Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1066
Title: การนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ
Other Titles: THE SUPERVISION FOR INSTRUCTIONAL CAPACITY DEVELOPMENT OF THE ENGLISH TEACHER
Authors: ลี้กิจเจริญผล, ศิริวรรณ
LEEKITCHAROENPHON, SIRIWAN
Keywords: การนิเทศการศึกษา
ครูภาษาอังกฤษ
EDUCATIONAL SUPERVISION
ENGLISH TEACHER
Issue Date: 15-May-2560
Publisher: มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ การจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 127 เขตพื้นที่การศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ผู้บริหารสถานศึกษา/หัวหน้าวิชาการโรงเรียน และครูภาษาอังกฤษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น จำนวน 508 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาทักษะการสอนภาษาอังกฤษ 2) การช่วยเหลือ ครูภาษาอังกฤษเชิงบูรณาการ 3) การประยุกต์เทคนิคนิเทศที่หลากหลาย 4) การส่งเสริมทัศนคติ การสอนภาษาอังกฤษที่ดีให้แก่ครู 5) การพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของครูภาษาอังกฤษ 6) การส่งเสริมการวางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 7) การจัดระบบการสนับสนุนครูภาษาอังกฤษ และ 8) การสร้างความสัมพันธ์และการยอมรับของผู้นิเทศ 2. องค์ประกอบการนิเทศเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาอังกฤษ เป็นองค์ประกอบ ซึ่งมีความเหมาะสม เป็นไปได้ มีประโยชน์ และมีความถูกต้อง The purposes of this research were : 1) to identify factors of supervision for instructional capacity development of the English teacher and 2) to confirm supervision for instructional capacity development of the English teacher factors. The samples of this study consisted of 127 Primary Educational Service Area Office. The respondents from each Primary Educational Service Area Office were a director of supervisor, English supervisor, school director and English teacher, with a total of 508 persons. The research instruments were In-depth interview form and opinionnaires. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, exploratory factor analysis and content analysis. The research findings were as follows : 1. The factors of supervision for instructional capacity development of the English teacher consisted of 8 factors; 1) English teaching skill development, 2) Integration of the English teacher collaboration, 3) Application of various supervision techniques, 4) Encouragement of good English teaching attitude, 5) Development of good qualification of English teacher, 6) Encouragement of planning in managing of learning English, 7) Management of encouragement of English teachers and 8) Building up relationship and agreement among supervisor. 2. The factors of supervision for instructional capacity development of the English teacher were appropriate, possible, useful and accurate.
Description: 56252922 ; สาขาวิชาการบริหารการศึกษา -- ศิริวรรณ ลี้กิจเจริญผล
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1066
Appears in Collections:Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56252922 ศิริวรรณ ลี้กิจเจริญผล.pdf14.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.