Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1007
Title: รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพโดยผสมผสานเครือข่ายสังคมเพื่อเสริมสร้าง สมรรถนะการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการคิดของนักเรียน
Other Titles: A MODEL OF SCIENCE TEACHERS PROFESSIONAL DEVELOPMENT WITH BLENDED SOCIAL NETWORK TO PROMOTE MEASUREMENT AND EVALUATION COMPETENCY ON STUDENTS’ THINKING SKILLS
Authors: มณีอ่อน, สมาพร
Manee-on, Samaporn
Keywords: การพัฒนาวิชาชีพ
ผสมผสานเครือข่ายสังคม
สมรรถนะการวัดและประเมินผล
ทักษะการคิดของนักเรียน
PROFESSIONAL DEVELOPMENT
BLENDED SOCIAL NETWORK
MEASUREMENT AND EVALUATION COMPETENCY
STUDENTS’ THINKING SKILLS
Issue Date: 11-Jan-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพโดยผสมผสานเครือข่ายสังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการวัดและประเมินผลของครูวิทยาศาสตร์ด้านทักษะการคิดของนักเรียน 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนาและใช้การวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบบแผนการวิจัยแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลัง ผสมผสานกับแบบแผนการวิจัยแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ประเภทอนุกรมเวลาสมมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 3 คน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา จำนวน 2 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 5 รวม 86 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 จำนวน 6 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ แผนการพัฒนาวิชาชีพ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินการสร้างและการใช้เครื่องมือ แบบสังเกตพฤติกรรมการวัดและประเมินผล แบบประเมินด้านทักษะการคิด แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประเมินความคิดเห็นของนักเรียน และประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test แบบ dependent, F-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “ADIAR Model” ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) กระบวนการ มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Analyzing Needs: A) ขั้นที่ 2 ออกแบบการพัฒนาวิชาชีพ (Design Program: D) ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพโดยผสมผสานมัลติมีเดียเครือข่ายสังคม (Implement Professional Development Social Media Networks Blended: IPDNB) ขั้นที่ 4 การประเมินผลการดำเนินงาน (Assessing Program: A) และ ขั้นที่ 5 การรายงานผลการดำเนินงาน (Reporting Program: R) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ รูปแบบมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.54/85.56 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิดของนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามประเภทของหลักสูตรที่ครูวิทยาศาสตร์สำเร็จการศึกษา 2) ครูมีพัฒนาการความสามารถในการสร้างและการใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิดของนักเรียนสูงขึ้น 3) ครูมีพัฒนาการของพฤติกรรมการวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิดสูงขึ้น 4) นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดสูงขึ้น 5) ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพอยู่ในระดับมากที่สุด 6) ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการวัดและประเมินผลของครูหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทักษะด้านการคิดสูงขึ้น 7) หลังการขยายผลการนำรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพไปใช้ พบว่า รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ “ADIAR Model” สามารถทำให้ครูมีสมรรถนะการวัดและประเมินผลด้านทักษะการคิดของนักเรียนสูงขึ้น This research aims to 1) develop and find out the efficiency of a model of science teachers’ professional development with blended social networks to promote measurement and evaluation competency on students’ thinking skills; and 2) evaluate effectiveness of the model. The design of this was Research (R) and Development (D) with mixed methods of one – group pretest-posttest and equivalent times-series design. The samples were 6 science teachers, 3 school directors, 1 supervisor, 2 higher education instructors, and 86 Prathomsuksa four and five students from 6 schools under Nonthaburi Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments consisted of professional development manuals, a professional development plan, knowledge and comprehension test, and evaluation forms for instrument design implementation; a form for behavioral observation on measurement and evaluation, satisfaction forms toward the model, students’ opinions evaluation form, and focus group discussion questions. The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test (dependent), F-test, and content analysis. The research yielded the following results: 1. The model developed in this research is called “ADIAR Model”. It comprised 5 components: 1) rationales, 2) objectives, 3) operational process with 5 steps: Analyzing Needs: A, Design Program: D, Implement Professional Development Social Media Networks Blended: IPDNB, Assessing Program: A, and Reporting Program: R, 4) measurement and evaluation, and 5) conditions for practical usage. The efficiency of this model was 83.54/85.56. 2. The effectiveness of the model was found that: 1) Science teachers comprehended about measurement and evaluation on students’ thinking skills after using the model which was significantly higher than before using the model at the statistical level of .05; 2) Science teachers improved their competency of design and use of measurement and evaluation focusing on students’ thinking skills; 3) Science teachers improved their behaviors of measurement and evaluation on students’ thinking skills; 4) Students’ thinking skills were higher before using the model; 5) Supervisors and teachers were satisfied with the model at the highest level; 6) On the students’ opinion on the measurement and evaluation after using the model, it was found that students had higher order thinking skills; 7) After disseminating of the model, “ADIAR Model” could improve science teachers on their measurement and evaluation of students’ thinking skills.
Description: 56253907 ; สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน -- สมาพร มณีอ่อน
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1007
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56253907 สมาพร มณีอ่อน.pdf9.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.