Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/904
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุณยาดิศัย, สุธิดา-
dc.contributor.authorBUNYADISAI, SUTIDA-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:05:47Z-
dc.date.available2017-08-31T04:05:47Z-
dc.date.issued59-12-22-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/904-
dc.description54112309 ; สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม -- สุธิดา บุณยาดิศัยen_US
dc.description.abstractงานฉบับนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการลงพื้นที่ชุมชน สำรวจ สังเกตการณ์และสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ชาวนาบ้านปากประที่ทำนาในทะเลสาบและหน่วยงานที่เกี่ยวเนื่องให้เข้าใจ ภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประ และเสนอแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาอย่างยั่งยืน บ้านปากประเป็นชุมชนชาวนาเก่าแก่ตั้งอยู่ที่ปากคลองปากประ บริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน การทำนาในอดีตอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก หากปีใดฝนไม่ตกตามฤดูกาลจะส่งผลให้นาข้าวเสียหายได้ผลผลิตไม่เพียงพอ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ชาวนาจึงได้ทดลองหว่านข้าวในทะเลสาบซึ่งมีลักษณะเป็นดินโคลน ในแต่ละรอบปีน้ำทะเลจะลดระดับลงติดต่อกันประมาณ 4-5 เดือน คือ ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม พอเหมาะกับการเจริญเติบโตของ ต้นข้าวพอดีและต้นข้าวก็เจริญงอกงามดี จึงได้สืบทอดการทำนาในทะเลสาบหรือที่เรียกว่า “นาในเล” มาถึงปัจจุบันพัฒนาการการทำนาในทะเลสาบสงขลาสามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ 1) ช่วงเริ่มแรก พ.ศ. 2470-2530 เป็นการทำนาแบบดั้งเดิมอาศัยแรงงานคนและเครื่องมือ อุปกรณ์อย่างง่าย และใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ 2) ช่วงซบเซา พ.ศ. 2531-2555 การทำนาในทะเลสาบลดลง พื้นที่นาร้างมีจำนวนมาก เนื่องจากชาวนาเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น และไม่ปรากฏการใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นอีก และ 3) ช่วงฟื้นฟู พ.ศ. 2556-2558 การทำนาในทะเลสาบเริ่มได้รับการฟื้นฟูขึ้น อันเนื่องมาจากความสนใจจากสื่อโซเชียลมีเดีย รายการโทรทัศน์ และการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จึงเริ่มเกิดความตื่นตัวในการสืบสานการทำนาในทะเลสาบอีกครั้ง ศักยภาพและความโดดเด่นของภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประประกอบด้วยฐานสำคัญ 3 ด้าน คือ 1) สภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่ตอนบนสุดของพื้นที่น้ำกร่อยและในช่วงต้นฤดูฝน (เดือนมิถุนายน-กันยายน) น้ำจืดจะไหลบ่าจากคลองปากประทำให้น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งบ้านปากประเป็นน้ำจืด ประกอบกับดินที่เกิดจากการพัดพาตะกอนจากคลื่นลมทะเลทำให้อุดมไปด้วยสารอินทรีย์ธาตุอาหารพืช และมีความร่วนซุยเช่นเดียวกับดินที่ผ่านการไถดะเตรียมไว้สำหรับหว่านดำ นอกจากนี้การขึ้นลงของกระแสเค็มน้ำยังช่วยพัดพาและย่อยสลายซังข้าวหลังการเก็บเกี่ยว เป็นการชำระล้างและบำรุงหน้าดินตามธรรมชาติ ชาวนาจึงไม่ต้องเตรียมดินก่อนการเพาะปลูกและ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยบำรุงรักษาต้นข้าวดังเช่นการทำนาในพื้นที่ปกติ 2) ชาวนามีการสั่งสมองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำนาและเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของชุมชนเป็นอย่างดี สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และ 3) ผลผลิตปลอดสารพิษ เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของดินจึงไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีบำรุงใดๆ กระนั้น ถึงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาจะเริ่มมีการฟื้นตัวการทำนาในทะเลสาบขึ้นบ้างแล้วก็ตาม แต่ยังไม่เท่าในช่วงอดีตที่เดิมมีพื้นที่ทำนาในทะเลสาบยาวถึง 6 กิโลเมตร แต่ในปัจจุบันพื้นที่ทำนาเหลือเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น อีกทั้งปัญหาชาวนาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งมีแนวโน้มที่จะขาดผู้สืบทอด ดังนั้น แนวทางการสืบสานภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบนี้จึงควรเริ่มต้นด้วยการรวมกลุ่มชาวนาที่ทำนาในทะเลสาบอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่ การดำเนินการอื่นๆ ต่อไป อาทิ การส่งเสริมให้เกิดการรวบรวมข้อมูล ศึกษา ค้นคว้า และเผยแพร่ภูมิปัญญา การผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวอินทรีย์ของชุมชน และการเชื่อมโยงจุดท่องเที่ยวทางนิเวศวัฒนธรรมกับพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น ซึ่ง การดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่องนี้ จะส่งผลให้คนในชุมชนทุกช่วงวัยเกิดความตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของมรดกภูมิปัญญาของชุมชนและนำไปสู่การสืบสานภูมิปัญญาอย่างมั่นคงยั่งยืนต่อไป This study was a