Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/834
Title: | การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยางรถยนต์แผนกดันยาง กรณีศึกษา: บริษัทผลิตยางรถยนต์เรเดียล |
Other Titles: | LOSS REDUCTION PROCESS OF TIRE COMPONENT OF EXTRUDER SECTION A CASE STUDY OF RADIAL TIRE MANUFACTURE |
Authors: | บุญฤทธิ์, ลัดดาวัลย์ Boonyarid, Laddawan |
Keywords: | กระบวนการดันยาง การวิเคราะห์กระบวนการ เทคนิค IE การออกแบบการทดลอง EXTRUSION PROCESS PROCESS ANALYSIS IE TECHNIC DESIGN OF EXPERIMENT |
Issue Date: | 1-Aug-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือการลดความสูญเสียในกระบวนการดันยาง จากข้อมูลเบื้องต้นของโรรงานตัวอย่างพบว่าผลิตภัณฑ์ไหล่ยาง (Shoulder) รุ่นการผลิต A มีปริมาณของเสียรวมมากที่สุด คือ 17.23% จากสาเหตุหลักคือชิ้นงานไหล่ยาง (Shoulder) น้ำหนักของชิ้นงานไม่ตรงตามข้อกำหนด 12.04% คิดเป็นมูลค่า 312,178 บาทต่อเดือน ซึ่งของเสีย (Rework) จะถูกจัดเก็บเพื่อนำไปทำการผสมใหม่และนำมาใช้งานอีกครั้ง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและส่งผลกระทบต่อด้านคุณภาพของชิ้นงาน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ การลดปริมาณของเสียและงานซ่อม (Rework and scrap) ของชิ้นงานไหล่ยาง (Shoulder) จากสาเหตุน้ำหนักของชิ้นงานไม่ตรงตามข้อกำหนดโดยใช้การวิเคราะห์จากกระบวนการ การออกแบบการทดลอง และการปรับปรุงกระบวนการผลิต โดยในการวิเคราะห์กระบวนการถูกแบ่งออกเป็น 3 กระบวนการคือ การป้อนยางคอมปาวน์เข้าหัวดัน การบดยางภายในหัวดัน และการดันยางออกจากหัวดัน เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อน้ำหนักของชิ้นงานไม่ตรงตามข้อกำหนดและหาสภาวะที่เหมาะสม ผลการศึกษาพบว่า ค่าความหนืดของยางคอมปาวน์ มีความสัมพันธ์กับความเร็วสายพาน ( ค่าความหนืดของคอมปาวน์สูง ต้องใช้ความเร็วสายพานเพิ่มขึ้น) โดยศึกษาในช่วงค่า Mooney 47 – 53 ต้องใช้ความเร็วสายพาน 18.5 ถึง 19.2 m/min หลังจากการศึกษาพบว่ายาง Rework ลดลงจาก 12.04 % เป็น 4.25% คิดเป็นมูลค่าที่ลดได้ 193,282 บาทต่อเดือน The purpose of this research is to reduce the loss at the extrusion process of the sample factory. From the data of the factory, we found that the shoulder product of tire model A had the largest amount of no good products, 17.23%. The major cause was the weight out of specification, 12.04%. It accounted for 312,178 baht per mount of factory’s cost. These rejected products were stored for returning to the mixing process. As a result, the higher cost and lower quality products were incurred. Accordingly, the objective of this study is to decrease the amount rework and scrap of shoulder products in the case of the weight out of specification by using process analysis, design of experiment, and process improvement. In the process analysis, it was divided into 3 sub-processes : rubber compound feeding, mixing and melting process, and extruding process. |
Description: | 57405309 ; สาขาการจัดการงานวิศวกรรม -- ลัดดาวัลย์ บุญฤทธิ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/834 |
Appears in Collections: | Engineering and Industrial Technology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
57405309 นางสาวลัดดาวัลย์ บุญฤทธิ์.pdf | 6.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.