Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1136
Title: PHETCHABURI ART SCHOOL’S MOVABLE CREMATORIUM : STYLES, CONCEPTS AND MEANINGS.
เมรุลอยสกุลช่างเพชรบุรี : รูปแบบศิลปกรรม แนวคิดและคติการสร้าง
Authors: Kamonrat CHUANSABUY
กมลรัตน์ ชวนสบาย
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: เมรุลอย
ปราสาท
MOVABLE CREMATORIUM
PRASAT
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This research aims for understanding the architectural conception and style of the Petchaburi Art School’s movable crematorium. The creation in the earlier stage only served the upper class, which later has been spread widely to the religious community and townspeople. The presumption, according to the primary document research and the field work, suggests that the movable crematorium is probably influenced by the royal crematory. The result of this research indicates that the Petchaburi Art School’s movable crematorium is made following the conception of mandala, which can be seen in the royal crematory. Pyramidal platforms imply Mount Meru, above which a prasat-typed building as Vaijayanta stands. A smaller movable crematorium in each corner stands for each continent in Buddhist cosmology. The architecture is in Rattanakosin Art, with significant painting on the pedestal represents Petchaburi Art School’s characteristic. However, some decorative elements have been removed or reduced for easier assemblage and distinguishing between the social hierarchy. The character of its roof can be categorized into three types as follow:  Bell-shaped stupa on the multi-tiered roof, This style can be found only in Wat Yai Suwannaram. Prang-typed stupa above the pyramidal duplicated building on the multi-tiered roof in cross plan, These styles can be found in Wat Wangbua, Wat Pradit Wanaram and  Wat Koh. Bell-shaped stupa on the roof, This style can be found only in Wat Huay Sue. People generally believe that the movable crematorium expresses their deep gratitude to the dead, when it is believed to be a carter carrying their souls to the heaven. This idea also shares with the noble’s funeral. Moreover, it is also the representative of the family’s social and financial status. Nevertheless, the movable crematorium rental cost nowadays is relatively high, while people choose a permanent crematorium instead for reasons of a lower cost and more convenience. Therefore, the usage of movable crematorium tends to be much decreased.   
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปกรรม แนวคิดและคติการสร้างเมรุลอยสกุลช่างเพชรบุรี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่คลี่คลายจากการใช้งานของชนชั้นสูงมาสู่พระสงฆ์และสามัญชนทั่วไป ทั้งนี้ในเบื้องต้นผู้ศึกษาสันนิษฐานว่าเมรุลอยคงได้รับแรงบันดาลใจทั้งด้านรูปแบบ แนวคิดและคติการสร้างมาจากงานพระเมรุของหลวง โดยได้ทำการค้นคว้าข้อมูลทั้งที่เป็นเอกสาร ข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจและนำมาวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ศิลปะ ผลการวิจัยพบว่าเมรุลอยสกุลช่างเพชรบุรีได้รับแนวคิดและคติการสร้างมาจากความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุตามแบบอย่างงานพระเมรุของหลวง ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปการทำฐานซ้อนชั้นสูงแสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ มีเมรุประธานแสดงสัญลักษณ์แทนไพชยนต์ปราสาทซึ่งแสดงออกในรูปการทำเป็นอาคารทรงปราสาทหรือเรือนฐานันดรสูงและมีเมรุทิศแสดงสัญลักษณ์แทนทวีปทั้ง 4 โดยรูปแบบศิลปกรรมที่ปรากฏการทำในปัจจุบันได้รับแรงบันดาลใจมาจากอาคารทรงปราสาทในศิลปะรัตนโกสินทร์ หากแต่ได้มีการปรับเปลี่ยนและลดทอนการประดับบางประการเพื่อความสะดวกในการประกอบ รื้อถอนและเพื่อไม่ให้เป็นการทำที่เผาศพทัดเทียมพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ สามารถจัดแบ่งตามรูปแบบของชั้นหลังคาและส่วนยอดได้เป็น 3 กลุ่ม คือ เมรุลอยกลุ่มเรือนยอด ปรากฏการทำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่วัดใหญ่สุวรรณาราม เมรุลอยกลุ่มเรือนชั้น ปรากฏการทำที่วัดวังบัว วัดประดิษฐ์วนารามและวัดเกาะ และเมรุลอยกลุ่มเครื่องยอดทรงเจดีย์ ปรากฏการทำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่วัดห้วยเสือ นอกจาากนี้ยังมีการประดับภาพล่องถุนอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเมรุลอยสกุลช่างเพชรบุรี สำหรับสามัญชนหรือชาวบ้านทั่วไปเชื่อว่าการใช้เมรุลอยเป็นที่เผาศพถือเป็นเครื่องแสดงความกตัญญูอย่างสูงต่อผู้ตายหรือบรรพบุรุษด้วยเชื่อว่าเป็นการส่งดวงวิญญาณขึ้นสู่สรวงสวรรค์ดังเช่นชนชั้นสูง อีกทั้งยังเป็นเครื่องแสดงหน้าตาและฐานะทางสังคมของผู้ตายหรือวงศ์ตระกูล อย่างไรก็ตามเนื่องจากการเช่าเมรุลอยในแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายสูงประกอบกับปัจจุบันชาวบ้านหันไปให้ความนิยมในการใช้เมรุปูนเป็นที่เผาศพเนื่องจากมีความสะดวกและราคาถูกกว่า ส่งผลกระทบทำให้เมรุลอยมีแนวโน้มการใช้งานลดลงเป็นอย่างมาก
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1136
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107201.pdf18.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.