Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/942
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorยงอยู่, มัตติกา-
dc.contributor.authorYONGYU, MUTTIKA-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:25:01Z-
dc.date.available2017-08-31T04:25:01Z-
dc.date.issued2559-10-13-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/942-
dc.description56311309 ; สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม -- มัตติกา ยงอยู่en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจและวิเคราะห์การกักเก็บ และรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อในสถานบริการสาธารณสุข พร้อมเสนอแนวทางในการวางแผนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545 การศึกษาทำในเขตบริการสุขภาพที่ 5 ประกอบด้วย จังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี แบ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพสต) โดยสุ่มสำรวจจำนวน 100 แห่ง ผลการศึกษาพบว่า รพสต 87 แห่ง มีกระบวนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อประกอบด้วย การคัดแยกและเก็บรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อในระดับต่ำที่สุด โดยพบว่าขั้นตอนการคัดแยก การเก็บรวบรวม และการเคลื่อนย้ายมูลฝอยติดเชื้อ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ขณะที่การกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกักเก็บ และรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อทั้งระบบ พบว่า ขนาดสถานบริการสาธารณสุข (จำนวนเตียง) และกระบวนการคัดแยกและรวมรวม ณ จุดกำเนิด เป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อการกักเก็บ และรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อ ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานกักเก็บ และรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อทั้งระบบของสถานบริการสาธารณสุข พบว่า คนงาน และพนักงานการพยาบาลมีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องกว่าตำแหน่งอื่นๆ ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา เสนอให้มีการกักเก็บ และรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อแบบรวมศูนย์ในระดับจังหวัด หรือเขต เร่งพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพ ครอบคลุม เร่งออกหรือบังคับใช้กฎหมาย สร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองท้องถิ่น และเร่งการพัฒนาศักยภาพผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ This study was aimed to survey and analyze infectious waste in health care services, together with providing the approach of the planning for infectious waste storage and collection, complied with Department of Health regulation, 2012. The study was done in health service provider board 5 which included Ratchaburi, Nakhon Pathom and Suphan Buri. Randomize survey of 100 samples was done. Those samples were divided as following; Region Hospitals ,General Hospitals ,Community Hospitals and District Health Promoting Hospitals(DHPH) . The study was found that DHPH (87%) were presented the lowest standard of infectious waste management. Statistical significance (p<0.05) were found in the processes of waste separation, waste storage and waste transportation whereas there are no statistical significance in the process of waste disposal. As to factors affecting infectious waste storage and collection, it was found that the number of beds available and the process of waste separation and collection at the origin mainly affected overall waste storage and collection. For the factors related to personnel, it was found that the workers and nursing assistants showed the highest efficiency, comparing with the others. The recommendations of this study were to develop the centralized of infectious waste storage and collection in provincial level, to accelerate the development of quality control (Infectious Waste Manifest System), to establish the law enforcement, to participate with local authorities and to enhance the potential of related personnel.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectมูลฝอยติดเชื้อen_US
dc.subjectการกักเก็บ และการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อen_US
dc.subjectนครปฐมen_US
dc.subjectราชบุรีen_US
dc.subjectสุพรรณบุรีen_US
dc.subjectINFECTIOS WASTEen_US
dc.subjectINFECTIOS WASTE STORAGE AND COLLECTIONen_US
dc.subjectRATCHABURIen_US
dc.subjectNAKHONPATHOMen_US
dc.subjectSUPHAN BURIen_US
dc.titleการกักเก็บ และการรวบรวมมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุข ในเขต บริการสุขภาพที่ 5 ; กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรีen_US
dc.title.alternativeINFECTIOUS WASTE STORAGE AND COLLECTION OF HEALTH CARE SERVICES IN HEALTH SERVICE PROVIDER BOARD 5 ; CASE STUDY OF NAKHON PATHOM RATCHABURI AND SUPHAN BURI PROVINCEen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56311309 มัตติกา ยงอยู่.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.