Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1137
Title: The Style Concept and Inspiration of the lower garment of Sukhothai Sculpture
แนวคิดและแรงบันดาลใจด้านรูปแบบผ้าทรงในประติมากรรมสุโขทัย 
Authors: Natchanoke TAENGTABTIM
เนตรชนก แตงทับทิม
Rungroj Thamrungraeng
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ผ้าทรง
สมพตโจงกระเบน
ประติมากรรมสุโขทัย
Lower garment
Sompot Chong Kaban
Sukhothai Sculpture
Issue Date:  25
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The purposes of this research were to study the style concept and inspiration of the lower garment of Sukhothai sculpture from the13Century A.D to the15Century A.D to identified original style and finally to the reconstruction. The study was divided into 2 important issues which are the wearing and the textile. The research is categorized into 4 difference sections, the forward: Statements and the significance of problems. The second is the style of wearing lower garment retrieved by separated into 3 groups which are Khmer Lanka inspiration and the combined of those. The third section is the comparison and analysis by using decorative sculpture found at the historical sites in Sukhothai and the last section is the conclusion and suggestion. The result of this research is as follows: Sompot Chong kaban in Khmer group is based on the back strap loom. The limitation width of fabric composes the style and method of wearing differently from the Lanka style that based on the floor loom. This distinction shows higher innovation of fabric that has been produced from the outside region. The Lanka lower garment influenced represent more decorative than only functional by using Kati sutra, nivi and patka as component. The wearing of lower garments from Sukhothai sculpture is able to study and reconstruction reasonably and reflect the paradigm of Sukhothai Artisan at the time.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษารูปแบบและแรงบันดาลใจของผ้าทรงในประติมากรรมสุโขทัย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่18 ถึงพุทธศตวรรษที่20 เพื่อนำมาอธิบายรูปแบบ ที่มาและสามารถศึกษาวิธีการนุ่ง จนนำมาสร้างใหม่ได้ โดยศึกษาในสองประเด็นหลักคือ วิธีการนุ่งและลวดลายผ้า เนื้อหาของการวิจัยแบ่งออกเป็น4บทได้แก่ บทที่1กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา บทที่ 2 กล่าวถึงที่มาของรูปแบบการนุ่งผ้าทรงอิทธิพลจากศิลปะต่างๆโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การนุ่งผ้าทรงอิทธิพลศิลปะเขมร ลังกาและแบบผสมเขมรกับลังกา  บทที่ 3 ทำการเปรียบเทียบและวิเคราะห์ โดยใช้ตัวอย่างจากประติมากรรมประดับศาสนาสถานในสุโขทัยและบทที่ 4 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยพบว่า 1.การนุ่งสมพตโจงกระเบนแบบเขมร มีที่มาจากการผลิตผ้าด้วยกี่รั้งเอว โดยมีข้อจำกัดด้านหน้าผ้าเป็นตัวกำหนด ส่งผลต่อวิธีการนุ่ง ต่างจากผ้าหน้ากว้าง ที่ผลิตจากกี่หลังของอินเดียและลังกา แสดงให้เห็นถึงความเจริญที่สูงกว่า ทางการคิดคำนวนการผลิตผ้าจากภายนอกภูมิภาค 2.ผ้าทรงในกลุ่มอิทธิพลลังกา แสดงลักษณะการตกแต่งในการนุ่งที่มากกว่าประโยชน์ด้านการใช้สอย โดยปรากฏส่วนประดับต่างๆเพิ่มเข้ามาเช่น กฏิสูตร นิวิและปฏากกะ ซึ่งต่างจากสมพตโจงกระเบนแบบเขมร ในกลุ่มผ้าทรงอิทธิพลเขมร 3.วิธีการนุ่งผ้าทรงทุกแบบที่ปรากฏในประติมากรรมสุโขทัย สามารถศึกษาและนำกลับมาสร้างใหม่ ( Reconstruction)ได้และสามารถอธิบายที่มาได้อย่างเป็นรูปธรรม สะท้อนความคิดของช่างสุโขทัยในระยะเวลานั้นๆได้
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1137
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58107308.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.