Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/972
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรีสาร, สุรศักดิ์-
dc.contributor.authorSrisran, Surasak-
dc.date.accessioned2017-08-31T04:33:10Z-
dc.date.available2017-08-31T04:33:10Z-
dc.date.issued2560-02-16-
dc.identifier.urihttp://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/972-
dc.description54260915 ; สาขาวิชาพัฒนศึกษา -- สุรศักดิ์ ศรีสารen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในการพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชน 2) พัฒนา และประเมินรูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตพื้นที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งสิ้นจำนวน 400 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ และประชาชนในพื้นที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีความใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ด้านความพึงพอใจต่อศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน พบว่า ประธานฯ สมาชิกศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากและประชาชนมากที่สุด ด้านผลการวัดความรู้ความเข้าใจของประธานฯ สมาชิกศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท และประชาชนอยู่ในระดับสูงเช่นกัน สำหรับพฤติกรรมในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท พบว่า ประธานฯ สมาชิกศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทชุมชนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน 2. การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์นั้น ต้องใช้ทุนของชุมชนคือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำทางการและไม่เป็นทางการ และอาสาสมัครในชุมชนเป็นผู้ดำเนินการให้เกิดเป็นกระบวนการไกล่เกลี่ยขึ้นในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนโดยใช้หลักการต่าง ๆ คือ ความพึงพอใจ ความโปร่งใส ความเป็นกลาง การประสานงานการมีส่วนร่วม การประชาสัมพันธ์ การลดขั้นตอน ความเป็นเครือญาติ ความยืดหยุ่น และความรู้ เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนสมานฉันท์ โดยเรียกชื่อย่อรูปแบบนี้ว่า “CPR MODEL” ซึ่งเป็นรูปแบบที่ผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการรับรองโดยเวทีประชาคม The objectives of this research were : 1) to study the basic information about reconciliation settlement for develop the reconciliation and dispute settlement system in community 2) to develop and evaluate reconciliation and dispute settlement system in community with conformity through the participation of the public and key informants by mix method research and quantitative research by gather information from public around community reconciliation center area in Amphoe Bang Khonthi Samut Songkhram Proveince, Amphoe Phrao Chiangmai Province and Amphoe Mueang UdonThani Province totally 400 people and qualitative research by gather information from key informants and public around community reconciliation center area totally 160 people. The research instrument were questionnaire, interview analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis. The result of the research were 1. The research found that, in general, the respondents have similar responses in almost every aspect. With regard to the satisfaction of the Community Dispute Resolution Center, hereinafter referred to as “CDRC”, the chairperson and members of the CDRC has high satisfaction, while general public satisfy the work of CDRC at highest level. As for the result of knowledge and understanding evaluation, the research found that CDRC chairperson, CDRC member, and public have high level of understanding in dispute resolution issues and the work of CDRC. In addition, the research also found that CDRC chairperson and member are involved in the dispute resolution activities at high level in the same manner as the public. 2. The reconciliation and dispute settlement system in community with conformity must consist of the people in community include subdistrict head, village head, formal leader, informal leader and community volunteer who perform reconciliation process through the participation of the public by using the measure were satisfaction, transparency, impartial, participation, public relation, reducing procedure, relative, flexibility and knowledge for conformity in community by the name of “CPRMODEL” which was evaluated by expert sand affirm by public forum.en_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศิลปากรen_US
dc.subjectการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์en_US
dc.subjectRECONCILLIATION MEDIATION MODEL BY COMMUNTTY WITH HARMONIZATIONen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยชุมชนอย่างมีสมานฉันท์en_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF CONFLICT RECONCILIATILON MEDIATION MODEL BY COMMUNITY WITH HARMONIZATIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
54260915 สุรศักดิ์ ศรีสาร.pdf1.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.