Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1021
Title: พฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน โรงเรียนสาธิต ในจังหวัดนครปฐม
Other Titles: THE PARENTS' ACTIVITY IN SELF-DISCIPLINE TRAINING PROMOTION FOR STUDENTS IN THE DEMONSTRATION SCHOOLS, NAKHON PATHOM PROVINCE
Authors: วงศ์ศักดิรินทร์, วัลลภา
Wongsakdirin, Wanlapa
Keywords: การส่งเสริมวินัยในตนเองแก่นักเรียนของผู้ปกครอง
สัมพันธภาพในครอบครัว
ความตระหนักในบทบาทหน้าที่
การควบคุมอารมณ์
SELF-DISCIPLINE TRAINING PROMOTION FOR STUDENTS
FAMILY RELATION
AWARENESS IN ROLES
EMOTIONAL CONTROL
Issue Date: 18-Apr-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับพฤติกรรมในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน สัมพันธภาพในครอบครัว ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และการควบคุมอารมณ์ของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม 2)เปรียบเทียบพฤติกรรมในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเอง แก่นักเรียน จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ปกครองได้แก่ เพศของบุตร ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนบุตร และภาวะทางการเงินของครอบครัว 3)วิเคราะห์สัมพันธภาพในครอบครัว ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และการควบคุมอารมณ์ของผู้ปกครอง เป็นปัจจัยที่ทำนายพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการมีวินัย ในตนเองแก่นักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม จำนวน 341 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นจำแนกตามโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่สร้างขึ้น โดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับพฤติกรรมในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน สัมพันธภาพในครอบครัว ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และการควบคุมอารมณ์ของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม อยู่ในระดับมาก 2. พฤติกรรมในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียนของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม เมื่อจำแนกตาม เพศของบุตร ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนบุตร และภาวะทางการเงิน ของครอบครัว พบว่าไม่แตกต่างกัน 3. ความตระหนักในบทบาทหน้าที่ การควบคุมอารมณ์ และสัมพันธภาพในครอบครัวสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการมีวินัยในตนเองแก่นักเรียน โรงเรียนสาธิตในจังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 63.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The purposes of this research were 1) to study the level of self-discipline training promotion for students, family relation, awareness in roles and emotional control of the parents’ in The Demonstration schools, Nakhon Pathom province. 2) to compare self-discipline training promotion for students as classified by offsprings’ gender, educational level, occupation, amount of offsprings and family’s financial status 3) to analyze family relation, awareness in roles, and emotional control of the parents’ as predictors of the parents’ activity in self-discipline training promotion for students.Research Sample were 341 parents derived by stratified random sampling technique as distributed by school. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher. Data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, One Way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis. The results found that : 1. The level of parents’ activity in self-discipline training promotion for students , family relation , emotional control and awareness in roles were at a high level. 2. The parents’activity in self-discipline training promotion for students in The Demonstration schools, Nakhon Pathom province as classified by offsprings’ gender , educational level, occupation, amount of offsprings and family’s financial status were not statistical difference. 3. Awareness in roles, emotional control and family relation predicted the parents’ activity in self-discipline training promotion for students at the percentage of 63.3 with statistical significance at .01.
Description: 55256208 ; สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน -- วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1021
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55256208 วัลลภา วงศ์ศักดิรินทร์.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.