Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1015
Title: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
Other Titles: Health Promotion Behavior for People operated by Village Health Volunteers in District of Boploi, Kanchanaburi Province.
Authors: ปัถพี, จักรี
Padthapee, Chakkri
Keywords: พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ
ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ
การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน
การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว
การมีจิตอาสา
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
HEALTH PROMOTION BEHAVIOR
KNOWLEDGE OF SELF – CARE
SOCIAL SUPPORT FROM HEALTH OFFICIALS
SOCIAL SUPPORT FROM COMMUNITY
SOCIAL SUPPORT FROM FAMILY
VOLUNTEER SPIRIT
VILLAGE HEALTH VOLUNTEER
Issue Date: 19-Sep-2559
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว การมีจิตอาสา ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ่อพลอยจังหวัดกาญจนบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ความเพียงพอของรายได้ ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการมีโรคประจำตัว 3) ศึกษาว่าความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากชุมชน การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว การมีจิตอาสา เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 288 คน โดยใช้วิธีทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ( % ) ค่าเฉลี่ย ( xˉ ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( one – way ANOVA ) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ ( Stepwise Multiple Regression Analysis ) ผลการวิจัย พบว่า 1. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากชุมชนและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข การได้รับแรงสนับสนุนจากครอบครัว และการมีจิตอาสา ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอยู่ในระดับมาก 2. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เมื่อจำแนกตามการมีโรคประจำตัวของตนเอง อายุ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และความเพียงพอของรายได้ ไม่พบความแตกต่าง 3. การมีจิตอาสา การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสามารถร่วมกันทำนายทำนายพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพประชาชน ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรีได้ร้อยละ 23.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were 1) to study level of Health Promotion Behavior for People, level of knowledge of self care, level of social support from health officials, level of social support from community, level of social support from family and volunteer spirit of village health volunteers. 2) to compare level of health promotion behavior for people operated by village health volunteers in district of Boploi, Kanchanaburi province classify by sex , age , marriage status , educational background , income , volunteering periods and health status. 3) to study knowledge of self care , social support from health officials , social support from community , social support from family and volunteer spirit as predictors health promotion behavior for people operated by village health volunteers. The samples consisted of 288 village health volunteers in district of Boploi, Kanchanaburi province was used by stratified random sampling technique. Constructed questionnaires were used to collect data. The data were analyzed by statistic for percentage , mean , standard deviation , t – test , One – Way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis. The results were that : 1. Level of knowledge of self care, Level of social support from Community and level of health promotion behavior for people operated by village health volunteers were at the moderate level, Level of social support from health officials, Level of social support from family and volunteer spirit of village health volunteer were at the upper level. 2. Health promotion behavior for people operated by village health volunteers as classified by health status, age, marriage status and volunteering periods were significantly difference at .05 level. While, to classify by sex, educational background and income were not significantly difference. 3. Volunteer spirit, level of social support from health officials and level of knowledge of self care predicted health promotion behavior for people operated by village health volunteers in district of Boploi, Kanchanaburi province at 23.4 %, with a statistical significant level of .05
Description: 55256302 ; สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน -- จักรี ปัถพี
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1015
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55256302 จักรี ปัถพี .pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.