Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/914
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรศิริวงศ์, ภวิสาณัชช์-
dc.contributor.authorSornsiriwong, Phawisanath-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:08:35Z-
dc.date.available2017-08-31T04:08:35Z-
dc.date.issued2558-12-18-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/914-
dc.description56902313 ; สาขาวิชาสนเทศศาสตร์เพื่อการศึกษา -- ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ใช้หลักการของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) โดยใช้เครื่องมือโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ Apache โปรแกรมภาษา PHP โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล PHPMyAdmin (โปรแกรมช่วยจัดการกับฐานข้อมูล MySQL) โปรแกรมสร้างเว็บไซต์ Joomla และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล MySQL จากนั้นใช้ต้นแบบโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 74 คน ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ จำนวน 10 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวน 10 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 5 จำนวน 54 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ โปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้โปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้งานโปรแกรมประยุกต์ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาจารย์นิเทศก์ กลุ่มครูพี่เลี้ยง และกลุ่มนักศึกษา เมื่อเข้าสู่หน้าจอหลัก จะมีเมนูการใช้งาน 5 เมนู ได้แก่ หน้าแรก คู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ประกาศคณะฯ กระดานสนทนา และติดต่อเรา การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ ได้แบ่งการทำงานออกเป็น 4 ระบบ คือ จัดการข้อมูลสมาชิก กระดานสนทนา การให้คะแนน และรายงานผลการประเมิน มีประสิทธิภาพของโปรแกรมประยุกต์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.78 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.35 2. ความพึงพอใจในภาพรวมของอาจารย์นิเทศก์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.73 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.42 ความพึงพอใจในภาพรวมของครูพี่เลี้ยง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.56 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53 และความพึงพอใจในภาพรวมของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.13 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.62 ทำให้ได้ต้นแบบโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และพันธกิจ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร The purposes of this research are: 1) to identify application program development for teachers’ professional experience training evaluation: a case study of Faculty of Education, Silpakorn University, and 2) to evaluate users’ satisfaction of the application. Application program development for evaluation of teacher s’ professional experience training, uses System Development of Life Cycle (SDLC) for system development and uses Apache server program, PHP language, PHPMyAdmin database management, Joomla web site program and MySQL. The application program prototype is evaluated by random seventy-four persons which are ten lecturers, ten teachers and fifty-four fifth year undergraduate students. The research tools are the interview form, application program for teachers’ professional experience training evaluation and satisfaction questionnaire. The statistics which used to analyze the data are mean and standard deviation. The results of application program development for teachers’ professional experience training evaluation: a case study of Faculty of Education, Silpakorn University reveals that 1. Users of application program are divided into 3 groups which are lecturers, teachers and students. When you login to main website, there are 5 menus which are the first page, handbook of teachers’ professional experience training, announcements of Faculty of Education, web board and contact us. The application program development have 4 systems which are data management of members, web board, marking and report evaluation. It has the efficiency in the highest level. It has mean value of 4.78 and standard deviation value of 0.35. 2. Satisfaction evaluation of overview application program by lecturers also are in the highest satisfaction evaluation with mean value of 4.73 and standard deviation value of 0.42, teachers satisfaction evaluation is in the highest level with mean value of 4.56 and standard deviation value of 0.53 and students satisfaction evaluation is in high level with mean value of 4.13 and standard deviation value of 0.62, so this research would be the application program prototype for teachers’ professional experience training to support strategic and mission of Faculty of Education, Silpakorn University.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการพัฒนาen_US
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์en_US
dc.subjectการประเมินผลen_US
dc.subjectการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูen_US
dc.subjectDEVELOPMENTen_US
dc.subjectAPPLICATION PROGRAMen_US
dc.subjectEVALUATIONen_US
dc.subjectTEACHERS’ PROFESSIONAL EXPERIENCE TRAININGen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กรณีศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.title.alternativeAPPLICATION PROGRAM DEVELOPMENT FOR EVALUATION OF TEACHERS’ PROFESSIONAL EXPERIENCE TRAINING A CASE STUDY OF FACULTY OF EDUCATION, SILPAKORN UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Graduate School

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56902313 ภวิสาณัชช์ ศรศิริวงศ์.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.