Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/643
Title: ไทย ๆ : โครงการสร้างสรรค์ประยุกต์ศิลป์ในมิติความเชื่อเชิงวัฒนธรรมไทยเรื่องความผิดเพี้ยน ในธรรมชาติที่มีอิทธิพลทางจิต
Other Titles: THAI-THAI : APPLIED ART DESIGN FOR REPRESENTATION IN FAITH OF POPULARITY
Authors: เฉลิมฤทธิ์, ศศิวิมล
Chalermrith, Sasiwimol
Keywords: มิติความเชื่อ
ความเชื่อเชิงวัฒนธรรมไทย
ความผิดเพี้ยนในธรรมชาติ
อิทธิพลทางจิต ไทยๆ
งานประยุกต์ศิลป์
ชิ้นงานต้นแบบ
DIMENSION OF BELIEFS
THAI CULTURAL BELIEF
NATURAL DISTORTION
MENTAL BELIEFS
APPLIED ARTS
MODEL
Issue Date: 5-Aug-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: โครงการสร้างสรรค์งานชุดนี้ สร้างขึ้นภายใต้หัวข้อ “ไทยๆ”: โครงการสร้างสรรค์ประยุกต์ ศิลป์ในมิติความเชื่อเชิงวัฒนธรรมไทยเรื่องความผิดเพี้ยนในธรรมชาติที่มีอิทธิพลทางจิต มีที่มาจากการ ตั้งคำถามของผู้วิจัยต่อสิ่งที่พบเห็น ในเรื่องความเชื่อแบบไทยๆ ที่บูชาสิ่งผิดเพี้ยนในธรรมชาติ ว่าทำไม สัตว์พิการจึงถูกนำมาบูชา และทำไมถึงเชื่อมโยงกับเรื่องความเชื่อ และตอบโจทย์ชีวิตคนหลายชนชั้นได้ จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูล พบว่าความเชื่อ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว เป็นที่พึ่งทางใจ เพื่อ เป้าหมายในการกระทำต่างๆ ให้มีกำลังใจในการดำเนินชีวิต และคำว่า “ไทยๆ” หมายถึงอะไรที่เจือจาง กว่าคำว่า ไทย เพราะในขณะที่ไทยๆ เน้นความง่ายๆ สบายๆ มีอยู่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังไม่ จำเป็นต้องมีรากเหง้า หรือสะท้อนเนื้อแท้อะไรทั้งสิ้น ผู้วิจัยเห็นว่า ความเชื่อในความแปลก ในความ ผิดเพี้ยนของธรรมชาติแบบไทยๆนี้เป็นความพิเศษ มีเอกลักษณ์น่าสนใจ จึงเกิดแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ งานศิลปะที่แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โครงการวิจัยนี้ ได้สร้างสรรค์ประติมากรรมต้นแบบ โดยวัสดุไฟเบอร์กลาส จำนวน 5 ผลงาน โดยเน้นขอบเขตการศึกษาเฉพาะเรื่องความเชื่อของคนไทย ที่มีต่อกายภาพของสัตว์ที่เกิดมาในสภาพ ผิดปกติ จากนั้นมีการประยุกต์ต่อยอดงานออกแบบชุดนี้ ให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้บริโภค ในสถานะที่ เป็นทั้งวัตถุทางความเชื่อ ผลิตภันฑ์ใช้สอย ควบคู่ไปกับความเป็นวัตถุทางสุนทรีย์ เช่น กระปุกออมสิน เชิงเทียน เข็มกลัด ของสะสม (Toy Art) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการออกแบบทางนิเทศศิลป์ เช่น การ ออกแบบตัวอักษร การออกแบบตราสัญลักษณ์เพื่อการสื่อสาร การสร้างอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบ รนด์ “มหาโชค (Eternal Lux)”อีกด้วย ผลการวิจัยพบว่า การนำคติ ความเชื่อในสังคมไทยมาปรับเปลี่ยนบริบทเชิงรูปแบบ จาก เดิมที่เป็นเพียงเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคล พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่ในมิติของวัตถุทางสุนทรีย์นั้น เป็น แนวทางการออกแบบประยุกต์ศิลป์ที่น่าสนใจ สามารถนำเสนอความงามร่วมสมัย และสะท้อน วัฒนธรรม “ความเชื่อ แบบไทยๆ”ได้เป็นอย่างดี This art thesis was created under the topic “THAI-THAI”: APPLIED ART DESIGN FOR REPRESENTATION IN FAITH OF POPULARITY. The concept of this research was from the questioning concept to the results of Thai belief about distortion warship. From the results and the research, it found that belief is anchor mind and mental sanctuary to live and do anything. The researcher saw the connection of the contents, concepts to the belief and saw that abnormality, distortion is special, unique. So, the researchers created the applied art with the objective to show the aesthetics beauty in another dimension. The expressing shapes are from the story of natural distortion; case study animals to mix with the Thai traditional belief to create applied art design to continue to be the believing products by the integration of visual arts for physical and mental communication. This applied art is considered belief innovation, originally from thought base and changed from forms of amulets to new things. Whether it is distortion or whatever, it is connected to Thai belief. Whatever the belief is, it is personal rights. Our mental sanctuary can be different, and these beliefs can reflect to Thai society very well.
Description: 57156331 ; สาขาศิลปะการออกแบบ -- ศศิวิมล เฉลิมฤทธิ์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/643
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57156331 ศศิวิมล เฉลิมฤทธิ์.pdf57156331 ; สาขาศิลปะการออกแบบ -- ศศิวิมล เฉลิมฤทธิ์112.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.