Please use this identifier to cite or link to this item:
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/985
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | วงศ์สินอุดม, พรทิพย์ | - |
dc.contributor.author | Wongsinudom, Porntip | - |
dc.date.accessioned | 2017-08-31T04:39:17Z | - |
dc.date.available | 2017-08-31T04:39:17Z | - |
dc.date.issued | 2559-12-06 | - |
dc.identifier.uri | http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/985 | - |
dc.description | 54257324 ; สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา -- พรทิพย์ วงศ์สินอุดม | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เมื่อเรียนด้วย แอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพพระใน (รุ่งรังสฤษฏ์) อ.เมือง จ.เพชรบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2557จำนวน 20 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญในการสร้าง แอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยแอปพลิเคชันบทเรียน บนคอมพิวเตอร์พกพาร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) แอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา 4) แบบประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันแบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา สุขศึกษาและพลศึกษา 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อแอปพลิเคชันบทเรียน บนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.33/82.50 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 75/75 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมมีพฤติกรรมการเรียนรู้ร่วมกันอยู่ในระดับดี 4) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก The purposes of this research are 1) to develop of tutorial application on tablet with peer-to-peer learning affecting learning together of the third grade students in Petchaburi to effective at the level of 75/75, 2) to compare the students’ achievement before and after using the tutorial application on tablet with peer-to-peer, 3) to study the students’ behaviors of learning, 4) to study the students’ opinions toward the tutorial application on tablet with peer-to-peer. The sample consisted of 20 third grade students of Popranai primary school, Petchaburi during the second semester of the academic year 2014 by simple random sampling. The instruments used for gathering data are 1) the constructed questionnaire on opinions to ask the technicians toward the development of tutorial application on tablet, 2) the lesson plan of the development of tutorial application on tablet with peer-to-peer, 3) the tutorial application on tablet, 4) the questionnaire on learning’s behaviors assessment when using the tutorial application on tablet with peer-to-peer, 5) a proficiency test for health and physical education subject, 6) the questionnaire on opinions toward the development of tutorial application on tablet with peer-to-peer. The results of the study are 1) the develop of tutorial application on tablet with peer-to-peer learning affecting learning together of the third grade students in Petchaburi is at 81.33/82.50 which are in the specified standard, 2) the third grade students’ achievement after using the tutorial applications on tablet with peer-to-peer is significantly higher than that of before using it at the level of 0.01, 3) the students’ behaviors of learning are generally good, 4) The students’ opinions toward the tutorial application on tablet with peer-to-peer are generally high | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยศิลปากร | en_US |
dc.subject | การพัฒนา/ | en_US |
dc.subject | แอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา | en_US |
dc.subject | การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน | en_US |
dc.subject | DEVELOPMENT | en_US |
dc.subject | APPLICATION ON TABLET | en_US |
dc.subject | PEER-TO-PEER | en_US |
dc.title | การพัฒนาแอปพลิเคชันบทเรียนบนคอมพิวเตอร์พกพา ร่วมกับการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ร่วมกันของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดเพชรบุรี | en_US |
dc.title.alternative | THE DEVELOPMENT OF TUTORIAL APPLICATION ON TABLET WITH PEER TO PEER LEARNING AFFECTED LEARNING TOGETHER OF THE TRIRD GRADE STUDENTS IN PETCHABURI | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
Appears in Collections: | Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
54257324 พรทิพย์ วงศ์สินอุดม.pdf | 7.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.