Please use this identifier to cite or link to this item: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1282
Title: Gender Transformation
แปลงเพศวัตถุ
Authors: Narissara KIRDKOSOOM
นริศรา เกิดโกสุม
SAKARIN KRUE-ON
สาครินทร์ เครืออ่อน
Silpakorn University. Painting Sculpture and Graphic Arts
Keywords: แปลงเพศวัตถุ
Gender Transformation
Issue Date:  17
Publisher: Silpakorn University
Abstract: Human are automatically and socially classified by gender, age, ability, and even our inside intellectual. This classification is not only bringing us our social roles and duties, but also our daily life routines, in which they involve many kinds of objects that suit for each usage. Originally, objects do not have any significant second meaning in themselves other than their functions that serve different kinds of works. But we cannot deny that we are all familiar with the image of men using heavy industrial machines, as well as the image of women sewing or doing the chore. This is how objects symbolically implicate their genders toward their users. With this reflection, I would like to criticize the social that conventionally binds women with the minor roles. I created my art work project "Gender Transformation" by using metal found objects and metalsmithing processes, cutting, bending, fretting and welding. I reconstructed the physically masculine objects and gave them a new character that full of the sense of female.  
วัตถุสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวัน มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์ในสังคม ซึ่งสังคมนั้นจำแนกบทบาทหน้าที่ของเราออกจากกันตามเหตุปัจจัย ไม่ว่าจะโดยภาระหน้าที่รับผิดชอบ โดยศักยภาพของแต่ละบุคคลเช่น ด้านความสามารถทางสติปัญญา ด้านกายภาพ วัย หรือแม้แต่ขนบประเพณี ก็เป็นส่วนสำคัญที่กำหนดรูปแบบการใช้ชีวิตและสิ่งต่างๆรอบตัว วัตถุสิ่งของก็เกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออกกับบทบาทหน้าที่ถูกกำหนดเหล่านี้ด้วย ข้าพเจ้าเชื่อว่าวัตถุต่างๆนอกจากมีคุณลักษณะที่บ่งบอกบทบาททางสังคมแล้ว วัตถุเหล่านั้นยังมีบุคลิกภาพของความเป็นเพศแฝงอยู่ด้วยเสมอ สิ่งของต่างๆไม่ได้กำหนดเพศด้วยตัวของมันเอง แต่ถูกสร้างให้เหมาะสมกับสถานภาพของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งเพื่อการใช้สอยหรือทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์เช่น ผู้ชายกับเครื่องจักรทุ่นแรงขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก แข็งแกร่ง คุกคาม หรือข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน งานเย็บปัก สิ่งของที่มีลักษณะอ่อนโยน ก็มีบุคลิกภาพที่เป็นเพศหญิงอยู่ เป็นต้น ด้วยทัศนคตินี้ ข้าพเจ้าจึงได้ถ่ายทอดความคิดผ่านโครงการศิลปะชุด "แปลงเพศวัตถุ" โดยการนำบุคลิกภาพทางเพศที่มีอยู่ในวัตถุ มาสร้างใหม่ให้แตกต่างออกไปจากความเชื่อทางสังคมที่เคยเป็น ข้าพเจ้านำวัตถุที่มีสัญญะบ่งบอกถึงความเป็นเพศชาย โดยเฉพาะวัตถุที่สร้างจากโลหะ มาดัดแปลงรูปลักษณ์ให้กลายบุคลิกภาพเป็นแบบเพศหญิง ด้วยกระบวนการของช่างโลหะเช่นการเจาะ ตัด ผ่า ดัด ฉลุ ดุน เชื่อม แก้ไขกายภาพของวัตถุสิ่งของเหล่านั้นเสียใหม่ เพื่อให้ผลงานศิลปะของข้าพเจ้าสร้างความหมายเชิงวิพากษ์ต่อกรอบหรือสถานะทางสังคมของเพศหญิงให้ปรากฏขึ้นในอีกมุมมองหนึ่ง และแสดงออกถึงสถานะเพศแม่ในภาพที่เป็นความสมดุลย์ทางสังคม มากกว่าการถูกมองให้เป็นเพศชั้นรองและยอมถูกกำหนดบทบาทด้วยความเชื่อตามขนบนิยม
Description: Master of Fine Arts (M.F.A.)
ศิลปมหาบัณฑิต (ศล.ม.)
URI: http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1282
Appears in Collections:Painting Sculpture and Graphic Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59004214.pdf11.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.