Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1150
Title: The Image Analysis of Traibhumikatha Book of King Rama IX Edition.
 การวิเคราะห์ภาพจิตรกรรมในหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9
Authors: Aekarot JINTAMAI
เอกรส จินตะมัย
Sakchai Saisingha
ศักดิ์ชัย สายสิงห์
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: ไตรภูมิกถา
รัชกาลที่ 9
จิตรกรรม
Traibhumikatha
King Rama 9
Painting mural
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: A study The Trai Bhumikatha book (Sermon on the Three Worlds) of King Rama IX edition, can know about pattern and concept of the Artists who made this edition. The top until down of structure start with Thai tradition concept of Trai Bhumikatha book. The element of pattern was expanded for broaden out and the important position was putted in the same level. The top of structure about the concept of Thai tradition painting mural which still without appearance even though the soul. The abstract concept so difficult painting to the concrete object. In the middle of structure the Artists choose concept and method of His Royal Highness Prince Chitcharoen, the Prince Narisara Nuvativongse for connect the concepts of Thai tradition painting mural (Formless Planes) with King Rama IX contemporary concepts by the way of life in nowadays which Tha - Chang, Wang - Lhoung background (Sensuous Planes) thought concept’s Thai Artist : Preecha Thouthong. A study Trai Bhumikatha Buddhist cosmology: the illustrated King Rama IX edition that can know the Buddhism story by tradition pattern and concept. So, it change some detail such as background of Town, the important situation and the way of life in nowadays. The story in book still tradition concept such as teach for do good thing and ashamed to do enormity. So, I was analyze all tree concepts by separate pattern from Spindle structure.
จากการศึกษาสมุดภาพไตรภูมิกถาฉบับรัชกาลที่ 9 สามารถบอกถึงรูปแบบและแนวความคิดของคณะทำงานผู้สร้างสรรค์สมุดภาพดังกล่าวโดยเริ่มจากตำแหน่งด้านบนสุดตามคติไตรภูมิลงมาถึงตำแหน่งด้านล่างสุด การจัดวางองค์ประกอบของภาพมีการปรับขยายพื้นที่ให้มีความกว้าง และการวางตำแหน่งภาพที่สำคัญเท่ากันให้อยู่ในระนาบเดียว  ในส่วนของรูปแบบและแนวความคิดจิตรกรรมไทยแบบประเพณีในตำแหน่งบนสุดของโครงสร้างภาพได้คงไว้ซึ่งคติของการปราศจากรูปร่างแม้กระทั้งดวงจิต ซึ่งเป็นลักษณะการอธิบายในเชิงนามธรรม จึงเป็นการยากที่จะเขียนเป็นภาพจิตรกรรมหรือรูปธรรมได้ แนวความคิดจิตรกรรมไทยประเพณีตามแนวทางการทรงงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งเป็นส่วนกลางของภาพตามโครงสร้างแนวตั้ง เพื่อต้องการสื่อถึงรอยต่อระหว่างช่วงเวลาของแนวความคิดไทยประเพณีในชั้นอรูปภูมิไปสู่แนวความคิดร่วมสมัยในรัชกาลที่ 9 สื่อให้เห็นชั้นกามภูมิของวิถีชีวิตปัจจุบันผ่านรูปแบบและแนวความคิดของจิตรกรอย่างอาจารย์ปรีชา เถาทอง   จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบว่า ในส่วนของโครงเรื่องเป็นการเล่าเรื่องไตรภูมิ ตามแบบแผนดั้งเดิม โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด เช่น ฉากหลังสภาพบ้านเรือน เหตุการณ์สำคัญ สภาพวิถีชีวิตสังคมปัจจุบัน โดยยังคงไว้ซึ่งเนื้อหาที่ยึดหลักแนวคิดที่สอนให้ทำความดี และละอายต่อการทำชั่ว ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ตามแนวความคิด โดยแยกรูปแบบตามโครงสร้างภาพแกนตั้งที่ปรากฏในแนวคิดนั้นๆ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1150
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56107321.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.