Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Title: การบริหารการพัฒนางานเวชระเบียนในประเทศไทย
Other Titles: DEVELOPMENT ADMINISTRATION OF MEDICAL RECORD IN THAILAND
Authors: เครือสุวรรณ, นพมาส
KRUASUWAN, NOPPAMAS
Keywords: การบริหารการพัฒนา
เวชระเบียน
DEVELOPMENT ADMINISTRATION
MEDICAL RECORD
Issue Date: 4-Apr-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับพัฒนาการงาน เวชระเบียนในประเทศไทย 2) กำหนดทิศทางการบริหารการพัฒนางานเวชระเบียนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เนื้อหาพัฒนาการงานเวชระเบียนในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง จากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน 2) วิเคราะห์ทิศทางการบริหารการพัฒนางานเวชระเบียนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงอนาคต แบบ EDFR เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามความคิดเห็น จากผู้เชี่ยวชาญ 21 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาการงานเวชระเบียนในประเทศ ระยะแรก ประเทศไทยพบหลักฐานการบันทึกทางการแพทย์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2229 พบการบันทึกการทำศัลยกรรมทหารฝรั่งเศสที่ถูกแทง ต่อมากรุงรัตนโกสินทร์ ใน ปี พ.ศ. 2380 พบสถิติทางการแพทย์ และการบันทึกการผ่าตัดครั้งแรกในประเทศไทย ระยะที่สอง เมื่อประเทศไทยเปิดโรงพยาบาลและโรงเรียนแพทย์ เริ่มมีการอบรมให้ความรู้กับผู้ปฏิบัติงานเวชระเบียนโดยได้รับความร่วมมือจากองค์การอนามัยโลก หลักสูตรอบรมหลักสูตรแรกจัดขึ้น ในปี พ.ศ. 2507 เป็นหลักสูตร 1 ปี ระยะที่สาม เป็นระยะการจัดการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนางานเวชระเบียนในประเทศไทย หลักสูตรการศึกษาหลักสูตรแรก ในปี พ.ศ. 2518 ชื่อหลักสูตรประกาศนียบัตรเวชสถิติ โดยกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง ชื่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน โดยมหาวิทยาลัยมหิดล และในปี พ.ศ. 2555 เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี ชื่อหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชระเบียน โดยกระทรวงสาธารณสุข ระบบงานเวชระเบียนในประเทศไทยเริ่มนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานเวชระเบียนตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2502 และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง 2. ทิศทางการบริหารการพัฒนางานเวชระเบียนที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยประกอบด้วย 13 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านอนาคตของงานเวชระเบียน 2) ด้านโครงสร้างการบริหารการพัฒนา 3) ด้านยุทธศาสตร์และการลงทุน 4) ด้านการบริหารกิจการและภาวะผู้นำ 5) ด้านการสร้างความร่วมมือ 6) ด้านการบริการและการนำไปใช้ประโยชน์ 7) ด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี 8) ด้านมาตรฐานและความสามารถในการทำงานร่วมกัน 9) ด้านการออกกฎหมาย นโยบาย การปฏิบัติ 10) ด้านการพัฒนาบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ควรมีสมรรถนะหลักคือความรู้ความเข้าใจทางเวชระเบียน โรค รหัสทางการแพทย์ มีสมรรถนะเฉพาะเพื่อรองรับระบบระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ มีการประสานงานที่ดี มีทัศนคติที่ดี มีใจรักในวิชาชีพ มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ และความคิดสร้างสรรค์ 11) ด้านองค์กรวิชาชีพ 12) ด้านการจัดการศึกษา มีเครือข่ายและประสานความร่วมมือ การจัดการศึกษาคำนึงถึง เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสามารถประยุกต์ในการดำเนินงานเวชระเบียน มีสมรรถนะในการวิเคราะห์ระบบ วิเคราะห์ข้อมูล การบริหารข้อมูลแบบมืออาชีพ การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล และการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ในการจัดหลักสูตรควรจัดเป็นวิชาเอก และ 13) ด้านการขับเคลื่อน The purposes of this study were: 1) to get the deep understanding on the development of medical record in Thailand and 2) to set up the direction of the development administration for suitable medical record for Thailand. There were 2 steps of research methodology; 1) analyzing the content of medical record development in Thailand. This step the research used the semi-structured interview form for collecting the data from 6 experts 2) for set up the direction for development administration for suitable medical record in Thailand which applied the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) and the semi-structured interview form and opinionnaire were used for collecting the data from 21 experts. Analytical statistics were median, mode and interquartile range. The findings of this research were as follows: 1. The study of medical record development in Thailand revealed that; firstly, in Ayutthaya period , the first medical record of a surgery on stabbed French soldier was found while in Rattanakosin , medical statistic and surgery records were firstly found. Secondly, in B.E. 2507 when Thai hospital and medical school were first opened, the first training, a one-year course, for medical record staff was performed with a support of WHO. Thirdly, the first medical record curriculum, namely Certificate in Medical Statistics in B.E. 2518 by Ministry of Public Health. In B.E. 2534, a higher degree, a Bachelor of Science in Medical record, was established by Mahidol University following by a Bachelor of Public Health in Medical Record by ministry of public Health in B.E. 2555. It was also found that computer system has been applied in medical record works in Thailand since B.E. 2502. 2. A suitable direction for development administration of medical record in Thailand consists of 13 areas namely; 1) future of medical record 2) structure of development administration 3) strategy and investment 4) leadership and governance 5) cooperation 6) service and application 7) infrastructure 8) standardization and interoperability 9) legislation, policy and implementation 10) workforce development in order to develop an understanding of medical record, disease and coding which were the key competencies to serve electronic medical record and to develop cooperating skills as well as positive professional attitude, professional ethics, responsibility, loyalty and creativity 11) professional organization 12) education which required network and collaboration in education development especially for learners should have IT skills which could be applied in medical record work. The capabilities in system analysis, data analysis, professional data management, and data quality assurance and moral must be included in the curriculum as major subjects and 13) Propulsion.
Description: 56252911 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- นพมาส เครือสุวรรณ
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1032
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56252911 นพมาส เครือสุวรรณ .pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.