Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/640
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดวงแก้วใหม่, สิปปกิจ | - |
dc.contributor.author | Duangkaewmai, Sippakij | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:26:19Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:26:19Z | - |
dc.date.issued | 2559-08-05 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/640 | - |
dc.description | 57054220 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- สิปปกิจ ดวงแก้วใหม่ | en_US |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันเทคโนโลยีและการสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้าครอบคลุมไปในทุกๆพื้นที่ แม้จะทำให้เกิดความสะดวกสบายในการรับรู้และการติดต่อ แต่การปฏิสัมพันธ์กันทางกายภาพและการใช้พื้นที่จริงกลับลดน้อยลง มีการใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับพื้นที่ในโลกเสมือนเช่น ทางสังคมออนไลน์ กิจกรรมทางศิลปะก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกันส่งผลให้พื้นที่รองรับกิจกรรมทางศิลปะลดน้อยลงเรื่อยๆ จากข้อปัญหานี้จึงเกิดวัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ขึ้นเพื่อ ทำความเข้าใจในปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนไป และออกแบบโปรแกรมในการสร้างพื้นที่ทางกายภาพที่ดึงดูดคนเข้ามาใช้ให้เกิดการแลกเปลี่ยน และรองรับกิจกรรมทางศิลปะได้เหมาะสมกับสังคมที่เทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้น โดยมีความมุ่งหมายที่จะใช้องค์ประกอบต่างๆทางสถาปัตยกรรมมาช่วยแก้ปัญหา และส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ศิลปะที่ให้ประโยชน์ต่อสังคม จากปัจจัยต่างๆจึงเกิดสมมติฐานว่า ย่านนิมมานเหมินท์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้นแบบที่ดีมีความเป็นไปได้ที่จะทำการศึกษา เนื่องจากเป็นพื้นที่มีความเฉพาะตัวสูง ทั้งในเรื่องกลุ่มผู้ใช้พื้นที่ที่หลากหลาย และกิจกรรมทางศิลปะที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของพื้นที่ อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งที่อยู่ใกล้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการดึงดูดให้คนมาใช้ โดยเริ่มต้นจากการศึกษาความเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมการสร้างสรรค์งานศิลปะต่างๆ ศึกษาหลักทฤษฎีการวิเคราะห์จินตภาพของเมืองจาก Kevin Lynch ประกอบกับทฤษฎีการใช้พื้นที่สาธารณะของ Jan Gehl ในเรื่องของปัจจัยต่างๆที่ทำให้เมืองนั้นมีความน่าอยู่และรองรับการใช้งานพื้นฐาน ผลของการศึกษาและออกแบบคือ ได้พบความเปลี่ยนแปลงของกิจกรรมทางศิลปะว่าทั้งกิจกรรมทางกายภาพที่จับต้องได้ กับกิจกรรมสร้างสรรค์ศิลปะด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นสามารถทำงานร่วมกันได้ เกิดการเรียนรู้ระหว่างสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ ทั้งยังเพิ่มศักยภาพและดึงดูดให้คนเข้ามาใช้ ทำให้เกิดพื้นที่กิจกรรมทางศิลปะที่ดีขึ้น ระหว่างการศึกษาได้พบลักษณะเฉพาะตัวของคนในพื้นที่ จึงมีการออกแบบโปรแกรมเพิ่มเติมในการใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมและธรรมชาติมาใช้เชิงสัญลักษณ์ ทำให้เกิดแนวเส้นทางสีเขียวที่สำคัญ เป็นจุดเด่นของย่าน และเป็นตัวอย่างในการรักษาพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน At present, we are living in the digital era, there are convenience as well, but at the same time resulting in reduced physical interaction. Using the most space in the virtual social instead of, there are many problems too. Art activities have been affected as well. Despite technological advances, some artist can create new way to work, but in many activities, the problem has not applied as they should be and insufficient for support art activities This study aims to understand the factors that changed, design program to create attractive physical space for people, supporting art activities by architectural elements. Chiang Mai, In Nimmanhaemin area, it was hypothesized that a variety of factors, dynamic, sense of place and high possibility to be studied. Although there many problems, High building density grows rapidly. Lack of proper pedestrian areas As well as space for activities is not clear. However, it is interesting for modify and enhance the advantages of the region. The scope of the study, use Architectural elements to solve problems and promote the benefits of space in the Nimmanhaemin. Then study of changes in creating art work, study of Kevin Lynch’s the image of the city theory to analyze with the urban theory of Jan Gehl about the factors that cause it. The results of study, two creative art process, analog and digital can intergrade, physical and virtual can adjust to living together. Encourages learning between something old and something new, Different user and variety of planning can intergrade. Design program can solve some specific areas that some people may use space of just a passageway to another area by many creative spaces. At the conclusion of the study is unique in the area of Chiang Mai, conservative mind with green space. The program is designed in the architectural and natural symbol, new axis of trees, the major green routes, for specific city to achieve sense of place and sustainable city. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | นิมมานเหมินท์ | en_US |
dc.subject | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.subject | ศิลปะ | en_US |
dc.subject | NIMMANHAEMIN | en_US |
dc.subject | ARCHITECTURE | en_US |
dc.subject | ART | en_US |
dc.title | การศึกษาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางศิลปะ ย่านนิมมานเหมินท์ | en_US |
dc.title.alternative | THE STUDY OF ARCHITECTURAL ELEMENTS TO PROMOTE ART ACTIVITIES IN NIMMANHAEMIN AREA | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57054220 สิปปกิจ ดวงแก้วใหม่.pdf | 7.62 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.