Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/642
Title: | ทบทวนการรับรู้อัตลักษณ์ภายใต้คำว่า "ชิโน-โปรตุกีส" ในมุมมองของคนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเปรียบเทียบจังหวัดภูเก็ตและสงขลา |
Other Titles: | REVIEW THE PERCEPTION OF IDENTITIES OF "SINO-PORTUGUESE" FROM LOCAL PERSPECTIVES : A COMPARATIVE CASE STUDY OF PHUKET AND SONGKHLA PROVINCES |
Authors: | จันเสน, ณธทัย Chansen, Nathatai |
Keywords: | การรับรู้อัตลักษณ์ ชิโน-โปรตุกีส จังหวัดภูเก็ตและสงขลา SHOPHOUSE PERCEPTION OF IDENTITIES SINO-PORTUGUESE PHUKET AND SONGKHLA |
Issue Date: | 4-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | เรือนแถวแสดงออกถึงมรดกทางพหุวัฒนธรรมของการค้าขายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมกับอาณานิคมตะวันตก อย่างไรก็ตาม เรือนแถวในคาบสมุทรมลายู ดังเช่นสิงคโปร์มีการนิยามเรือนแถวว่า “Palladian shophouse หรือ Raffles Shophouse” ตามแหล่งที่มา Sir Stamford Raffle สร้าง Jackson Plan เป็นรูปแบบผังเมืองในสิงคโปร์ หรือ Penang heritage trust นิยามเรือนแถว “The Eclectic style” หมายถึงรูปแบบศิลปะผสมผสานที่ได้รับอิทธิพลหลักจากกลุ่มวัฒนธรรมลูกผสมหรือเพอรานากัน ในขณะที่เรือนแถวในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยถูกนิยามว่า “ชิโน-โปรตุกีส” มามากกว่า 20 ปี วาทกรรมของเรือนแถวเริ่มต้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยสถาปนิกรุ่นใหม่ในสมัยนั้น ซึ่งระบุว่าเป็นการผสมผสานทางสถาปัตยกรรมระหว่างจีนและตะวันตกโดยเฉพาะโปรตุเกส ทั้งที่การศึกษาพบว่ามีกลุ่มคนจีนย้ายถิ่นฐานรวมถึงนำรูปแบบเรือนแถวมาจากเมืองอาณานิคมช่องแคบ ปีนังและสิงคโปร์ในช่วงยุคอาณานิคมอังกฤษ แต่ทำไมเรือนแถวในคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทยถูกเรียกว่า “ชิโน-โปรตุกีส” จนถึงปัจจุบัน การตอบคำถามงานวิจัย ทบทวนการรับรู้อัตลักษณ์ภายใต้คำว่า “ชิโน-โปรตุกีส” เปรียบเทียบย่านเมืองเก่าภูเก็ตและสงขลา ด้วยการเก็บข้อมูลรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากมุมมองของคนในพื้นที่ จากการสำรวจพบว่าเรือนแถวในย่านเมืองเก่าภูเก็ตภายใต้คำว่าชิโน-โปรตุกีส ได้รับอิทธิพลหลักมาจากเมืองปีนัง ความคิดเห็นส่วนใหญ่ กล่าวว่ามีอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมระหว่างจีนและตะวันตก มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ทางเดินหน้าอาคาร ซุ้มหน้าต่างทรงสูงและผนังประตูทางเข้าแบบจีน ไม่พบการระบุองค์ประกอบของโปรตุเกส แต่คนในพื้นที่ยอมรับการใช้นิยามชิโน-โปรตุกีส เพราะแสดงถึงอัตลักษณ์ของตนเองได้ชัดเจนและแบ่งตัวเองจากพื้นที่อื่นได้ รวมถึงยังสามารถสร้างอัตลักษณ์ในด้านต่างๆเช่น อัตลักษณ์ทางการตลาด อัตลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนในย่านเมืองเก่าสงขลาภายใต้คำว่าชิโน-โปรตุกีส ได้รับรูปแบบเรือนแถวจากปีนังและภูเก็ตถือเป็นรูปแบบใหม่ในพื้นที่ ความคิดเห็นส่วนใหญ่พยายามจะแยกอัตลักษณ์เรือนแถวแบบจีนและที่ได้รับอิทธิพลตะวันตก เพราะอัตลักษณ์ที่เด่นชัดของสงขลาคือเรือนแถวรูปแบบจีน กล่าวคือ เรือนแถวในพื้นที่อาจไม่ใช่ชิโน-โปรตุกีส เพราะไม่มีองค์ประกอบหลักของทางเดินหน้าอาคาร ดังนั้นถ้าจะนิยามเรือนแถวกลุ่มนี้ให้เหมาะสมมีข้อแนะนำให้เรียกว่า “ชิโน-ยูโรเปียน” เพราะสามารถอธิบายถึงอัตลักษณ์ได้ชัดเจนและครอบคลุมกว่า The shophouses in the Malayan peninsula, such as in Singapore, are known as “Palladian” or “Raffles” shophouses. Both names refer to the original influence of Sir Stamford Raffle, who implemented the Jackson plan for the development of the urban pattern in Singapore. The Penang heritage trust categorized one type of shophouse as “The Eclectic Style”, meaning a multi-art variety developed from a hybrid culture or Peranakan. In the Southern Thai peninsula, “Sino-Portuguese” has existed as a shophouse definition for over 20 years. The reasoning, according to young architects in that time, is that the architecture is a combination of Chinese and Western styles, and Portuguese in particular. The study found that Chinese immigrants adopted this style of shophouse from Penang and Singapore during the British occupation period. But why has this shophouse style been known as “Sino-Portuguese” to the present day? To address this question, we must review the perception identities of “Sino-Portuguese” comparative case study of Phuket and Songkhla provinces with data collection of architectural style and in-depth interviews regarding local perspectives. Local surveys found that shophouses known as “Sino-Portuguese” in the old district of Phuket are believed to have been influenced by Penang. The general perception of identities is of Chinese and Western. The main characteristics are a five-foot way, long windows and Chinese entrance wall. The result does not find any elements specific to Portuguese. However, the local community has accepted “Sino-Portuguese” as a unique style identity and expression, distinct from others. This identification is convenient also in regard to marketing and tourism. In the old district of Songkhla “Sino-Portuguese” is also known to have been influenced by Penang and is a relatively new style in an area of traditional Chinese shophouses. Most opinions attempt to emphasize a distinction between Chinese and Western identities. The distinctive identity in Songkhla is the Chinese shophouse. Sino-Portuguese may be unknown in this area due to the absence of the five-foot way at the front of shophouse. Thus, it has been suggested that a more appropriate description is “Sino-European”, which provides a far clearer and comprehensive definition of the style. |
Description: | 54057208 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ณธทัย จันเสน |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/642 |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54057208 ; ณธทัย จันเสน .pdf | 54057208 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- ณธทัย จันเสน | 16.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.