Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/657
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสันธนาคร, พรพรรณ-
dc.contributor.authorSANTANAKORN, PORNPAN-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:32:29Z-
dc.date.available2017-08-31T02:32:29Z-
dc.date.issued2559-05-10-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/657-
dc.description54057202 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- พรพรรณ สันธนาครen_US
dc.description.abstractงานศึกษาวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงรูปแบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเรือนแถวที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากชาวจีนโดยศึกษาสำรวจข้อมูลทางกายภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณทางตัวเลข ซึ่งจะจำแนกประเด็นการศึกษาเป็น 3 ประเด็นดังนี้ 1.ศึกษาการเปลี่ยนแปลงกายภาพทางสถาปัตยกรรมโครงสร้างและส่วนประดับตกแต่ง 2.ศึกษาการใช้งานพื้นที่ภายในกิจกรรมที่ปรับเปลี่ยนไปตามยุคปัจจุบันที่มีความแตกต่างจากการใช้สอยดั้งเดิม 3.ศึกษากรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินที่เข้ามามีบทบาทหน้าที่ทำให้เรือนแถวเปลี่ยนบริบทและศักยภาพไปจากเดิม ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้งานแต่ละยุคสมัยจนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน โดยทำการศึกษาตัวอย่างเรือนแถวทั้งหมด 13 หลัง แบ่งออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ แบบที่ 1. เรือนแถวแบบจีนชั้นเดียว แบบที่ 2. เรือนแถวไม้ชั้นเดียว แบบที่ 3. เรือนแถวสองชั้นที่มีลักษณะการตกแต่งแบบจีน แบบจีนผสมยุโรป และแบบยุโรป ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้เรือนแถวเปลี่ยนแปลงกิจกรรมการใช้งานและลักษณะทางกายภาพคือการเจริญเติบโตของเมืองซึ่งส่งผลให้ตลาดรูปแบบเดิมถูกลดบทบาทความสำคัญลง เรือนแถวในย่านตลาดเดิมมีการปรับเปลี่ยนการใช้งาน รวมไปถึงการไม่สามารถหาวัสดุดั้งเดิมมาซ่อมแซมอาคารได้จึงทำให้ลักษณะทางกายภาพทรุดโทรมและกิจกรรมการใช้งานภายในเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังพบว่ากรรมสิทธิ์อาคารและการถูกทิ้งร้างมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคืออาคารที่มีการให้เช่ามีการใช้สอยมากกว่า และมีอัตราการทิ้งร้างตํ่ากว่าอาคารที่ไม่มีการให้เช่า แต่พบว่ามีสภาพทรุดโทรมกว่าอาคารที่เจ้าของดูแลเอง ในขณะเดียวกันอาคารที่ดูแลโดยเจ้าของมีสัดส่วนของการถูกทิ้งร้างมากกว่า แต่มีสภาพอาคารที่สมบูรณ์และได้รับการดูแลรักษามากกว่า ข้อสรุปนี้นำไปสู่ความท้าทายของการตั้งคำถามในการวิจัยในอนาคตต่อแนวทางการอนุรักษ์ระหว่างการอนุรักษ์ทางกายภาพและการยังคงความมีชีวิตและการใช้สอยภายในอาคารเอาไว้ Thesis is focused on the Influential Chinese Architectural of Shophouse study at Ubon Ratchathani oldest commercial community. It can be separated in three points of study from past to present. First, the physical changes of shophouse focusing on its architectural quality and elements. Second, the adaptability of the usage of shophouse. Third, types of land ownership. Thirteen units were selected to be the research case studies. They can be defined in 3 group of shop house 1.One story of shophouse with Chinese style 2.One story of wooden shophouse 3.Three stories of shophouse with Chinese style, Chinese-Europeans style and Europeans style The main changing factor of the studied shophouse is the urbanization of Ubon Ratchathani city. There it powerful impact to the physical and useable of shop house. They is changed the commercial community from past. Another challenge is the building maintenance; The shophouse cannot be renovated with original materials. The changing of ownership also effect the function and building usage.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectย่านการค้าเก่าen_US
dc.subjectตึกดินen_US
dc.subjectเรือนแถวแบบจีนen_US
dc.subjectเรือนแถวแบบยุโรปen_US
dc.subjectเรือนแถวไม้en_US
dc.subjectSHOPHOUSEen_US
dc.subjectUBONRATCHATHANIen_US
dc.subjectVERNACULAR ARCHITECTUREen_US
dc.titleเรือนแถวที่มีอิทธิพลจากชาวจีนในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativeSHOPHOUSE INFLUENCED BY THE CHINESE : CASE STUDY COMMERCIAL DISTRICT IN UBON RATCHATHANI CITY.en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54057202 ; พรพรรณ สันธนาคร .pdf54057202 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น -- พรพรรณ สันธนาคร15.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.