และหน้าที่การใช้งานที่เกี่ยวข้องกับถะหรือเจดีย์ศิลาจีนในสมัยรัชกาลที่ 3 รวมทั้งความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างจีนและไทยในสมัยนี้ โดยศึกษาผ่านกลุ่มงานประติมากรรมศิลาสมัยรัชกาลที่ 3 ได้แก่ กลุ่มถะจากวัด 7 แห่งคือ วัดสุทัศนฯ วัดพระเชตุพนฯ วัดหนังฯ วัดกัลยาฯ วัดประยุรฯ วัดราชโอรสฯ และวัดอรุณฯ ในการศึกษาวิจัย สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. ถะที่ปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 3 มีที่มาจากแหล่งผลิต 2 แห่งหลัก คือ ถะฝีมือช่างจากจีน และถะฝีมือช่างในไทย โดยการนำไปศึกษาร่วมกับหลักฐานเอกสารและงานประติมากรรมศิลาที่ร่วมสมัยกัน พบว่า ลักษณะศิลาและเทคนิคช่างมีความแตกต่างกัน 2. ถะจากจีนนั้นพบว่า บางองค์มีรูปแบบศิลปะไทยเข้าไปผสมผสาน อันน่าจะเกิดจากการสั่งทำพิเศษจากฝ่ายไทย แล้วส่งให้ช่างในจีนสลักตามแบบ 3. ความนิยมในการใช้ถะสมัยรัชกาลที่ 3 น่าจะเป็นปัจจัยต่อการนำรูปแบบถะมาปรับใช้กับเจดีย์ศิลาอย่างไทย เช่น ถะประจำมุมพระอุโบสถ วัดอรุณฯ ทั้งนี้ พบว่าแม้รูปแบบมีการเปลี่ยนแปลงแต่หน้าที่และความหมายในการสร้างยังคงใช้ในคติของเจดีย์ประจำมุมเช่นเดิม 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความนิยมถะนั้น เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ระหว่างไทย – จีน ที่มีความรุ่งเรืองอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 3 ทั้งยังมีความเกี่ยวเนื่องกับพระราชนิยมของรัชกาลที่ 3 ด้วย แต่เมื่อเข้าสู่แผ่นดินรัชกาลที่ 4 กระแสนิยมตะวันตกได้เข้ามาแทนที่อิทธิพลวัฒนธรรมจีน จึงทำให้บทบาทศิลปะจีนลดลงอันส่งผลต่อถะที่ไม่ได้รับความนิยมดังแผ่นดินก่อนเช่นกัน The purpose of this research is to fulfill the knowledge on the evidence, art styles and the concept of Tas or Chinese stone pagodas in the reign of King Rama III. This research also studied the economic and social relationship between Siam and China. Sampled pagodas are from Wat Suthat, Wat Phachetuphol, Wat Nhang, Wat Kalayanamit, Wat Prayoon, Wat Ratcha Orasaram and Wat Arun. The results of the study are namely: 1. Tas in the reign of King Rama III were made by 2 groups of artisans, namely Chinese artisans and Siamese artisans. In this research, the related documents and Chinese stone sculptures were also studied to make this issue more clear. The result is that the stone works by Siamese artisans were different from those by Chinese artisans in the aspect of stone type and technique. 2. There are some Tas from the Chinese artisans that reflect the mingling of Thai style. They may have been created by the Chinese artisans according to the forms sent from Siamese artisans. 3. The popularity of Tas in the reign of King Rama III had an influence on the Thai – styled stone pagodas such as the pagodas at four corners of the ordination hall in Wat Arun. According to the study, though having new forms, the pagodas are still used by the Siamese on accordance with Siamese traditional concept. 4. The factors leading to the appearance of Tas are the glorious age of Siamese – Chinese relationship and the King Rama III’s fondness for the Chinese arts. However, in the reign of King Rama IV, the influence of the Western arts overcome that Chinese arts, which decreased the role of Chinese and Tas.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectถะen_US
dc.subjectประติมากรรมศิลาen_US
dc.subjectรัชกาลที่ 3en_US
dc.subjectTAen_US
dc.subjectSTONE SCULPTUREen_US
dc.subjectKING RAMA IIIen_US
dc.titleถะ : เจดีย์ศิลาจีนในสมัยรัชกาลที่ 3en_US
dc.title.alternativeTA : CHINESE STONE PAGODAS IN THE PERIOD OF KING RAMA IIIen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54107211 พิมพ์ชนก ทิมบรรเจิด.pdf23.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.