Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1006
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: A DEVELOPMENT OF AN INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON PRAGMATICS THEORY TO ENHANCE INTERPRETATIVE READING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Authors: วงศ์ทิพย์, กิตติพงษ์
Wongtip, Kittipong
Keywords: รูปแบบการเรียนการสอน
ทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์
การอ่านตีความ
INSTRUCTIONAL MODEL
PRAGMATICS THEORY
INTERPRETATIVE READING
Issue Date: 4-Jan-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 2. ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต 3. ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ 4. ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต โดยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เริ่มจากศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนจากแหล่งข้อมูลที่เป็นเอกสารและแหล่งข้อมูลที่เป็นบุคคลเพื่อนำมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบรูปแบบการเรียนการสอน จากนั้นจึงออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีวัจนปฏิบัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 30 คน ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา THAI 3206 การอ่านตีความ ในภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านตีความ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย (×) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. การอ่านตีความมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในประจำวันดังนั้นจึงควรฝึกให้นักศึกษามีความสามารถในการอ่านตีความ โดยผู้สอนจะต้องอธิบายวิธีการตีความให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาฝึกตีความด้วยตนเอง 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวางแผนและการเตรียมการเรียนรู้ของนักศึกษา ระยะที่ 2 ขั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นก่อนอ่าน ประกอบด้วยขั้นเรียนรู้ลักษณะบทอ่าน ขั้นให้เครื่องมือผ่านการสาธิต ขั้นตอนที่ 2 ขั้นระหว่างอ่าน ประกอบด้วยขั้นอ่านพินิจด้วยตนเอง ขั้นครื้นเครงแลกความเห็น ขั้นใช้ให้เป็นลองฝึกหัด ขั้นตอนที่ 3 ขั้นหลังอ่าน ประกอบด้วยขั้นปฏิบัติซ้ำเพื่อประเมิน 3. นักศึกษามีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนหลังจากที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4. ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนด้านปริมาณพบว่า นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตมีคะแนนความสามารถในการอ่านตีความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการประเมินด้านคุณภาพพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นช่วยเสริมสร้างความสามารถในการอ่านตีความให้สูงขึ้นและทำให้พัฒนาความคิดอย่างเป็นระบบ มีแนวคิดที่หลากหลาย และมีเหตุผลมากยิ่งขึ้น The objectives of this research were to conduct a needs analysis for the development of an instructional model based on the Pragmatics Theory to enhance interpretative reading ability of undergraduate students, to design and develop the instructional model, to implement the instructional model in the classroom, and to evaluate the efficiency of the instructional model. The research and development process was used to analyze the needs in developing the model from documentary and individual sources in an attempt to define the conceptual framework of the model. After that, the model was designed and developed, based on the pragmatics theory, and tried with the sample group. The sample group consisted of 30 Thai-major students who enrolled in THAI 3206 Interpretative Reading in the third semester of the 2015 academic year. The research instruments comprised an interpretative reading proficiency test, instructional management plans, and an opinion questionnaire. The data were analyzed for mean, standard deviation, and t-test. The study findings revealed that interpretative reading ability is so crucial that students should practice to master. Instructors should demonstrate how to do it first and then let their students practice by themselves. The constructed model has two phases. The first phase comprises planning and preparing students to learn. The second phase is organizing learning activities, which consists of three major steps. The first step is the pre-reading activities, consisting of understanding features of reading texts and demonstrating how to read interpretatively. The second step is the main reading activities, consisting of reading interpretatively by the students themselves, sharing ideas among group members, and practicing interpretative reading. The third step is the post-reading activity, comprising re-implementation for assessment. It is also found that the overall posttest scores of the students after having implemented the model were higher than the pre-test scores. For the quantitative assessment, it is found that the posttest scores on the interpretative reading proficiency test of the students were significantly higher than the pre-test scores at the .05 level. For the qualitative assessment, it is revealed that the model could enhance the interpretative reading ability of the students, enable them to think systematically, and gain more diverse and rational opinions from group discussions.
Description: 55255902 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1006
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55255902 กิตติพงษ์ วงศ์ทิพย์.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.