Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1010
Title: การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Other Titles: KNOWLEDGE MANAGEMENT OF SCHOOL DIRECTOR AND ACADEMIC AFFAIRS ADMINISTRATION OF SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 9
Authors: พูลสุวรรณ, กฤติกา
POOLSUWAN, KITTIKA
Keywords: การจัดการความรู้
การบริหารงานวิชาการ
THE KNOWLEDGE MANAGEMENT
ACADEMIC AFFAIRS
Issue Date: 30-Nov-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 2) การบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 จำนวน 56 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 224 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการความรู้ของไลโบวิชและเบคแมน (Liebowitz & Beckman) และการบริหารงานวิชาการตามคู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล ของกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารงานด้านวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3. การจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9 โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this research were to determine : 1)the knowledge management of school director under Secondary Educational Service Area Office 9, 2) the academic affairs administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9 and 3) the relationship between knowledge management of school director and academic affairs administration of school under secondary educational service area office 9. The sample used in this research were 56 schools under Secondary Educational Service Area Office 9.The respondents were school director, deputy director, head of learning area, with a total of 224. The instrument was a questionnaire regarding knowledge management based on Liebowitz & Beckman concepts and academic affairs administration based on the principle of Ministry of Education.The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The findings of this research revealed that : 1. The knowledge management of school director under Secondary Educational Service Area Office 9, as a whole and each individual, were at a high level. 2. The academic affairs administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9, as a whole and each individual, were at a high level. 3. The knowledge management of school director and academic affairs administration of school under Secondary Educational Service Area Office 9, was highly correlated at .01 level of significance.
Description: 55252374 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- กฤติกา พูลสุวรรณ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1010
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55252374 กฤติกา พูลสุวรรณ.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.