Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/691
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ตันติ์จธัม, ธนภัทร | - |
dc.contributor.author | Tanjatham, Tanaphat | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T02:51:59Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T02:51:59Z | - |
dc.date.issued | 2559-04-26 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/691 | - |
dc.description | 57054222 : สาขาวิชาสถาปัตยกรรม -- ธนภัทร ตันติ์จธัม | en_US |
dc.description.abstract | มนุษย์สร้างสถาปัตยกรรมขึ้นเพื่อใช้พำนักพักอาศัย และป้องกันตนเองจากสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ และธรรมชาติต่างๆ ซึ่งสถาปัตยกรรมเหล่านั้นได้ถูกพัฒนา แต่งเติม ปรับปรุง และส่งผ่านไปยังรุ่นต่อๆมา แต่เนื่องจากปัจจัยด้านถิ่นฐานที่แตกต่างกันทำให้เกิดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นขึ้นทั่วไป เกิดเป็นรูปแบบที่แตกต่างโดยมิได้ตั้งใจ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศรุนแรง ต่อมาเกิดกระแสนิยมรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ขึ้น เช่น โมเดิร์น และโพสต์โมเดิร์น ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบสากลได้รับความนิยมกระจายไปทั่วโลก ทั้งนี้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศในที่นั้นๆเท่าที่ควร และทำให้อัตลักษณ์เดิมของพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามสถาปนิกบางท่านตั้งคำถามในการออกแบบให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างออกไป ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมร่วมสมัยซึ่งตอบสนองต่อภูมิอากาศในแต่ละที่ขึ้น โดยสามารถเห็นเป็นรูปธรรมในงานของเลอ คอร์บูซิเยร์ ในประเทศอินเดีย และงานของเกลนน์ เมอร์คัตต์ ในประเทศออสเตรเลีย ในการนี้จึงนำมาซึ่งการศึกษาเรื่อง การสื่อสารอัตลักษณ์ของภูมิอากาศ ผ่านรูปแบบ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม โดยเลือกภูมิภาคที่จะทำการศึกษา 3 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออกของประเทศไทย เพื่อความหลากหลายของสภาพภูมิอากาศ โดยมีพื้นที่ศึกษาที่เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร และหาดใหญ่ ตามลำดับ โดยเริ่มต้นการศึกษาอัตลักษณ์ที่เกิดขึ้นในเรือนพื้นถิ่น และแยกแยะอัตลักษณ์ที่เกิดจากเหตุผลทางภูมิอากาศ โครงสร้าง และสังคมออกจากกัน แล้วทำการสังเคราะห์เหตุผลทางภูมิอากาศ กับสถิติภูมิอากาศในรอบ 30 ปีของกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อออกแบบเครื่องมือทางสถาปัตยกรรมซึ่งมีโครงร่างของแนวความคิดดังนี้ ภาคเหนือ คือการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเพื่ออยู่ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในช่วงของวัน และฤดูกาล ภาคกลางคือการทำให้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมมีความพรุนเพื่อให้อากาศสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้มากที่สุด และภาคใต้ คือการแอบซ่อนการระบายอากาศอยู่ในการป้องกันฝน จากนั้นนำเครื่องมือที่ได้มาออกแบบโรงเรียนศิลปะซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใน 3 พื้นที่ดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นในกระบวนการออกแบบคือ การสลับไปมาระหว่างขั้วของกระบวนการสร้างอัตลักษณ์เพื่ออยู่ร่วมกับภูมิอากาศ และการออกแบบวิธีการอยู่ร่วมกับภูมิอากาศแล้วก่อให้เกิดอัตลักษณ์ แต่ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่สถาปัตยกรรมเรียกร้องนั่นก็คือ องค์ประกอบต่างๆที่เกิดขึ้นสามารถตอนสนองต่อภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดภาษาที่สามารถรับรู้ได้ ถึงแม้ว่าในภาพรวมแล้วภูมิอากาศในประเทศไทยจะคล้ายคลึงกัน แต่ความแตกต่างในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้องค์ประกอบของภาษาที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างกันHumankinds originally created and built architectures as accommodations to live in and to protect themselves from the environment and weather. Overtime, the knowledge and experiences in architectures have been developed, adjusted and transferred from generation to generation. The geographical and cultural variances have interestingly brought about various architectural languages; this results in the architectural appearance differences which can be found all around the world, all represent the uniqueness and identity from which they are originated. The variety of architectural languages can especially be found in locations that are in extreme climates. When the modern and post-modern architectural styles came around and dramatically spread around the world, more and more people started to adopt the new architectural designs even though they may not be suitable for all climate types, and the traditional vernacular architecture popularity began to slowly fade away. The loss in architectural adaptiveness to regional climates and its importance has raised attentions amongst several architects, two of which are Le Corbusier and Glenn Marcutt, whose works can respectively be found in many places in India and Australia. These two individuals shared their passions in the contemporary architectural designs that respond to regional climates. Their works have evoked researches and studies in Thailand with regards to the expression of climate’s identity through architectural languages and elements. The projects were broken down into 3 focus groups; each separately studied 3 specific Thailand regions that are vastly different in climates: the northern region, Chiangmai, the central region, Bangkok, and the southern region, Hatyai. The main objectives were to analyze the symbolic system of vernacular architectures concerning 3 variables: the climatic, the traditional and the structural variables, and to understand their influences in originating the architectural identity. The focus groups used the National Weather Service’s existing climatic data and statistics to define conceptual frameworks which consist of the followings: north-adaptable, central-thru and south-conceal. They then developed architectural tools to build 3 art schools in each of those regions. In the process of developing and designing, it was established that there is a distinct key in the creation of the architectural identities to adapt to regional climates, and the transformation of the human’s life styles which also create such identities. Even though the overall climates in Thailand are close to one another, the smallest alterations in climates can lead to different expressions in the architectural world. All of these fundamental architectural design and living adaptations occur to efficiently correspond to the differences in nature, and naturally create architectural languages and elements by which all of us can acknowledge. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ถาปัตยกรรม | en_US |
dc.subject | ภูมิอากาศ | en_US |
dc.subject | การสื่อสาร | en_US |
dc.subject | อัตลักษณ์ | en_US |
dc.subject | ARCHITECTURE | en_US |
dc.subject | CLIMATE | en_US |
dc.subject | EXPRESSION | en_US |
dc.subject | IDENTITY | en_US |
dc.title | การสื่อสารอัตลักษณ์ของภูมิอากาศ: ผ่านภาษา และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม | en_US |
dc.title.alternative | CLIMATE IN ARCHITECTURE: ARCHITECTURAL TRANSMISSION AND CONFIGURATIONS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Architecture |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57054222 ธนภัทร ตันติ์จธัม.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.