Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/945
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอ่อนทรัพย์, ศิรดา-
dc.contributor.authorOnsap, Sirada-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:25:34Z-
dc.date.available2017-08-31T04:25:34Z-
dc.date.issued2560-01-05-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/945-
dc.description54254327 ; สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ -- ศิรดา อ่อนทรัพย์en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา ก่อนและหลังการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง โดยเลือกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 35 คน ทำการทดลองโดยให้นักเรียน เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 8 บท ใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยา จำนวน 8 บทเรียน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ในการหาค่าความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อเสริมการอ่านที่ผู้วัยสร้างขึ้น ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 79.83/77.24 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้สื่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อความเหมาะสมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับดี The purposes of the research were 1) to develop CALL English lessons based on local topics of Prachuap Khiri Khan province for Matthayomsuksa three students of Kuiburiwitaya school, 2) to compare the students’ English reading ability, and 3) to study students’ opinions toward the CALL English lessons based on local topics of Prachuap Khiri Khan province. The sample consisted of one selected class of 35 class Matthayomsuksa three students, Kuiburiwittaya school, Prachuap Khiri Khan Province during the second semester of academic year 2015. The students studied eight units from the CALL English lessons based on local topics of Prachuap Khiri Khan province. The duration of the experiment covered a period of four weeks. The instruments used for gathering data were: 1) eight units of CALL English lessons based on local topics of Prachuap Khiri Khan province, 2) a reading proficiency test, and 3) a questionnaire on opinions toward the CALL English lessons based on local topics of Prachuap Khiri Khan province The paired-samples t-test was used to analyze the students’ English reading ability scores before and after using the materials and the mean and the standard deviation of items were used to evaluate the students’ opinions towards the materials. The results of the study were: 1. The percentage average of the formative test and the post test were 79.83/77.24, which means the efficiency of the CALL is higher than the expected criterion (75/75). 2. The students’ English reading ability after using the materials was significantly higher than before using the materials at the .05 level. 3. The students’ opinions toward the suitability of the materials were at a good level.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยสอนen_US
dc.subjectการอ่านภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectท้องถิ่นen_US
dc.subjectEFL READING TEXTSen_US
dc.subjectEFL TEXTS DEVELOPMENTen_US
dc.subjectCALLen_US
dc.titleการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกุยบุรีวิทยาen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF CALL ENGLISH READING LESSONS BASED ON LOCAL TOPICS OF PRACHUAP KHIRI KHUN PROVINCE FOR MUTTHAYOMSUKSA THREE STUDENTS OF KUIBURIWITTAYA SCHOOLen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54254327 ศิรดา อ่อนทรัพย์.pdf4.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.