Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1194
Title: STUPAS OF OF PHRAE PROVINCE SINCE 16th CENTURY TO PRESENT
เจดีย์เมืองแพร่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21-ปัจจุบัน
Authors: Nantaporn POOMMANEE
นันทพร พุ่มมณี
RUNGROJ THAMRUNGRAENG
รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
Silpakorn University. Archaeology
Keywords: เจดีย์
รูปแบบสถาปัตยกรรม
เมืองแพร่
STUPA
CHEDI
ARCHITECTURE
PHARE
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This dissertation aimed to study the connection between history and the development of art from the 16th century AD to the present time by examining historical, archeological and architectural-styled evidences.                   It has been found from the study that the main artistic influence which has affected the art in Phrae area from the past to today is Lanna art. There have also been Mon, Burmese and Rattanakosin styles, together with local appreciation and significant religious persons’ preference. The Phrae-styled stupas, thus, have created with characteristics of each category. The styles began with Lanna bell-shaped stupas that seemed similar to Phrathat Hariphunchai pagoda in the late 16th century AD; then developed to the octagonal bell-shapes ones with the preference of having Bua Thala bases imitated from Phrathat Chohae pagoda. This architectural feature has been passed down until today, as well.  Apart from the bell-shaped stupas, stupas with Lanna-styled spikes on top of the structures in the category of Wat Srichum and Phrathat Luang Nueng pagoda are found.      Later in the 19-20 century AD remained bell-shaped stupas having Burmese-Mon style, which can be categorized as Amarapura-Mandalay art. This architectural feature has been shown by the bell-shaped and the solid-spiked vihara forms, which exist only in Amphoe Mueang and Amphoe Long areas.   At present occur various forms of stupas because of Rattanakosin-styled influence. There are both traditional and adapted Lanna styles; the Rattanakosin feature like a niche at the end of each stupa, stuccoworks and glass decoration are increased. Moreover, the new features developed at this time are to construct huge groups of stupas and to enlarge the stupa bases in order to use the internal areas. All characteristics have been caused by the development of materials and constructional technics, together with the ideas of senior monks who are the developers. Generally, the characteristic of stupas in Phrae area in Rattanakosin period can be counted as the adapted Lanna style.     
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางด้านประวัติศาสตร์และพัฒนาการทางด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมของเจดีย์ในจังหวัดแพร่ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 จนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี รูปแบบสถาปัตยกรรม           ผลการศึกษาพบว่า อิทธิพลของศิลปะที่ส่งผลให้กับเมืองแพร่นั้น ได้รับอิทธิพลศิลปะล้านนาเป็นหลักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ร่วมด้วยอิทธิพลศิลปะมอญ-พม่า และอิทธิพลรัตนโกสินทร์  ผสมผสานกับศิลปะท้องถิ่น และความต้องการของบุคคลทางศาสนาที่มีความสำคัญจนเกิดเป็นเจดีย์สกุลช่างเมืองแพร่ ที่มีลักษณะเฉพาะหลายกลุ่ม เริ่มต้นโดยเจดีย์ทรงระฆังกลมแบบล้านนา มีลักษณะคล้ายกับพระธาตุหริภุญชัย ซึ่งมีอายุในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 จากนั้นพัฒนารูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังในผังแปดเหลี่ยม ลักษณะส่วนรองรับองค์ระฆังชั้นบัวถลานิยมสร้างอย่างแพร่หลาย ดังมีพระธาตุช่อแฮเป็นต้นแบบ และมีสืบทอดรูปแบบจนถึงสมัยปัจจุบัน นอกจากเจดีย์ทรงระฆังแล้ว เมืองแพร่ยังพบลักษณะของเจดีย์ทรงปราสาทยอดแบบล้านนาในกลุ่มของวัดศรีชุม และพระธาตุหลวงเนิ้ง           ในขณะเดียวกันช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 นั้น ปรากฏลักษณะเจดีย์ทรงระฆังรูปแบบศิลปะพม่าผสมมอญ  จัดกลุ่มในกลุ่มของศิลปะสมัยอมรปุระ-มัณฑเล  มีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังและเจดีย์ทรงวิหารยอดแบบทึบตัน ซึ่งพบเฉพาะในเขตอำเภอเมืองและอำเภอลอง           ในปัจจุบันอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ เกิดเจดีย์รูปแบบหลากหลาย ทั้งรูปแบบที่สืบทอดศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิม รูปแบบเป็นลักษณะล้านนาประยุกต์ และมีการเพิ่มรายละเอียดตกแต่งที่มีลักษณะของศิลปะรัตนโกสินทร์ เช่น จระนำ ลวดลายปูนปั้น การประดับกระจก  ลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ คือ กลุ่มเจดีย์ขนาดใหญ่และการปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย โดยการเน้นส่วนฐานใหญ่ขึ้นจนสามารถใช้งานภายในได้ และเนื่องจากมีการพัฒนาทางด้านวัสดุ เทคนิคการก่อสร้าง ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลจากสายของเจ้าอาวาส ครูบาสายนักพัฒนา ซึ่งโดยรวมแล้วลักษณะของเจดีย์เมืองแพร่ในช่วงรัตนโกสินทร์คือลักษณะของศิลปะแบบล้านนาประยุกต์
Description: Doctor of Philosophy (PH.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1194
Appears in Collections:Archaeology

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
55107901.pdf16.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.