Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1154
Title: A Critical Study of the Mūlasarvāstivādavinayavastu with Special Reference to Bhaiṣajyavastu
การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินัยวัสตุ-ศึกษาเฉพาะไภษัชยวัสตุ
Authors: Seksan SAWANGSRI
เสกสรรค์ สว่างศรี
Samniang Leurmsai
สำเนียง เลื่อมใส
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ/ไภษัชยวัสตุ/การศึกษาวิเคราะห์
Mūlasarvāstivādavinayavastu/Bhaiṣajyavastu/a Critical Study
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: The objective of this thesis is: firstly to transliterate the section named Bhaiṣajyavastu of the Mūlasarvāstivādavinayavastu in Devanagari script into Thai script, secondly to translate the text into Thai and thirdly to make a critical study of the translated section. The following are the findings: 1. The text is written in prose with intermittent verses in the style called Campū in Sanskrit literature. The prose part is written in fairly correct Classical Sanskrit whereas the part in verses are written in mixed Sanskrit which does not follow Paṇini’s grammar. Alaṅkāras or literary embellishments of different kinds in both categories, namely the Śabdālaṅkāras, the sound embellishments, and Arthālaṅkāras, the sense embellishments, are found used usually in the verses. 2. The Bhaiṣajyavastu is a section dealing with different kinds of medicines. The medicines found in the text are substance, herbs and materials derived from animals. Some herbs are mentioned to be medicine but clear methods how to use them are not mentioned. 3. The Bhaiṣajyavastu also reflects the society during the time when the text was compiled. The social class during that time followed the caste system of ancient India in which people were divided into 4 Varṇas (caste), namely Brāhmaṇa, priest, Kṣatriya, warrior, Vaiśya, merchant and Śūdra, servant. The main occupations of the people, especially of the Vaiśyas,  were agriculture, home industry, trade, cattle raising, art and craft etc. Food and drinks of different kinds are also mentioned in the text. The way of life of the Buddhists, the Buddhist Monasteries and the Buddhist style of worship in that period are mentioned. 4. With regard to education of the people, it is found that the Brahmaṇas studied the Veda and Vedāṅgas, the classes of works regarded as auxiliary to the Veda, whereas the Buddhist monks studied the canon (piṭaka) consisting of the doctrines taught by the Buddha and the disciplines promulgated by Him. They also taught the people the Buddha’s doctrines. The study and usage of incantations are also mentioned in the text. Physical education was undertaken by the Kṣatriyas. The Bhaiṣajyavastu also contains doctrines of the Buddha. Hindu concepts and Hindu Saṃskāras or Purificatory Rites are also referred to.     
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปริวรรตและแปลคัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ เฉพาะส่วนที่ว่าด้วยไภษัชยวัสตุจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทย รวมถึงศึกษาความเป็นมาและลักษณะทางด้านภาษาของคัมภีร์ รวมทั้งภาพสะท้อนทางด้านต่าง ๆ หลักธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ ผลจากการปริวรรตและแปลคัมภีร์นั้นพบว่า คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุส่วนใหญ่โดยเฉพาะส่วนที่เป็นร้อยแก้วประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตมาตรฐาน ซึ่งเป็นการประพันธ์ที่เรียบง่ายและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ส่วนที่เป็นร้อยกรองหรือคาถาเท่านั้นที่ประพันธ์ด้วยภาษาสันสกฤตผสม ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของภาษาสันสกฤตมาตรฐาน อาจเป็นเพราะส่วนที่เป็นคาถานั้นผู้ประพันธ์จำเป็นต้องใช้ศัพท์เฉพาะทางพุทธศาสนาซึ่งอาจเป็นภาษาถิ่นบาลี หรือถิ่นปรากฤต ทั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นไปตามฉันทลักษณ์ที่ตนต้องการ อีกทั้งยังมีการใช้ภาษาอย่างประณีตพรรณนาเรื่องไว้อย่างเด่นชัด มีการเปรียบเทียบให้ผู้อ่านได้เห็นภาพราวกับอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์นั้น ๆ ปรากฏทั้งศัพทาลังการและอรรถาลังการ ในส่วนที่เป็นเนื้อหาของคัมภีร์นั้นปรากฏชื่อสมุนไพรที่ใช้เป็นเภสัชซึ่งมีอยู่หลายชนิด โดยบางชนิดกล่าวไว้แต่เพียงว่า ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นยาเท่านั้นแต่มิได้ระบุว่าใช้เป็นยาอะไรหรือรักษาโรคอะไรได้บ้าง นอกจากเรื่องยาแล้วไภษัชยวัสตุนั้นยังประกอบไปด้วยข้อมูลที่สำคัญสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของชีวิตผู้คนในครั้งพุทธกาลหรือช่วงหลังพุทธกาล ด้านการปกครอง  ด้านฐานะและบทบาทของคนในสังคมยังคงแบ่งกันชัดเจนตามระบบวรรณะทั้ง 4 ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร อย่างชัดเจน และอาชีพหลักของผู้คนในสมัยนั้นแบ่งออกเป็น 5 ประเภทด้วยกันคือ 1. งานเกษตรกรรม 2. งานอุตสาหกรรม 3. งานธุรกิจ 4. งานคหกรรม 5. งานศิลปกรรม ด้านการศึกษา ส่วนใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์จะเป็นการศึกษาของพระภิกษุที่เล่าเรียนพระไตรปิฎกและพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน รวมไปถึงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเวทมนตร์ นอกจากนี้ยังมีศึกษาของพราหมณ์ที่เรียนจบเวทางคศาสตร์ การศึกษาของกษัตริย์เกี่ยวกับอักษรศาสตร์และและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางด้านกายภาพ ด้านวัฒนธรรมและประเพณีสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการบริโภค การแต่งกาย อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องประดับ ถึงแม้คัมภีร์ไภษัชยวัสตุนั้นจะเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นนำเสนอหลักคำสอนทางพุทธศาสนาแต่ก็ยังสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตแบบพราหมณ์-ฮินดูอีกด้วยโดยเฉพาะพิธีที่จะต้องปฏิบัติในแต่ละช่วงของชีวิตหรือพิธีสังสการ ด้านศาสนาในไภษัชยวัสตุนั้นกล่าวถึงศรัทธาหรือหลักความเชื่อ ซึ่งหลักความเชื่อนี้เองได้มุ่งเน้นสอนให้พุทธศาสนิกชนเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าและเรื่องกรรม คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าทรงมีอยู่จริง เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมว่า กรรมที่ทำนั้นจะให้ผลแน่นอนทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ทำกรรมดีก็ได้ผลดี ทำกรรมชั่วก็ได้ผลชั่ว อีกทั้งมีการกล่าวถึงวิถีชีวิตของพุทธศาสนิกชน พุทธศาสนสถาน และรูปแบบของการสักการะในยุคสมัยนั้นมีอย่างต่าง ๆ เช่น การสวดบทสดุดี การระลึกถึง การถวายก้อนดินเหนียว ดอกไม้ พวงมาลัย ประทีป เป็นต้น
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1154
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57116807.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.