Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/650
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีอาภรณ์, ศรัญพร-
dc.contributor.authorSriareporn, Sarunporn-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:29:37Z-
dc.date.available2017-08-31T02:29:37Z-
dc.date.issued2559-08-02-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/650-
dc.description57054218 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ศรัญพร ศรีอาภรณ์en_US
dc.description.abstract“ชาน”เป็นองค์ประกอบสำคัญของบ้านเรือนไทยที่แสดงออกถึงความเป็นอยู่ รูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวัน ความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม รวมถึงสะท้อนถึงระบบโครงสร้างทางวัฒนธรรมที่ถูกส่งผ่านมายังรูปแบบของการวางผังเรือนซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดคุณลักษณะและระบบความสัมพันธ์ของที่ว่าง นอกจาก “ชาน” จะเป็นตัวแบ่งแยกการใช้งานในแต่ละกิจกรรมของเรือนไทยแล้ว ยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดลำดับความสำคัญที่แตกต่างกันออกไปของพื้นที่ อาจจะกล่าวได้ว่า “ชาน” เป็นพื้นที่ตัวกลาง ที่อยู่ตรงกลางระหว่างความเป็นพื้นที่สาธารณะและความเป็นพื้นที่ส่วนตัว บ้านเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดตัวอย่างหนึ่งที่สามารถอธิบายระบบของการจัดการที่ว่างที่ประกอบด้วย ความต้องการความเป็นสาธารณะในลักษณะที่ตอบสนองธรรมชาติของมนุษย์ในแง่การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม แต่ในขณะเดียวกัน บ้านก็เป็นอาณาเขตแห่งความเป็นพื้นที่ส่วนตัว ในสองขั้วของระบบการจัดการที่ว่างจึงต้องมีพื้นที่เชื่อมต่อ (Transitional space ) นี้เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างขาดกันไม่ได้โดยสรุปใจความสำคัญของคุณลักษณะในการควบคุมControlling Aspects ของชาน ดังนี้ 1.เป็นเครื่องมือในการควบคุมสภาพแวดล้อม 2.เป็นเครื่องมือในการควบคุมการแบ่งการใช้งานพื้นที่ใช้สอย 3.เป็นเครื่องมือในการควบคุมการเชื่อมต่อที่ว่าง 4.เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของผู้ใช้5.เป็นเครื่องมือในการควบคุมความเป็นส่วนตัวและความเป็นสาธารณะ 6.เป็นเครื่องมือในการควบคุมการต่อเติมหรือการต่อขยาย 7.เป็นเครื่องมือในการควบคุมระบบการจัดการพื้นที่อาจกล่าวได้ว่าตัวอย่างทั้งสองคือ บ้าน และ เมือง นั้นมีจุดร่วมของการตั้งคำถามถึงระบบของพื้นที่เชื่อมต่อที่ว่างในเชิงของคุณลักษณะของพื้นที่และความสำคัญของความเป็นTransitional space กับระบบการดำเนินการเชิงพื้นที่การเปลี่ยนแปลงและสำรวจนัยยะของพื้นที่เชื่อมต่อในงานสถาปัตยกรรมรูปแบบทางกายภาพความสำคัญและคุณลักษณะของ Transitional space เมื่อคลี่คลายนิยามเดิมขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อที่ว่าง และการนิยามใหม่ผ่านหน้าที่และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป ในระดับเมืองแล้ว Transitional space ก็มีความจำเป็น ดังนั้น คำถามถ้าในระดับเมืองแล้ว Transitional space จะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง หรือถ้าในเมืองที่มีความหนาแน่น จะสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของ Transitional space ได้อย่างไรบ้าง วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา Transitional space ทั้ง Transitional space ในเรือนไทยแต่ละภูมิภาค และ Transitional space ในฐานะของพื้นที่สาธารณะของเมือง ในแง่บทบาท หน้าที่และความสำคัญในการออกแบบสถาปัตยกรรม แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้ มาทำการทดลองออกแบบเพื่อหา รูปแบบพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสม ในบริบทของเมืองที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งในแง่ความหนาแน่นของพื้นที่และจำนวนประชากร ซึ่งจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้พื้นที่ในเมือง ทั้งการอยู่อาศัย และการใช้งานพื้นที่สาธารณะ ทำการศึกษาโดยการเลือกที่ตั้งในบริบทที่มีความหนาแน่นสูง ทั้งในแง่จำนวนประชากร การใช้งานพื้นที่ และการซ้อนทับของกิจกรรม และทำการทดลองออกแบบโดยใช้องค์ความรู้ของ Transitional space เป็นจุดเริ่มต้นของการวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับรูปแบบการใช้งานพื้นที่ กรณีศึกษา อาคารพาณิชย์ในตลาดพาหุรัด ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการศึกษาและทดลองออกแบบ จะเป็นการสำรวจรูปแบบใหม่ หรือความเป็นไปได้ใหม่ นอกเหนือจากรูปแบบของการจัดการพื้นที่ในเมืองแบบเดิม และแนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสมกับการใช้งานพื้นที่ของเมืองที่มีความหนาแน่นสูง การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับ สองขั้วของการจัดการพื้นที่คือการอยู่อาศัย (Private space) และพื้นที่สาธารณะ (Public space) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของการจัดการที่ว่าง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการพื้นที่สาธารณะของเมืองในบริบทใหม่ที่สอดคล้องกับสังคมเมืองในปัจจุบัน “Chan” is the important element of Thai traditional house it’s representational of social life, cultural and related between human and social structure through the spatial organization. “Chan” define hierarchy of space and separated activities of house, its transition state between private world and public realm. Two different kind of spatial organization are controlled by transitional space .In addition to house, Controlling Aspects of Chan 1. Climatic control device 2. Functional control device 3. Transitional control device 4. User’s behavior control device 5. Public and Private control device 6. Extension control device 7. Spatial Organization control device This thesis intends to explore the transformation of traditional transitional space such as Thai traditional house and existing of public space of cities, The subject aims to establish and understanding of similarities differences according to scale of transitional space in architecture and urban scale.in term of typology, physical conditions, quality of spatial operation and variation of formation, by studying the nature of the city. Transitional space also suggest the relationship between space and meaning as well as representational and identity of social and cultural structure. So the important question about transition space is what are emergence of transition space in the new context like a dense city? “Dense city” is defined as population density above 200 persons per 10,000 square meter, the transformation of urban sprawl areas and increase population densities affecting to highly demanded of land is one of the main physical factors that lead to changes in residential environment. Case study shop house in Phahurat market, Bangkok, Shop house can be critiqued as lacking the necessary mixture of uses to create lively atmosphere. The lack of open spaces and loss of green space in residential areas have become problematic issue for high-density city. This articles aims to understand the gradual boundaries of public and private areas of the city. This gradation from public to private is clearly visible when overlaying the Controlling Aspects of transitional space. When we understands differentiation of transitional space. We can purpose new solution for an experimental design of public space. Thus we can begin to explore the possibility to recreation or reorganization of public space base on knowledge and key design principle of transitional space as controlling space to identify the physical elements that contribute to the livability of public and private space in high-density areas of the city in different social and cultural context.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectชานen_US
dc.subjectพื้นที่เชื่อมต่อที่ว่างen_US
dc.subjectพื้นที่ควบคุมen_US
dc.subjectพื้นที่สาธารณะen_US
dc.subjectเมืองที่มีความหนาแน่นสูงen_US
dc.subjectCHANen_US
dc.subjectTRANSITIONAL SPACEen_US
dc.subjectCONTROLLING SPACEen_US
dc.subjectPUBLIC SPACEen_US
dc.subjectDENSE CITYen_US
dc.titleพื้นที่เชื่อมต่อในฐานะพื้นที่ควบคุม การทดลองออกแบบพื้นที่สาธารณะของเมือง ที่มีความหนาแน่นสูงen_US
dc.title.alternativeTRANSITIONAL SPACE AS CONTROLLING SPACE: AN EXPERIMENTIAL DESIGN OF PUBLIC SPACE IN A DENSE CITYen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57054218 ศรัญพร ศรีอาภรณ์.pdf14.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.