Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/610
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorหมีทอง, ศุภลักษณ์-
dc.contributor.authorMheetong, Supalak-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:16:57Z-
dc.date.available2017-08-31T02:16:57Z-
dc.date.issued2558-10-14-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/610-
dc.description53102204 ; สาขาวิชาโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ -- ศุภลักษณ์ หมีทองen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระดูกสัตว์เลื้อยคลานในแหล่งโบราณคดี ถ้ำหมอเขียวเพื่อดูความหลากหลายและการเปลี่ยนแปลงชนิดสัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนสามารถ อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยกับสัตว์เลื้อยคลานและสภาพแวดล้อมของแหล่งโบราณคดีถ้ำหมอ เขียวในอดีตและเป็นแนวทางในการศึกษากระดูกสัตว์เลื่อนคลานจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีผู้ศึกษากระดูกสัตว์เลื้อยคลานในระดับชนิดพันธุ์ในงานโบราณคดีมากนัก ตัวอย่างที่นำมาทำการศึกษาครั้งนี้เป็นตัวอย่างกระดูกสัตว์เลื้อยคลานที่ได้จากการขุดค้น แหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียวของอาจารย์ ดร.ประสิทธ์ เอื้อตระกูลวิทย์และคณะ ขุดค้นในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนกระดูกสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 7,299 ชิ้น จากกระดูกสัตว์ทั้งหมด 27,502 ชิ้นและ ตัวอย่างกระดูกสัตว์เลื้อยคลานที่ใช้ในการเปรียบเทียบเป็นตัวอย่างจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา แห่งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ผลการวิเคราะห์กระดูกสัตว์เลื้อยคลานพบสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมด 15 ชนิด จาก 3 อันดับ คือ อันดับเต่า-ตะพาบ (Order Testudines) 10 ชนิด อันดับกิ้งก่า-งู (Order Squamata) 2 ชนิด และอันดับสุดท้ายคืออันดับจระเข้ (Order Crocodylia) จากชนิดของสัตว"เลื้อยคลานที่พบสามารถ สันนิษฐานได้ ว่า สภาพแวดล้อมโบราณของแหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียวในช่วงโฮโลซีนตอนต้น (Early Holocene) เป็นป่าดิบชื้นและมีแหล่งน้ำที่ไหลตลอดทั้งปี และเนื่องจากกระดูกสัตว์เลื้อยคลานที่พบ บางส่วนถูกเผาไฟและมีร่องรอยการสับ-ตัด สันนิษฐานได้ว่ากระดูกสัตว์เลื้อยคลานที่พบในแหล่ง โบราณคดีถ้ำหมอเขียวเป็นสัตว์ที่บริโภคโดยมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ In Thailand, there have few studies on reptile bones species in archeology and the purpose of this study to analyze the reptile bones in Moh-Khiew cave to see the variety and changes in reptile species. The result of an analysis of reptile bones can explain the relationship between humans and animals, and the paleoenvironment of Moh-Khiew cave. Reptile bones in this study from Moh-Khiew cave excavated by Professor Dr. Prasit Auetrakulvit, the excavation in 2551. A reptile boness 7299 pieces from all 27502 pieces of animal bones and the samples of reptiles bone used in comparing from the Faculty of Science. Chulalongkorn University and the National Science Museum. The analysis found the bones of reptiles, 15 species form 3 orders Order Testudines is 10 species Order Squamata 2 species and Order Crocodylia. Species of reptiles can assume that the paleoenvironment of Moh-Khiew cave are tropic rain forest during the early and have water resources throughout the year, and because the bones of reptiles were found partially burned and traces the cutmark. The assumption was that the bones of reptiles found in Moh-Khiew cave consumption by humans in prehistoric.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectกระดูกสัตว์en_US
dc.subjectสัตว์เลื้อยคลานen_US
dc.subjectANIMAL BONEen_US
dc.subjectREPTILEen_US
dc.subjectMOH-KIEWen_US
dc.titleการวิเคราะห์กระดูกสัตว์เลื้อยคลานจากแหล่งโบราณคดีถ้ำหมอเขียว อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่en_US
dc.title.alternativeAN ANALYSIS OF REPTILE FROM AN EXCAVATION AT MOH-KHIEW CAVE, KRABI PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53102204 นางสาวศุภลักษณ์ หมีทอง.pdf59.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.