Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1234
Title: Analysis of Map Use in Contemporary Art: A Case Study of Guillermo Kuitca
วิเคราะห์การใช้แผนที่ในงานศิลปะร่วมสมัย: ศึกษางานของ กีเยอโม ควีทกา
Authors: Buntharick BUNBHOB
บุณฑริก บุญพบ
Chaiyosh Isavorapant
ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: กีเยอโม ควีทกา
แผนที่
สัจนิยมมหัศจรรย์
ฮอร์เฮ หลุยส์ บอร์เฮซ
Guillermo Kuitca
Map
Magical realism
Jorge Luis Borges
Issue Date:  12
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Geographical maps containing scientific facts that are objectively oriented. The use  of maps in art that are not based on facts can turn a map into a subjective medium and leave the viewer with a wide range of interpretations. Guillermo Kuitca, an Argentinean contemporary artist, created paintings using the concept of models, floorplans and maps as a way of addressing human conditions, earning him the unofficial title as the ‘Space Painter’. His paintings as a mode of knowing the world through structured aesthetic forms derived from the artist’s practice of associating much of his own work with architecture, theatre, music and literature. In particular, a connection to the magical realism literature of fellow Argentinean writer, Jorge Louis Borges, in his use of spatial concept to present multiple realities which reflects our sense of place in the universe, related to many crucial postmodern thinking. The Thesis examines Kuitca’s artistic development focusing on 14 paintings of maps. Methodologies contain the use of map sign systems and their mimetic-arbitrary continuum, together with the use of pictorial symbols as map signs, and the comparative study of space and place in Borges’s fiction. Derived from the understanding of the type of space and elements use in the artist's paintings. Categorized by map contents into following groups; City map, Road map and Terrain map. The result reveals a level of realistic to fantastic use of space. Start with the Terrain map group, showing sensory areas relative to geographic facts. City map group, display spatial data relative to memories and cityscape. Road map group, which overall modified structure gives the reader an unknown territories, born into the imaginary space similar to the structure in Borges’s fiction. Accordingly, the continuity of continuum, the more arbitrary use of map signs, the more imaginary the space resulted. The imaginary space derived from the road map group is one of the most significant result, suggesting that Kuitca has explored the limitless in modifying geographical signs to create works of art. His paintings are psychologically charged works that explore the unknown space through part-whole relationships, the dichotomies between absence and presence, private and public, reality and fiction. As in literature, Borges makes use of the visual components of these structures to create fantastic realities.
แผนที่ทางภูมิศาสตร์นับเป็นสื่อทางวิทยาศาสตร์ที่บรรจุข้อเท็จจริงเชิงภววิสัย การจะนำแผนที่มาใช้ในงานศิลปะเพื่อให้มีลักษณะแบบอัตวิสัยขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้อ่านนั้น ศิลปินจะต้องทำการดัดแปลงรหัสพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เสียก่อน กีเยอโม ควีทกา ศิลปินร่วมสมัยชาวอาร์เจนติน่า ได้สร้างผลงานจากแนวคิดเรื่องพื้นที่ทั้งที่สร้างขึ้นจากจินตนาการและจากข้อมูลตามจริง เพื่อค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลกภายนอก จนได้สมญานามว่า ‘จิตรกรแห่งพื้นที่’ ด้วยการใช้โมเดล แผนผัง แผนที่ ผสมผสานกับแนวคิดเรื่องพื้นที่ที่หลากมิติจากความสนใจในสถาปัตยกรรม การละคร ดนตรี วรรณกรรม โดยเฉพาะวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ของ ฮอร์เฮ หลุยส์ บอร์เฮซ นักเขียนชาวอาร์เจนติน่า ในการนำเสนอความขัดแย้งของความจริงหลายความจริง สะท้อนการรับรู้พื้นที่ของมนุษย์และจักรวาลที่ไร้พรมแดน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องพื้นที่แบบหลังสมัยใหม่ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการใช้แผนที่ในงานของควีทกา จำนวน 14 ชิ้น วิเคราะห์จากการใช้สัญญะของแผนที่ว่ามีลักษณะเลียนแบบความจริงหรือเป็นข้อตกลงตามอำเภอใจ การดัดแปลงใช้รูปสัญลักษณ์แทนสัญญะแผนที่ และการตีความการสื่อความหมายผ่านการใช้พื้นที่ในวรรณกรรมสัจนิยมมหัศจรรย์ของบอร์เฮซ ที่เกิดจากการทำความเข้าใจชนิดของพื้นที่และเนื้อหาที่ได้จากการถอดรหัสองค์ประกอบในงานจิตรกรรมของควีทกา แบ่งการวิเคราะห์ออกตามลักษณะทางกายภาพและสัญญะของแผนที่ ได้แก่ กลุ่มแผนที่เมือง กลุ่มแผนที่ถนน และกลุ่มแผนที่ภูมิประเทศ พบระดับความเหมือนจริงในการนำเสนอที่ไล่ลำดับจากพื้นที่ที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุดไปสู่พื้นที่ทางจินตนาการที่ไม่ขึ้นกับความเป็นจริง เริ่มจากกลุ่มแผนที่ภูมิประเทศ ที่แสดงพื้นที่ทางความรู้สึกสัมพันธ์กับข้อเท็จจริงทางภูมิศาสตร์ ถัดมาคือกลุ่มแผนที่เมือง แสดงข้อมูลพื้นที่ตามจริงสัมพันธ์กับความทรงจำและบรรยากาศของเมือง และกลุ่มแผนที่ถนน ที่แม้จะใช้ข้อมูลตามจริงเป็นส่วนประกอบอยู่บ้างแต่ผลที่ได้กลับสร้างความรู้สึกหลงทิศทางให้กับผู้อ่าน เกิดเป็นพื้นที่ทางจินตนาการคล้ายโครงสร้างในวรรณกรรมของบอร์เฮซ โดยแผนที่กลุ่มที่มีการใช้ระบบสัญญะที่เป็นข้อตกลงตามอำเภอใจสูง ก็จะได้ผลลัพธ์เป็นพื้นที่ทางจินตนาการสูงตามไปด้วย พื้นที่แบบจินตนาการที่ได้จากการดัดแปลงกลุ่มแผนที่ถนนจึงเป็นกลุ่มที่มีลักษณะโดดเด่นที่สุดที่ทำให้เห็นว่าควีทกาได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของการใช้รหัสทางภูมิศาสตร์มาสร้างงานศิลปะ มีผลให้ผู้อ่านตีความเกินออกไปจากต้นฉบับ โดยในแผนที่ของควีทกามีการใช้พื้นที่เชิงอนันต์แบบส่วนรวมส่วนย่อย และพื้นที่ตรงข้าม เช่น การมีตัวตน-การหายไป พื้นที่ส่วนตัว-พื้นที่ส่วนรวม พื้นที่ตามจริง-พื้นที่ทางจินตนาการ เช่นเดียวกับในงานเขียนของบอร์เฮซที่ใช้พื้นที่ดังกล่าวมาสะท้อนความจริงของสรรพสิ่งด้วยความมหัศจรรย์
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1234
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56005208.pdf14.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.