Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวิริยะ, ภาริฉัตร-
dc.contributor.authorWiriya, Pharichat-
dc.date.accessioned2017-08-31T03:06:21Z-
dc.date.available2017-08-31T03:06:21Z-
dc.date.issued2559-08-01-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/716-
dc.description54060205 ; หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- ภาริฉัตร วิริยะen_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาวิธีการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของถนนธนะรัชต์ที่เป็นพื้นที่ป่า (2)ประเมินคุณค่าเชิงทัศน์ที่เห็นได้จากบริเวณถนนธนะรัชต์ ระยะทางการศึกษา กิโลเมตรที่ 1-24 (3)เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพภูมิทัศน์ให้มีความเหมาะสมกับการเป็นเส้นทางหลักในการเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อันเป็นผืนป่ามรดกโลก การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ตามวิธี Visual Resource Management (VRM) ที่พัฒนาโดยหน่วยงาน Bureau of Land Management (BLM) โดยการประเมินด้วยผู้วิจัยเองในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบสิ่งแวดล้อม และนำผลของคุณภาพเชิงทัศน์ที่ได้เปรียบเทียบกับผลของการใช้แบบสอบถามประกอบภาพถ่ายที่แสดงมุมมองของทิวทัศน์ที่สามารถมองเห็นได้จากสองข้างทางของถนนธนะรัชต์เมื่อเคลื่อนที่ผ่านไป ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลที่ได้จากทั้ง 2 วิธีนั้นพบว่า คุณภาพเชิงทัศน์ที่ได้จากแบบสอบถามนั้นอยู่ในเกณฑ์เฉยๆ ถึงสวย และผลโดยรวมของคุณภาพเชิงทัศน์ในแต่ละหน่วยพื้นที่มีแบบแผนใกล้เคียงกับคุณภาพเชิงทัศน์ที่ได้จากเกณฑ์ของ BLM แต่ในฐานะของการเป็นถนนหลักเพื่อเข้าสู่พื้นที่มรดกโลกนั้น ผลคุณภาพเชิงทัศน์ในระดับนี้ ควรต้องได้รับการปรับปรุงด้วยวิธีที่เหมาะสม ข้อสรุปและการเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของถนนธนะรัชต์ มีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ การรักษาธรรมชาติสร้างความกลมกลืนกับภูมิประเทศที่เป็นป่าไม้ จัดระเบียบการรบกวนแทรกแซงจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เสริมสร้างปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ถนน เช่น การสร้างร่มเงา ลดแสงจ้า การบังสายตา และการนำสายตา และ การสร้างสุนทรียภาพในการใช้เส้นทาง โดยใช้หลักในการจัดองค์ประกอบทางศิลปะเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงามน่าประทับใจ ก็จะทำให้ทัศนียภาพที่มองเห็นได้จากถนนธนะรัชต์มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น The objectives of this research were (1) to study visual assessment method which was suitable for Thanarat road. (2) to study the visual quality of scenes while moving through Thanarat road (3) to recommend the improvement of visual quality viewing from the road which was the Khaoyai National Park’s approach. The research was carried out using Visual Resource Management (VRM) method rating scores criteria of scenic quality developed by Bureau of Land Management (BLM), compared with the assessment conducted by an interview to assess its scenic quality via questionnaires based on 30 photographs representing all 12 units of the whole view from the road. For the improvement of visual quality of Thanarat road, the result of both methods was shown that its scenery was rated between ‚so so‛ to ‚beautiful‛. However, considering the site is a World Natural Heritage, the beauty of its scenery should be higher. The improvement of visual quality maybe achieved by vegetation screening, function of traffic, control of man-made structures and road side parking. In addition, application of art composition to landscape with low scenic quality areas, should help increasing their scenic quality.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ของถนนen_US
dc.subjectแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเชิงทัศน์ของถนนen_US
dc.subjectROAD VISUAL ASSESSMENTen_US
dc.subjectVISUAL QUALITY IMPROVEMENTen_US
dc.titleการประเมินคุณภาพเชิงทัศน์ของถนนธนะรัชต์ – อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (ทางหลวงหมายเลข 2090) กิโลเมตรที่ 1-24en_US
dc.title.alternativeKHAOYAI NATIONAL PARK’S APPROACH ROUTE VISUAL ASSESSMENT CASE STUDY THANARAT ROAD (HIGHWAY 2090) KM.1-24en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Architecture

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54060205 ภาริฉัตร วิริยะ.pdf24.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.