Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/678
Title: อุดมคติในการสร้างอนุสาวรีย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(พ.ศ. 2411-2453)
Other Titles: CHANGES IN IDEOLOGIES THROUGH THE CREATION OF MONUMENT DURING KING RAMA V ERA (1868 - 1910)
Authors: คุ้มโห้, ศิริวรรณ
KUMHO, SIRIWAN
Keywords: อนุสาวรีย์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ฮ่อ
เงี้ยว
พระบรมรูปทรงม้า
MOMUMENT
KING RAMA V
HAW
SHAN
KING RAMA V MONUMENT
Issue Date: 28-Aug-2558
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงอุดมคติการสร้างอนุสาวรีย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอันเนื่องจากการปฏิรูปการปกครองของประเทศ โดยศึกษาอนุสาวรีย์สำคัญ ๓ แห่ง คือ อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ อนุสาวรีย์พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดี และอนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า และมีคำถามว่า รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำเนินการอย่างไรในการสอดแทรกอุดมคติของรัฐใหม่ลงไปในการสร้างอนุสาวรีย์ จากการศึกษาทำให้พบว่า ในช่วงต้นรัชกาลที่การปฏิรูปยังคงดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป อนุสาวรีย์ส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นภายใต้อุดมคติแบบจารีตที่ยังคงผูกพันกับคติทางพระพุทธศาสนา แม้จะมีการใช้คำเรียกสิ่งก่อสร้างเพื่อการระลึกถึงผู้วายชนม์ว่า “อนุสาวรีย์” แทนคำว่า “เจดีย์” แล้วก็ตาม เช่น อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ อนุสาวรีย์ในสุสานหลวงวัดราชบพิธ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เมื่อนโยบายการปฏิรูปสยามและสร้างรัฐชาติเริ่มปรากฏเป็นรูปธรรมมากขึ้น อุดมคติในการสร้างอนุสาวรีย์จึงเปลี่ยนแปลงไป โดยอนุสาวรีย์แห่งแรกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อยกย่องวีรกรรมของบุคคลที่ไม่ใช่กษัตริย์หรือสมาชิกของราชวงศ์ คือ อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ อนุสาวรีย์แห่งที่ ๒ ที่สร้างขึ้นภายใต้แนวคิดยกย่อง “วีรบุรุษแห่งชาติ” เช่นกัน คือ อนุสาวรีย์พระยาราชฤทธานนท์พหลภักดีในปี พ.ศ. ๒๔๕๒ อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของข้าราชการผู้กล้าหาญที่ไม่ยอมยกอำนาจการปกครองให้พวกเงี้ยวจนถูกสังหารไปในที่สุด อนุสาวรีย์ที่สำคัญที่สุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ซึ่งเป็นพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งแรกที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ณ ใจกลางลานหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ เนื่องในโอกาสที่พระองค์เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ ๔๐ ปี This research question is about changes in state-ideologies through the creation of monument built in the reign of King Rama V (1869-1910), when an immense government reform was conducted. Examining three selective monuments built during this period: Monument of Suppression Haw of 1887, Monument of Phraya Ratcharitthanon Phahonpakdee of 1909, and King Rama V Monument of 1908, the focus is on the ways in which King Chulalongkorn’s administration inserted its new ideologies into the creation of the monuments. The result found is that in the early period of reformation, most of monuments were built according to Buddhist belief as traditionally done beforehand, although the use of the terms “Monument”, instead of “Chedi”, was introduced for the first time for a Monument of Queen Sunandha Kumariratana in Rathaborpit Temple. However, when the reforms, together with Nation Building programme, were more and more progressed, it was evidenced that monuments were built with new concepts. The first monument built to commemorate National Heroes, not monarch or members of royal families, was Monument of Suppression Haw. The second monument carried out under the same theme; that is to commemorate those who lost their live for the nation, was a monument of Phraya Ratcharitthanon Phahonpakdee, who was killed in the event of Shan Rebellion in 1902. Of all monuments built in the reign of King Chulalongkorn, the most significant was a monument of himself. Situated at the heart of royal plaza before Ananta Samakom Throne Hall, King Rama V Monument was the first public monument erected to celebrate the 40th anniversary of the king's reign.
Description: 53052209 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- ศิริวรรณ คุ้มโห้
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/678
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53052209 ; ศิริวรรณ คุ้มโห้ .pdf53052209 ; สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- ศิริวรรณ คุ้มโห้7.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.