Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/901
Title: | การจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน |
Other Titles: | NAN’S TEEN JOK HANDICRAFTS KNOWLEDGE MANAGEMENT |
Authors: | ประดิษฐพงษ์, อรรถพงษ์ PRADITPONG, ATTAPONG |
Keywords: | ผ้าตีนจก น่าน การจัดการความรู้ TEEN JOK HANDICRAFTS NAN KNOWLEDGE MANAGEMENT |
Issue Date: | 29-Sep-2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยศิลปากร |
Abstract: | การศึกษาเรื่องการจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน พบว่าปัจจุบันวัฒนธรรมการทอผ้าและการใช้สอยผ้าของชาวน่านเปลี่ยนแปลงไปอย่างขาดความเข้าใจ ทำให้รูปแบบดั้งเดิมของผ้าตีนจกเมืองน่านเริ่มสูญหายไป ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษาค้นคว้าหาความรู้ และรูปแบบดั้งเดิมของผ้าตีนจกเมืองน่านให้คืนมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมความรู้ ภูมิปัญญาผ้าตีนจกเมืองน่าน และเสนอแนวทางในการจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน ใช้วิธีการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนประกอบจากข้อมูลวัตถุพิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ประเภทผ้าตีนจกเมืองน่าน ที่ทอและใช้สอยอยู่ในช่วง ก่อน พ.ศ. 2401 ถึง พ.ศ. 2500 ซึ่งพบในพื้นที่เมืองน่าน จำนวน 40 ผืน และนำการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน มาใช้บริหารจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่านผ่านเอกสารเผยแพร่ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 19 คน ที่มีประสบการณ์ในการทอผ้าเพื่อใช้ในครัวเรือนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ด้วยตารางสำเร็จรูปของ Wanlop ที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 จากช่างทอผ้าบ้านม่วงใหม่ ตำบลนาปัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามความคิดเห็น เอกสารเผยแพร่ความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจเรื่องผ้าตีนจกเมืองน่าน ทดสอบคุณภาพเครื่องมือโดยการทดสอบความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้มาตรวัดแบบร้อยละ Rating scale ค่าพิสัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผ้าตีนจกเมืองน่านที่ใช้ในการศึกษามีรูปแบบร่วมกันทั้งหมด 7 รูปแบบ คือ โครงสร้าง วัสดุ เทคนิค ลวดลาย สี การเย็บต่อตะเข็บ และจำนวนผืนผ้าที่เย็บประกอบ สามารถจำแนกประเภทข้อมูลได้ 2 หมวดหมู่ คือ 1) ช่วงระยะเวลาการทอและการใช้สอยผ้า 4 ช่วงระยะเวลา ซึ่งพบว่าไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบผ้าตีนจกเมืองน่าน 2) แหล่งที่พบผ้า 6 แหล่งในเขตอำเภอเมือง อำเภอท่าวังผา อำเภอภูเพียง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย และอำเภอนาหมื่น กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 73.68 ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องผ้าตีนจกเมืองน่าน โดยต้องการให้มีการจัดการความรู้ผ้าตีนจกเมืองน่าน และร้อยละ 57.89 ต้องการเรียนรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่านผ่านเอกสารเผยแพร่ความรู้ที่ได้พิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญจึงนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พบว่าพึงพอใจในเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่านในภาพรวมระดับมากที่สุด ( = 4.47) 20 จาก 25 หัวข้อ โดยได้รับความรู้เรื่องโครงสร้างส่วนประกอบสำคัญของผ้าตีนจกเมืองน่านในคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.89) และเอกสารเผยแพร่ความรู้เรื่องผ้าตีนจกเมืองน่านเป็นเอกสารที่รวบรวมข้อมูลได้ละเอียด อ่านและเข้าใจง่าย มีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ สามารถนำไปใช้ในการทอผ้าขึ้นมาใหม่ในอนาคต และถ่ายทอดความรู้แก่บุคคลรุ่นหลัง เพื่ออนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาต่อไป From the study of Nan’s Teen Jok handicrafts knowledge management, it was found that the Nan culture of weaving and fabric utilization has changed, resulting to insufficient knowledge and understanding. Traditional pattern of Teem Jok handicrafts in Nan has disappeared. Therefore, it is important to study, explore, and restore knowledge and traditional pattern of Nan’s Teen Jok handicrafts. The objective of this study was to conduct Nan’s Teen Jok handicrafts knowledge management. Data were collected from materials data of Bank of Thailand Museum, Northern Region Office. The researcher gathered data of 40 pieces of Nan’s Teen Jok which were woven and utilized before 1858 to 1957. Then data were brought for knowledge management in 7 processes for systematic management. Nan’s Teen Jok knowledge was published through documents to a target group of 19 individuals with at least 10 years of household weaving experiences. The sample was handicraftsmen at Ban Mungmai, Napang Subdistrict, Phu Pieng District, Nan Province. The purposive sampling was used to select the samples. The sample size was determined based on Wanlop’s table with confidence level of 95%. The research instruments were the questionnaires, publishing documents, satisfaction survey on Nan’s Teen Jok handicrafts. The quality of the instruments were tested by reliability and validity analysis. Data were analyzed through rating scale, range, mean and standard deviation. The results of this study showed that there were 7 models of Nan’s Teen Jok handicrafts in this study: structure, materials, technique, pattern, color, seam sewing, and number of fabric pieces sewn assembly. Data were divided into two categories: 1) 4 periods before Teen Jok weaving and utilization. These periods did not influence the changes in patterns of Nan’s Teen Jok. 2) There were 6 sources of Nan’s Teen Jok including Mueang, Tha Wang Pha, Phu Wiang, Wiang Sa, Na Noi, and Na Muen. 73. 68% of the samples had no understandings of Nan’s Teen Jok handicrafts. They required Nan’s Teen Jok handicrafts knowledge management. 57.89% of the samples required learning Nan’s Teen Jok handicrafts through publishing documents considered by experts. Overall satisfaction with Teen Jok publishing documents was at highest level ( = 4.47). For 20 of 25 items, Teen Jok structure and important components had the highest mean score ( = 4.89). Nan’s Teen Jok handicrafts publishing documents collected detailed information and provided simple and easy-to read information and practical benefits in terms of making new weaving in the future and conveying knowledge to the next generations to conserve local wisdom. |
Description: | 54112311 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์ |
URI: | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/901 |
Appears in Collections: | Archaeology |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54112311 อรรถพงษ์ ประดิษฐพงษ์.pdf | 56.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.