Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภมานพ, กีรติ-
dc.contributor.authorSupamanop, Keerati-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:23:09Z-
dc.date.available2017-08-31T02:23:09Z-
dc.date.issued2559-08-02-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/631-
dc.description54107203 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- กีรติ ศุภมานพen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาที่มาและรูปแบบเฉพาะของการประดับพรหมพักตร์ โดยทำการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานด้านเอกสารร่วมกับหลักฐานงานศิลปกรรม เพื่อนำไปสู่การกำหนดอายุและทำความเข้าใจเกี่ยวกับคติความหมายที่แฝงอยู่ในการนำเอาพรหมพักตร์มาเป็นองค์ประกอบในงานศิลปกรรมไทย ในการวิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1. พรหมพักตร์ที่หมายถึงการทำหน้าบุคคลสี่หน้าในงานศิลปกรรมไทย เกิดจากความเข้าใจว่าองค์ประกอบดังกล่าวคือใบหน้าของพระพรหม ซึ่งมีที่มาทางด้านรูปแบบจากศิลปะเขมรสมัยบายน โดยยังคงนำมาประดับที่ส่วนยอดของงานศิลปกรรมเช่นเดียวกับต้นแบบ 2. การประดับพรหมพักตร์ในงานศิลปกรรมไทยแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือหนึ่งพรหมพักตร์ที่ประดับในงานศิลปกรรมร่วมกับยอดแบบปรางค์ แสดงให้เห็นถึงการสืบทอดระเบียบตามอย่างศิลปะเขมรสมัยบายน และสองพรหมพักตร์ที่ประดับในงานศิลปกรรมร่วมกับยอดแบบเจดีย์ ซึ่งถือเป็นพัฒนาการที่เกิดจากการประยุกต์ของช่างผู้สร้าง 3. พรหมพักตร์ถือเป็นองค์ประกอบที่ถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แสดงความหมายเพื่อให้สอดคล้องไปกับหน้าที่การใช้งาน ดังนั้นพรหมพักตร์ที่ปรากฏในแต่ละชิ้นงานจึงอาจมีความหมายแตกต่างกันไปทั้งนี้ความหมายดังกล่าวคงถูกกำหนดโดยช่างผู้ออกแบบ และถูกตีความหรือทำความเข้าใจอีกทีหนึ่งโดยผู้ที่พบเห็น เช่น พรหมพักตร์ที่ประดับในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์มีหน้าที่แสดงถึงฐานันดรศักดิ์ ขณะที่พรหมพักตร์ในงานศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามีหน้าที่หรือความหมายที่แสดงถึงสวรรค์ชั้นพรหมหรือพระพรหม The objective of this research is to study the origin and the characteristics of four-faced deity by analyzing the literary evidence along with the art objects in order to date and to comprehend the underlying concepts of four-faced deity in Thai art and architecture. The results of the study are as follows : 1. Four-faced deity in Thai art can generally be understood as Brahma’s faces, which was influenced by Khmer art, Bayon style. 2. The patterns of four-faced deity in Thai art can be categorised into two types. The first type is four-faced deity decorated on the upper part of towers (Prang), which was influenced by Khmer art, Bayon style. The second type is four-faced deity decorated on the spire of stupas, which was adapted from the original and reconstructed by Thai artisans. 3. Four-faced deity was used as a symbol which corresponded to its function. Each of them, therefore, might have different meanings, depending on the artisans themselves and can be interpreted in many different ways. For instance, four-faced deity in monarchical art represents ranks of nobility, whereas four-faced deity in Buddhist art represents Brahma or Brahma’s heaven.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectพรหมพักตร์en_US
dc.subjectพรหมสี่หน้าen_US
dc.subjectFOUR-FACED DEITYen_US
dc.subjectFOUR-FACED BRAHMAen_US
dc.titleพรหมพักตร์ในงานศิลปกรรมไทยen_US
dc.title.alternativeFOUR - FACED DEITY IN THAI ART AND ARCHITECTUREen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54107203 กีรติ ศุภมานพ.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.