Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/960
Title: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญา ในการบริหารงานบริการของภาครัฐ
Other Titles: MODEL DEVELOPMENT FOR REINFORCING CREATIVE THINKING VIA COGNITIVE COACHING IN SERVICE MANAGEMENT FOR PUBLIC SECTOR
Authors: ศรีอัครลาภ, วาสนา
Sriakaralarp, Wasana
Keywords: การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์
การโค้ชทางปัญญา
ความคิดสร้างสรรค์ในงาน
REINFORCING CREATIVITY
COGNITIVE COACHING
CREATIVITY AT WORK
Issue Date: 20-Dec-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเชิงทฤษฎีของลักษณะความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารงานบริการของภาครัฐและกระบวนการโค้ชทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในงาน 2) พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในการบริหารงานบริการของภาครัฐ 3) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในการบริหารงานบริการของภาครัฐ ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาและกำหนดกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของรูปแบบ โดยการสร้างทฤษฎีฐานราก (Grounded Theory) รวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 33 คน และวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อออกแบบพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ของรูปแบบและเครื่องมือเพื่อวิเคราะห์หาค่า IOC และนำรูปแบบมา Try-out เพื่อหาค่าความเที่ยง (Reliability) โดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค จากนั้นนำไปทดลองใช้ด้วยวิธีการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Pretest Posttest Control and Experimental Groups Design) ประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ ด้วยสถิติ Man Whitney-U Test ปรับปรุงและสรุปรูปแบบด้วยการหาความเห็นพ้องต้องกันจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนใช้สถิติ Cohen’s Kappa เพื่อตรวจสอบยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะที่เหมาะสมของความคิดสร้างสรรค์ในการบริหารงานบริการของภาครัฐ มี 4 ลักษณะ (4D) ประกอบด้วย 1) แรงขับที่พึงประสงค์ (Desired) 2) ความคิดอเนกนัย (Divergent) 3) ความแตกต่าง (Difference) 4) การพัฒนาให้ดีขึ้น (Development) รูปแบบฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.ขั้นตอนการโค้ชให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ 9 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตกลงกันเพื่อโค้ช 2) สร้างความไว้วางใจ 3) การถามถึงเป้าหมาย 4) สื่อสารเพื่อเป้าหมายที่แท้จริง 5) สิ่งที่เป็นจริง ณ ปัจจุบัน 6) วิธีที่จะถึงเป้าหมาย 7) สิ่งที่จะทำจนถึงเป้าหมาย 8) สรุปความเข้าใจตรงกัน 9) ประเมินและติดตามจนบรรลุเป้าหมาย 2.มีการดำเนินกิจกรรมผ่านงานของรูปแบบ (Task) ประกอบด้วย 2 เรื่องคือ 1) กระบวนการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในงาน (TGIF) ได้แก่ 1. การปรับเจตคติในการมองปัญหาพร้อมเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ (Tune up Attitude) 2. การตั้งเป้าหมายการดำเนินงาน (Goal Setting) 3. การจุดประกายความคิดสู่ การลงมือปฏิบัติ (Inspired Idea) 4. ความก้าวหน้าทางความคิดสร้างสรรค์ (Forward Idea) และ 2) การใช้คำถามทรงพลัง (Big Q) 3.มีการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบฯ จากแบบประเมิน 6 ฉบับ ผลการนำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้หลังเข้าร่วมเพิ่มขึ้นและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกถึงลักษณะเชิงความคิดสร้างสรรค์ในงานหลังเข้าร่วมสูงกว่าก่อนเข้าและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน การติดตามผลการทดลองต่อเนื่องพบว่ามีการนำความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมและการโค้ชไปใช้ในการปฏิบัติงาน รูปแบบได้รับความเห็นพ้องต้องกันหมดถึงความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ ในระดับความสอดคล้องดี (Substantial) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ Cohen’s Kappa 0.765 และ 4.เงื่อนไขในการดำเนินงานตามรูปแบบนี้ ได้แก่ 1)โค้ช วิทยากร ผู้ประสานงาน 2)โค้ชชี่ 3)เนื้อหาในการโค้ช 4)เทคโนโลยีสารสนเทศ 5)สภาพแวดล้อม รูปแบบการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ด้วยกระบวนการโค้ชทางปัญญาในการบริหารงานบริการของภาครัฐที่ค้นพบในงานวิจัยนี้มีองค์ประกอบเรียกว่า “9265 รหัสปลดล็อคความคิดสร้างสรรค์” สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลเพื่อประโยชน์ต่อการบริหารงานบริการขององค์การต่อไป The objectives of this research are: 1) to study on theoretical concept of creative thinking characteristics in services management for public sector and cognitive coaching process for reinforcing creative thinking in working; 2) to develop the model for reinforcing creative thinking via cognitive coaching process in services management for public sector; 3) to evaluate efficiency of the model for reinforcing creative thinking via cognitive coaching process in services management for public sector. The research was conducted by using mixed method through qualitative research in order to study and specify theoretical framework of the model by building Grounded Theory. Data was collected from 33 key informants. In addition, quantitative research methodology was also utilized for designing, developing, and inspecting the model. Content Validity of the model and tools was conducted by 3 experts for analyzing and finding IOC. Subsequently, the model was tried out for finding reliability by using Cronbach’s Alpha Coefficient and tested with Quasi-Experimental. The samples were divided into 30 samples for experimental group and 30 samples for control group. Pretest and Posttest Control and Experimental Groups Design were conducted in order to evaluate efficiency of the model through Man Whitney-U Test. Finally, the model was improved and concluded by 3 experts for finding consensus. Cohen’s Kappa was used to test and confirm appropriateness of the model. The results of this research showed that there were 4 appropriate characteristics of creative thinking in services management for public sector (4D) consisted of: 1) Desired; 2) Divergent; 3) Difference; 4) Development. In addition, the model’s elements were also 9 coaching procedures helping to motivate creative thinking including: 1) making agreement for coaching; 2) building trust; 3) asking on goals; 4) communicating on actual goals; 5) knowing actual and current situation; 6) knowing how to achieve goals; 7) knowing what to do to achieve goals; 8) concluding understanding under the same direction; 9) evaluating and following up to achieve goals. Activities were operated through 2 tasks including: 1) Creative Thinking Reinforcement Process in Working (TGIF) consisted of: 1. Tune up Attitude; 2. Goal Setting; 3. Inspired Idea; 4. Forward Idea; and 2) Big Q. Based on the results of 6 model testing, it was found that samples in experimental group gained more knowledge after participating in the model in higher level than that of control group with statistical significance of 0.01. In addition, they also had higher level of changing behavior in expressing characteristics of creative thinking in working after participating in the model than that of control group with statistical significance of 0.05. Finally, they had the highest level of satisfaction towards the model in all dimensions. Moreover, the experimental results were still followed-up and it was found that knowledge obtained from participation and coaching was used in the operation as well. In addition, the model was agreed completely on appropriateness by all experts in substantial level with Cohen’s Kappa at 0.765, model’s condition including: 1) Coach Instructure and Facilitator 2) Coachee 3) Content 4) Information technology 5) Environment The model’s elements of creative thinking reinforcement via cognitive coaching process in services management for public sector found in this research were called “9265, the Code for Unlocking Creative Thinking” that could be utilized for unleashing potential and reinforcing creative thinking of persons for further benefits of organizational management.
Description: 56604807 ; สาขาวิชาการจัดการ -- วาสนา ศรีอัครลาภ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/960
Appears in Collections:Management Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56604807 วาสนา ศรีอัครลาภ.pdf27.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.