Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/745
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | ธโนปจัย, เฉลิมพันธ์ | - |
dc.contributor.author | Tanopajai, Chalermpan | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T03:23:42Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T03:23:42Z | - |
dc.date.issued | 2559-01-08 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/745 | - |
dc.description | 54151302 ; สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ -- เฉลิมพันธ์ ธโนปจัย | en_US |
dc.description.abstract | ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งอาหารและพืชผักผลไม้ ผลไม้ไทยหลายชนิดเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวไทยและต่างประเทศ แต่ผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังขาดความเข้าใจ โดยเฉพาะในส่วนของวิธีการบริโภคผลไม้ จึงทำให้เกิดงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น โดยในแอปพลิเคชั่นนี้เลือกผลไม้ไทยที่นิยมในการส่งออก และเป็นที่นิยมรับประทานในประเทศมา 8 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มะพร้าว มะม่วง เงาะ ขนุน สับปะรด มังคุด และส้มโอ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างแอปพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา (Mobile Application) แนะนำการบริโภคผลไม้ไทยให้กับผู้ที่สนใจ โดยเฉพาะผู้บริโภคชาวต่างชาติ 2. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลไม้ไทยมากขึ้น วิธีการวิจัย คือ รวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับผลไม้ไทย และข้อมูลการออกแบบแอปพลิเคชั่น ข้อมูลจากบุคคลจากการสังเกต พูดคุยกับร้านขายผลไม้ในตลาดต่างๆในกรุงเทพมหานคร และผู้เชี่ยวชาญการออกแบบโมบายแอปพลิเคชั่น ข้อมูลจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปรูปแบบการออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำผลไม้ไทยที่เหมาะสม เบื้องต้นผู้วิจัยได้ทำการออกแบบการใช้งานของแอปพลิเคชั่นให้ผู้เชี่ยวชาญดู นำข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงวิธีการนำเสนอข้อมูล นำมาทดสอบการใช้งานกับผู้ใช้งานจริง ปรับปรุงแก้ไข หลังจากนั้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแอปพลิเคชั่น และผู้เชี่ยวชาญด้านเลขนศิลป์ทดสอบ และวิจารณ์เพื่อปรับปรุงรูปแบบ และนำข้อเสนอแนะมาพัฒนาผลงาน จากนั้นนำงานออกแบบ และแบบสอบถามไปประเมินผลวัดระดับความพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ใช้งานโมบายแอปพลิเคชั่น และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 120 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการออกแบบเลขนศิลป์และแนวทางการออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำผลไม้ไทยนี้ ผลงานการออกแบบมีความเหมาะสมของอักษรที่ใช้ (font) ของการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ (Composition) ภาพประกอบ (Illustration) ที่ใช้ และ เลือกใช้สี (color) ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การนำเสนอควรสื่อความหมายเข้าใจได้โดยง่าย การจัดลำดับเนื้อหาที่นำเสนอ แบ่งหมวดหมู่เนื้อหาให้ชัด เพิ่มความต่อเนื่องของเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาควรเชื่อมโยงกัน โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในการใช้งานอยู่ในระดับพึงพอใจ ชนิดผลไม้ ผู้ใช้งานให้ระดับความคิดเห็นมีค่าเฉลี่ยในระดับพึงพอใจ งานออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำผลไม้ไทยครั้งนี้ รูปแบบการนำเสนอ และวิธีการใช้งาน จะส่งผลต่อความสนใจของผู้ใช้งาน ส่งผลให้ผู้ใช้งานและชาวต่างชาติสนใจผลไม้ไทยมากขึ้น เป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับผลไม้ไทยได้ Thailand has plenty of fruits and vegetables. Many kind of Thai fruits are tasty and favorite dish of Thais and foreigners. However, many consumers especially foreigners do not know how to peel and eat Thai fruits. Then this research has been done to educate with mobile application technology by choosing 8 popular Thai fruits which are durian, coconut, mango, rambutan, jackfruit, pineapple, mangosteen and pomelo. The objectives of this research are: 1. To create an application on smartphone or mobile devices (mobile application) to introduce Thai fruits to consumers especially foreigners. 2. To create good image of Thai fruits worldwide via this application as a public relation tool since it can reach directly to consumers at any time anywhere. Research method: 1. Data gathering: collecting information from documents and supporting knowledge related to Thai fruits from various sources e.g. interviewing with Thai fruit sellers in the markets, study the Researches related to Thai fruits and get the conclusions. 2. Study how to create mobile application from website, mobile application designer and expertise. 3. To design the framework and function of basic application and present to specialists in order to seek for recommendations and revision. 4. Testing with user in order to get feedback via questionnaires to assess the satisfaction from local users and tourists, totaling 120 samples. Results of this research: Design, font style, font size are suitable for the application. Artwork, composition, illustration, color are compatible. Overall, samples are satisfied with the application. Suggestion from user: To organize contents and category in order to create the continuity of presentation of each section. To have a linkage of page via special gimmick design buttons align with the content. Conclusion: The average results of 8 selected fruits are similar whilst the design, presentation style and how to use application are major factors on the interest of user. Hence, we can apply this application to other kinds of fruits. With this easy and user friendly application, it can introduce Thai fruits to public will help supporting better interesting and promote Thai fruits and being another tool to boost up our export volume and economic if our Thai tropical fruits are well known in the international markets. | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | โมบายแอปพลิเคชั่น | en_US |
dc.subject | ผลไม้ไทย | en_US |
dc.subject | MOBILE APPLICATION | en_US |
dc.subject | THAI FRUITS | en_US |
dc.title | การออกแบบแอปพลิเคชั่นเพื่อแนะนำการบริโภคผลไม้ไทย | en_US |
dc.title.alternative | DIGITAL CONTENT DESIGN FOR TEACHING HOW TO CONSUME THAI TROPICAL FRUITS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Decorative Arts |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54151302 เฉลิมพันธ์ ธโนปจัย.pdf | 3.72 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.