Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1240
Title: Artist Labour Convenience Store
ศิลปิน แรงงาน สะดวกซื้อ
Authors: Kahat SUJIPISUT
คหัฐ ศุจิพิศุทธิ์
Toeingam Guptabutra
เตยงาม คุปตะบุตร
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: แรงงาน
แรงงานอวัตถุ
ทุนนิยมความรับรู้
พนักงานร้านค้าสะดวกซื้อ
ศิลปะวีดิทัศน์
labour
immaterial labour
cognitive capitalism
convenient store staff
video art
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Being served conveniently in a convenient store during rush hours becomes a usual part of people’s daily life in capitalism. The image of staffs arranging goods on selves and persuading customers to buy them makes me think about myself while being in hurry to produce artworks or talking to my audiences in order to convince them to purchase works. Supposedly, my feelings are not different from those staffs’.  I, therefore, made a comparison between the characteristics of artist’s labouring and those of convenient store staffs’.  The comparison relates to surrounding factors that include technology, martket, and finance, all under the mechanism of time in capitalism. My objective is to create artworks viewed as a meduim that encourage awareness, broaden perspectives, and exchange attitudes focusing on the importance of laboring value and  laboring price giving. Information and theories investigated include the developement of convenient stores, cognitive capitalism, the meaning of artist, case study artists, and information from my experiences as a convenient store staff. Outcomes are four pieces of video art: ‘Morning Shift’ (2016) 8.39 minutes long, ‘Afternoon Shift’( 2015) 12.32 minutes long, ‘Night Shift’ (2016) 9.44 minutes long, and ‘Break’ (2018) 11.22 minutes long. They present the lives of convenient store staffs, art making activities that is another aspect of a staff’s life, the context of customers, and staffs’ feelings during their holiday break. Each video work is composed of important elements including image, sound, and text. The artworks leads to this conclusion: ‘time’ developed in these works can reflect laboring in cognitive capitalism, of which characteristics are always changeable, and the laboring value and laboring price giving for convenient store staffs and artist.  The comparison between these two labors is to give examples of labor that exists in a society. The examples may appear different especially in terms of value and price giving. However, at the end, all types of labor cannot set free from the conditions of time in capitalism.       
การได้รับความสะดวกสบายในช่วงเวลาที่เร่งรีบในร้านค้าสะดวกซื้อได้กลายเป็นความเคยชินในชีวิตประจำวันของผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมทุนนิยม ภาพความวุ่นวายในการจัดเรียงสินค้าและกุลีกุจอพูดชักชวนให้ซื้อสินค้าของพนักงานร้านค้าสะดวกซื้อนั้น มักพาให้ข้าพเจ้านึกย้อนกลับมาที่ตัวเองในขณะที่กำลังเร่งมือสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ หรือแม้แต่ตอนที่กำลังพูดคุยกับผู้ชมเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจ/สนใจในผลงาน  ความรู้สึกตอนนั้นมิได้แตกต่างกันกับพนักงานร้านค้าสะดวกซื้อแต่อย่างใด ข้าพเจ้าจึงได้เปรียบเทียบ ลักษณะแรงงานของศิลปินและแรงงานร้านค้าสะดวกซื้อ ที่ประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมอันได้แก่ เทคโนโลยี ตลาด และการเงิน ที่อยู่ภายใต้กลไกทาง“เวลา”ของสังคมในระบบทุนนิยม เพื่อเป็นสื่อกลางที่ส่งเสริมการตระหนักรู้ เปิดมุมมอง และแลกเปลี่ยนทัศนคติถึงความสำคัญของการให้คุณค่าของแรงงาน มีข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาร้านค้าสะดวกซื้อ ระบบทุนนิยมความรับรู้ ความหมายของศิลปิน ศิลปินกรณีศึกษา และข้อมูลจากการลงภาคสนามเป็นพนักงานร้านค้าสะดวกซื้อ ผลลัพธ์ประกอบด้วยผลงานวีดิทัศน์ทั้งหมด 4 ชิ้น คือ ‘กะเช้า’ (2559) ความยาว 8.39 นาที ‘กะบ่าย’ (2558) ความยาว 12.32 นาที ‘กะดึก’ (2559) ความยาว 9.44 นาที ‘พักเบรก’ (2561) ความยาว 11.22 นาที โดยนำเสนอเรื่องราวชีวิตของพนักงานร้านค้าสะดวกซื้อ การทำงานศิลปะ ซึ่งเป็นอีกด้านหนึ่งของพนักงาน บริบทของลูกค้าและความรู้สึกของพนักงานในวันหยุด ผลงานวีดิทัศน์แต่ละชิ้นมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่  ภาพ เสียง และข้อความ/ตัวอักษร ผลงานวีดิทัศน์นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า  “เวลา” ที่เกิดขึ้นในผลงานนั้น สะท้อนให้เห็นถึงแรงงานในระบบทุนนิยมความรับรู้ ลักษณะการทำงานของแรงงานที่สลับผลัดเปลี่ยนกันอยู่ตลอดเวลาอย่างไม่หยุดนิ่ง รวมไปถึงการให้มูลค่าและคุณค่า ไม่ว่าแรงงานนั้นเป็นแรงงานของพนักงานร้านค้าสะดวกซื้อ หรือแรงงานของศิลปิน การนำเสนอการเปรียบเทียบของแรงงานใน 2 ลักษณะนี้ เป็นเพียงการยกตัวอย่างของประเภทแรงงานที่มีในสังคม แรงงานที่ดูเหมือนมีความแตกต่างกันในเรื่องของมูลค่าและการให้คุณค่า แต่ในท้ายที่สุดแรงงานประเภทต่างๆก็หนีไม่พ้นเงื่อนไขทางเวลาในระบบทุนนิยมของสังคมปัจจุบันไปได้
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1240
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56006208.pdf13.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.