qualitative research. The objective of this research was to study the wisdom of farming in the lake, Ban Pak-Pra Community, Lampam Subdistrict, Mueang, District, Phatthalung Province. Primary data were collected through conducting field study, survey, observation, and interview of involving people including local farmers in Ban Pak-Pra Community and involving agencies. The findings of this study would be beneficial in terms of educating the wisdom of farming in the lake, Ban Pak-Pra Community and providing suggestions for inheriting the wisdom of farming in the study area in sustainable manner. Ban Pak-Pra is an ancient community of farmers located at mouth of a Pak-Pra canal, upper area of Songkhla Lake. Historically, farming mainly depended on rainfall. If rainfall fluctuated that did not follow the usual season in some year, rice fields were negatively affected, resulting in low and insufficient productivity. To address this issue, the farmers have tried to sow rice in the lake where muddy soil contains. Sea level has receded consecutively throughout 4-5 months; from June to October. This is consistent with the growth period of rice crops. It appeared that the rice crop grown in coastal lakes grew very well. This is also called “Farming in the lake”. Until now, it takes more than a century of this farming practice in the community. There were three phases of its development: 1) At initial period of 1927-1987; local farmers conducted traditional farming practice by depending on labor and simple equipment and devices, native rice varieties. 2) At recession period of 1988-2012, the rice farming in the lake reduced. Many deserted rice fields were found because local farmers shifted to other jobs. The use of native rice varieties was unapparent. 3) At restoring period of 2013-2015, media, social media and television programs pay their attention to the rice farming in the lake. Besides, promotion of eco-tourism partly was the driving force for more awareness of inheriting this rice farming practice. The farming community in lake of Ban Pak-Pra Community has the unique style due to three areas: 1) geography contributing to the farming in the lake. The area is located at the top of brackish water area. Since during June-September is an early rainy season, freshwater flows from Pak-Pra canal, resulting in sea water in inshore area becomes freshwater. Besides, the blow of soil-borne sediment and beach sediment by wave action makes the soil rich in organic elements, makes the soil incoherent as if the soil prepared for sowing and plowing. Moreover, the rise and fall in saltwater helps blow and decompose rice straw after harvesting to naturally cleanse and nourish the soil. Therefore, farmers could reduce the steps to prepare the soil and rice plant maintenance. 2) farmers have accumulated body of knowledge of farming and understanding of natural environment at the community very well. 3) products are non-toxic because the soil is fertile, chemical fertilizer does not required. Presently, the rice farming in the lake reduced, has 3 km in this area, but there use to has 6 km of farm in the past. Most of local farmers are those aged over 50 years. It is more likely that they lack their successors. Therefore, the guidelines to inherit the wisdom of farming should begin with local people’s practice, concrete grouping of local farmers in order to other actions such as promotion to gather, explore, and publish related data, the production of organic rice at the community, linking eco-cultural tourism attraction with an neighborhood areas, etc. The activities on the wisdom should be held continually to promote local people’s awareness of value and importance of local wisdom and heritage of the community, leading to sustainable wisdom inheritance.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectภูมิปัญญาen_US
dc.subjectนาในทะเลสาบen_US
dc.subjectบ้านปากประen_US
dc.subjectFOLK WISDOMen_US
dc.subjectLAKE FARMINGen_US
dc.subjectBAN PAK-PRAen_US
dc.titleภูมิปัญญาการทำนาในทะเลสาบของชุมชนบ้านปากประ ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุงen_US
dc.title.alternativeFOLK WISDOM AS LAKE FARMING IN BAN PAK-PRA TAMBON LAMPAM, AMPHOE MUEANG, PHATTHALUNG PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54112309 สุธิดา บุณยาดิศัย.pdf5.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.