Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/668
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเกิดชัยภูมิ, ณัฐดนัย-
dc.contributor.authorKoetchaiyaphum, Nutdanai-
dc.date.accessioned2017-08-31T02:35:48Z-
dc.date.available2017-08-31T02:35:48Z-
dc.date.issued2559-07-28-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/668-
dc.description54054203 ; สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ณัฐดนัย เกิดชัยภูมิen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการลำดับต่อเนื่องของที่ว่างในงานสถาปัตยกรรม โดยมุ่งเน้นศึกษาหาความหมายของการลำดับต่อเนื่องของที่ว่าง เพื่อหาประเด็นของการลำดับต่อเนื่องของที่ว่าง การศึกษาทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวนั้น อาศัยวิธีการตั้งคำถามเบื้องต้นว่า การลำดับต่อเนื่องของที่ว่างมีความสำคัญอย่างไร มีความจำเป็นมากน้อยเพียงใดต่องานออกแบบสถาปัตยกรรม เราจะรับรู้ถึงการลำดับต่อเนื่องของที่ว่างนั้นได้อย่างไร งานออกแบบที่มีการลำดับต่อเนื่องของที่ว่าง และงานที่ขาดการลำดับต่อเนื่องของที่ว่าง จะมีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ผ่านการตั้งสมมติฐานที่ว่าเมื่อเคลื่อนที่ผ่านงานออกแบบที่ขาดการลำดับต่อเนื่องของที่ว่าง เราจะมีวิธีการเชื่อมโยงพื้นที่ว่างนั้นให้กลับมามีการรับรู้ถึงลำดับต่อเนื่องของที่ว่างได้ก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของพื้นที่ว่างนั้น กระบวนการศึกษาทำโดยทบทวนทฤษฏีจากบทความที่เกี่ยวข้อง และเลือกอาคารตัวอย่างเพื่อหาข้อแตกต่างของลำดับต่อเนื่องที่น่าสนใจเหล่านั้น มาเป็นกรอบในการกำหนดรายละเอียดการออกแบบ (Program) และสร้างเครื่องมือทดลอง ที่สามารถเชื่อมโยงลำดับต่อเนื่องของที่ว่างที่ขาดหายไป ตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการรับรู้ถึงลำดับต่อเนื่องขณะเคลื่อนผ่านลำดับของที่ว่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่าการลำดับต่อเนื่องมีส่วนสำคัญต่อการรับรู้ผ่านการเคลื่อนที่ที่ให้ความสำคัญเริ่มจากพื้นที่ภายนอกสู่พื้นที่ภายในเคลื่อนที่ตามระนาบผ่านเวลาและทิศทาง เมื่อทิศทางเปลี่ยนการรับรู้ก็จะเปลี่ยนตามพื้นที่ว่างนั้น และยังสามารถคาดเดาลำดับของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นต่อไปในที่ว่างได้ The objective of thesis is to study the sequence of space in architecture and its possible application for new design. The research focuses on the meaning of the sequence of spaces in order to find the continuity of space through the investigation on the significance and necessity of spatial/architectural design. Emphasis was made on perceptions between differential designs with or without spatial sequences and the way in which they could be applied for spatial composition. The process of this research is to review key relevant theories. Then, case studies o chosen buildings were selected and analyzed through a set of theoretical framework in order to define principal differences of spatial sequences of those buildings. The outcomes of this analysis were consequently become a framework for design criteria leading experimental design The results show that the spatial sequences are highly important for the user perception when moving from the outside to the inside through space, time, and direction. When some factors change, these will effect on perception which predictable sequences may occur.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectลำดับต่อเนื่องen_US
dc.subjectระยะทางen_US
dc.subjectเวลาen_US
dc.subjectทิศทางen_US
dc.subjectCONTINUOUS SEQUENCEen_US
dc.subjectDISTANCEen_US
dc.subjectTIMEen_US
dc.subjectDIRECTIONen_US
dc.titleลำดับต่อเนื่อง: การเปลี่ยนแปลงของระยะทาง เวลา และทิศทางen_US
dc.title.alternativeCONTINUOUS SEQUENCE: THE TRANSFORMATION OF DISTANCE, TIME AND DIRECTIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54054203 ณัฐดนัย เกิดชัยภูมิ.pdf5.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.