Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/954
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | เยพิทักษ์, ปาริชาติ | - |
dc.contributor.author | Yepitak, Parichat | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T04:28:57Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T04:28:57Z | - |
dc.date.issued | 2560-01-11 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/954 | - |
dc.description | 56604921 ; สาขาวิชาการจัดการ -- ปาริชาติ เยพิทักษ์ | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานโดยการศึกษาทฤษฎีฐานราก เพื่อพัฒนาตัวแบบการลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุเพื่อจัดทำนโยบายเสริมสร้างความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงาน 2) เพื่อพัฒนาตัวแบบการลดความขัดแย้งขององค์การสร้างความผาสุกขององค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานด้วยวิธีการวัดเชิงพหุ 3) เพื่อทดสอบความสอดคล้อง ความแปรปรวนและค่าอิทธิพลของตัวแบบสมการโครงสร้างการลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุเพื่อเสริมสร้างความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานและค่าพารามิเตอร์ที่ทดสอบในตัวแบบสมการโครงสร้างการลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุเพื่อสร้างความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานระหว่างกลุ่มเจเนอเรชั่นบีบี กลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย และ 4) เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนานโยบายจากตัวแบบการลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุเพื่อเสริมสร้างความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานระหว่างกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย จากกลุ่มอาจารย์สายวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง โดยการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,380 คน การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้วิธีการวัดตัวแบบด้วยตัวแบบสมการโครงสร้างแบบพหุจากการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) ของตัวแปรสังเกตได้ทั้ง 6 ตัวแปร ด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ปรากฏว่า ตัวแบบการวัดของตัวแปรทั้ง 6 ตัวแปรมีความตรงสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดัชนีวัดความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์ดีทุกตัวแบบ โดยสังเกตได้จากค่า 2 ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวแบบโดยมีค่าความน่าจะเป็น (p) อยู่ระหว่าง.04 - .21 ค่า CFI อยู่ระหว่าง.96 - 1.00 ค่า GFI=.92 - .99 ค่า AGFI=.93-.98 ค่า RMSEA=.00-.07 ค่า SRMR=.01-.05 และตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ทั้งหมด จากการศึกษาเปรียบเทียบตัวแบบลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุ พบว่า ตัวแบบของกลุ่มเจเนอเรชั่นบีบี มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแบบของกลุ่มเจเนอเรชั่นเอ็กซ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และกลุ่มเจเนอเรชั่นวายนั้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เช่นกัน ซึ่งค่าสถิติทุกค่ามีความสอดคล้องกันและดัชนีเข้าเกณฑ์การวัดทุกเกณฑ์และตัวแปรมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งกันและกัน แสดงว่าตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ทั้ง 3 กลุ่มเจเนอเรชั่น จึงสามารถนำมาพัฒนาเป็นนโยบายการสร้างความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล คือ การพัฒนาบุคลากรในองค์การเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการส่งเสริมบุคลากรให้มีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการสร้างกลไกการรับรู้ความยุติธรรมภายในองค์การอย่างเท่าเทียมกันทั้งองค์การ รวมถึงการสานสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนรณรงค์การลดความขัดแย้งในองค์การ และร่วมสร้างความสุกในองค์การอย่างยั่งยืน This research aims 1) to study the phenomenon of wellbeing of personal in Multi-Complex organization of working age by grounded theory for developing the model for reducing conflict of personal in Multi-Complex organization of working age 2) to develop the model for reducing conflict of personal in Multi-Complex organization of working age by conducing Multi-group measurement 3) to test the consistency, variability, and also the influence of the structural equation model regarded reducing conflict for wellbeing in Multi-complex organization of working age which are among Generation BB, Generation X, and Generation Y 4) to study and conduct a participatory action research in order to develop the policy by using the structural equation model regarded reducing conflict for wellbeing of personal in Multi-complex organization of working age which were amongst Generation X and Generation Y. This research was conducted with the professors from 9 (nine) Rajamangala University of Technology by distributing and collecting questionnaires. The samples were 1,380. The purposive sampling was used with the structural equation model for construct validity of 6 variables. This research reveals that all 6 (six) variables measuring model accord with empirical data. The Index harmony favorably on all models. The 2 have no statistically significant for all models that the probability (p) was during .04 - .21, CFI was during .96-1.00, GFI = .92 - .99, AGFI = .93 - .98, RMSEA = .00 - .07, SRMR = .01 - .05, and also all observed variables were significant at .01. The study compared the conflict that Multi-group measurements found that the generation BB was consistent with empirical data. The generation X was consistent with empirical data and the generation Y was consistent with empirical data. The Index harmony favorably on all models were consistent criteria, indicators to measure and the variables influencing each other both directly and indirectly. All the statistics were consistent criteria and indicators to measure that were consistent with empirical data in the third generation. Moreover, It can be developed into a policy from enhancing for wellbeing of personal in multi-complex organizations of working age in Rajamangala University of Technology which was to develop the personal for the transformational leadership. the personal were encouraged to communicate effectively. And the perception within the organization was equally. The relationships was supported effective teamwork and performance. Therefore the campaign reduced conflict in the organization. And enhancing wellbeing in a sustainable organization. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | ลดความขัดแย้ง | en_US |
dc.subject | ความผาสุก | en_US |
dc.subject | องค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงาน | en_US |
dc.subject | REDUCE CONFLICT | en_US |
dc.subject | WELLBEING | en_US |
dc.subject | MULTI COMPLEX OF WORKING AGE | en_US |
dc.title | การพัฒนาตัวแบบการลดความขัดแย้งที่วัดเชิงพหุเพื่อจัดทำนโยบายเสริมสร้าง ความผาสุกของบุคลากรในองค์การที่มีความหลากหลายในช่วงวัยทำงาน | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT MODEL REDUCING CONFLICT WITH MULTI - GROUP MEASUREMENT FOR POLICY FROM ENHANCING WELLBEING OF PERSONAL IN MULTI-COMPLEX ORGANIZATIONS OF WORKING AGE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Management Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
56604921 ปาริชาติ เยพิทักษ์.pdf | 63.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.