Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1195
Title: A Comparative Study of DasakanthaIn Various Versions of The Ramakien
การศึกษาเปรียบเทียบตัวละครทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับต่างๆ
Authors: Chollada MONGKOL
ชลลดา มงคล
Pattama Theekaprasertkul
ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล
Silpakorn University. Arts
Keywords: ทศกัณฐ์
รามเกียรติ์
Dasakantha
Ramakien
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: This study aims to compare characteristics, character creation, and factors of character creation of Dasakantha in different Ramakien versions: the version of King Rama I, the local versions of the north (called Paramahien, Horaman, Prommachak, and Lankasibho), the local versions of the northeast (called Pralak Pralam, Praram Jataka, and Kwai Tuarapee), the local versions of the south and the west consisting of Ban Kuankaey version, Wat Tha-khae version, and Wat Khanon version. The findings reveal that appearance of Dasakantha in some local versions is exquisite while it is terrifying similarly to that in the version of King Rama I. However, Dasakantha in three northern versions (including Paramahien, Horaman, and Prommachak) and in all northeastern versions is not a demon. This is possibly because of the distortion the local novelists inserted into the details of the character. What Dasakantha in the local versions shares with that in the version of King Rama I are that it is knowledgeable and possesses transfiguration ability, heart transfer ability, and mighty physical power. Dasakantha’s fantasy possession such as having magical eyes and weapons makes the character in the local versions different from that in the version of King Rama I. This reflects the local bards’ fantasy creation which is different from that of the royal bard. Dasakantha’s characteristic which is similar in both the local versions and the version of King Rama I is sexually romantic indulgence and it is the cause driving him to kidnap Sita (Pra Ram’s wife) from her husband. This leads to the warfare between demon and human being, and this war is the main theme of the story. Dasakantha in the version of King Rama I was created to be a round character expressing human-like characteristics. Dasakantha in the version of King Rama I plays roles of king, husband, and father in more various aspects than that in the local versions. This may be an influence of story length and bard’s intention in creating the story. Character creation makes Dasakantha in the version of King Rama I different from that in local versions. In version of King Rama I, Dasakantha is realistic, fantastic, idealistic, and antagonistic. In the local versions of the north and northeast, Dasakantha is included in Jataka tales. This reflects belief and faith in Buddhism of the local. Presentation of Dasakantha in the version of King Rama I is similar to that in the local versions that it is presented through 3 sources: the bards’ narrative, other characters’ words, and actions of Dasakantha.
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตัวละครทศกัณฐ์ในด้านลักษณะของตัวละคร กลวิธีการสร้างตัวละคร และปัจจัยในการสร้างตัวละครในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นเหนือ คือ ปรัมมเหียร หอรมาน พรหมจักร และลังกาสิบโห รามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นอีสาน คือ พระลักพระลาม พระรามชาดก และควายทัวระพี กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นใต้และตะวันตก คือ ฉบับบ้านควนเกย ฉบับวัดท่าแค และฉบับวัดขนอน  ผลการศึกษาพบว่า รูปร่างหน้าตาของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นมีความงดงามและบางฉบับมีร่างแปลงที่น่ากลัวเหมือนกับรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 แต่ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นเหนือเรื่องปรัมมเหียร หอรมาน และพรหมจักร กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นอีสานทุกฉบับไม่ได้เป็นยักษ์ ทั้งนี้อาจเกิดจากปัจจัยด้านการแพร่กระจายของนิทานที่กวีท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวละคร คุณลักษณะของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นที่เหมือนรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 คือ มีวิชาความรู้ แปลงกายได้ ถอดดวงใจและมีพละกำลังมาก อย่างไรก็ตาม คุณลักษณะของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นที่มีความเกี่ยวข้องกับตาทิพย์และอาวุธวิเศษทำให้เกิดความแตกต่างกับรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 แสดงให้เห็นมุมมองในการสร้างความบันเทิงของท้องถิ่นที่แตกต่างกับราชสำนัก  ส่วนลักษณะนิสัยของทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นที่เหมือนรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 คือ มัวเมาในกามารมณ์ เพราะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทศกัณฐ์ไปลักนางสีดามาจากพระรามจนทำให้เกิดสงครามระหว่างยักษ์กับมนุษย์ อันเป็นแก่นเรื่องของรามเกียรติ์ ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 มีลักษณะนิสัยที่หลากหลายกว่าทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นแสดงให้เห็นกลวิธีการสร้างตัวละครที่กวีผู้แต่งรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 ต้องการให้ทศกัณฐ์มีลักษณะหลายมิติเหมือนมนุษย์ในสังคม นอกจากนี้ ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นมีการแสดงบทบาทกษัตริย์ บทบาทสามี และบทบาทบิดา แต่ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นมีการแสดงบทบาทไม่หลากหลายเท่ารามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 อาจเป็นเพราะปัจจัยด้านขนาดของเรื่องและวัตถุประสงค์ในการแต่งที่แตกต่างกัน กลวิธีการสร้างตัวละครทศกัณฐ์ทำให้ทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นเป็นตัวละครที่มีลักษณะสมจริง มีความมหัศจรรย์ มีลักษณะอุดมคติ และเป็นตัวละครปรปักษ์ อย่างไรก็ตาม รามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นเหนือและอีสานมีการสร้างทศกัณฐ์ให้มีลักษณะเป็นตัวละครในวรรณคดีชาดกด้วย แสดงให้เห็นความเชื่อและความศรัทธาที่คนในท้องถิ่นมีต่อพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ กลวิธีการนำเสนอตัวละครทศกัณฐ์ในรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 กับรามเกียรติ์ฉบับท้องถิ่นก็มีความเหมือนกัน คือ มีการใช้กลวิธีการนำเสนอแบบกวีบรรยายและตัวละครอื่นกล่าวถึงทศกัณฐ์เพื่อนำเสนอรูปร่างหน้าตาและคุณลักษณะของทศกัณฐ์ และใช้กลวิธีการนำเสนอแบบทศกัณฐ์แสดงพฤติกรรมเองเพื่อนำเสนอลักษณะนิสัยของทศกัณฐ์
Description: Master of Arts (M.A.)
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (อ.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1195
Appears in Collections:Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56202205.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.