Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/884
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีสด, พงษ์พิสุทธิ์-
dc.contributor.authorSrisod, Pongpisut-
dc.date.accessioned2017-08-31T03:59:49Z-
dc.date.available2017-08-31T03:59:49Z-
dc.date.issued2560-01-13-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/884-
dc.description57156318 ; สาขาวิชาศิลปะการออกแบบ -- พงษ์พิสุทธิ์ ศรีสดen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้คนทั่วไปได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของแมวไทย เนื่องจากแมวไทยเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาตั้งแต่โบราณ แมวไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แตกต่างจากแมวสายพันธุ์อื่น และเป็นที่รู้จักและยอมรับในระดับนานาชาติ น่าเสียดายที่แมวสายพันธุ์ไทยที่เคยมีถึง 17 สายพันธุ์ซึ่งได้บันทึกไว้ในตำราสมุดข่อยได้สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 12 สายพันธุ์ เหลืออยู่เพียง 5 สายพันธุ์เท่านั้นในปัจจุบัน หากละเลย ไม่ให้ความสำคัญ แมวไทยก็จะสูญพันธุ์และสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย สำหรับระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแมวไทยและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยใช้การผสม ผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กับ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งหาข้อมูลเกี่ยวกับแมวไทยอย่างครบถ้วนและรอบด้านด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับนักอนุรักษ์แมวไทยและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิด (Participant Observation) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้นได้ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อประมวลผลประกอบการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่จะออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การนำผลจากการวิจัยดังกล่าวมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานโดยการบูรณาการระหว่างองค์ความรู้ด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Arts) กับกระบวนการทำเครื่องเคลือบดินเผา (Ceramics) เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันและของที่ระลึกขนาดเล็ก (Small Souvenir) จะมีส่วนช่วยให้ประชาชนทั่วไปรู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของสายพันธุ์แมวไทยที่ยังคงเหลืออยู่ทั้ง 5 สายพันธุ์ และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงคู่บ้านคนไทยที่เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ต่อไปนานเท่านาน The objective of the research is to design and create artifacts that motivate the public to recognize the value of Siamese cat. Having cats in the house have been Thai way of life for a long time. Siamese cats, have their own unique identities though they shared common qualifications of the other felines. Specific kinds of Siamese cat are internationally well-known. Accordingly, 17 kinds of Siamese cat have been recorded on ancient pulp book, where only five survived. The combination of qualitative and quantitative research methodology has been deployed to collect and gather all information and data. For qualitative research, in-depth Interview and participant observation are tools in order to collect comprehensive information about Siamese cat while the satisfactory of specific products are gathered via questionnaires upon the quantitative research. The finished products are the integration of expertise knowledge on visual communication arts and ceramics that designed and created, which based on the processed and compiled data. They are daily life products for example: coffee set, screened T-shirt, scarf, and tote. Hopefully, these small utensils with Siamese cat identities would serve as reminders for people to realize the value of Siamese cat and encourage them to be parts of the conservation of Thai heritage through the Siamese cat.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectแมวไทยen_US
dc.subjectสื่ออัตลักษณ์en_US
dc.subjectอนุรักษ์en_US
dc.subjectSIAMESE CATen_US
dc.subjectIDENTITY MEDIA DESIGNen_US
dc.subjectCONSERVATIONen_US
dc.titleการออกแบบสื่ออัตลักษณ์แมวไทยเพื่อการเผยแพร่en_US
dc.title.alternativeSIAMESE CAT'S CORPORATE IDENTITY DESIGN AS PUBLIC KNOWLEDGE MEDIA DISTRIBUTIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Decorative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57156318 พงษ์พิสุทธิ์ ศรีสด.pdf6.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.